ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การยุบอาราม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Alexbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: pt:Dissolução dos Mosteiros
Mattis (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ป้ายเตือนใช้ปีคศ|width=280px}}
[[Image:Glastonburyabbey.jpg|thumb|280px |ซาก[[แอบบีกลาสตันบรี]] (Glastonbury Abbey) ถูกทำลายหลังจากถูกยุบโดยพระราชกฤษฎีกา]]
'''พระราชกฤษฎีกายุบอาราม''' ([[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ]]: The Dissolution of the Monasteries หรือ Suppression of the Monasteries) เป็นพระราชกฤษฎีกาที่ถูกบังคับใช้ระหว่างปี [[ค.ศ. 1538]] ถึง ปี [[ค.ศ. 1541]] โดย[[สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8]] พระราชกฤษฎีกาให้ริบอสังหาริมทรัพย์และทรัพย์สินต่างๆ ที่เป็นของสำนักสงฆ์และยุบเลิกสำนักสงฆ์ใน [[อังกฤษ]] [[เวลส์]] และ [[ไอร์แลนด์|ไอร์แลนด์เหนือ]] ตามอำนาจ “[[พระราชบัญญัติประมุขสูงสุด]]” (Act of Supremacy) อนุมัติโดยรัฐสภาเมื่อ ปี [[ค.ศ. 1534]] ซึ่งระบุให้พระเจ้าแผ่นดินอังกฤษเป็น “ประมุขสูงสุดของ[[นิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์]]” (Supreme Head of the Church in England) และโดย “พระราชบัญญัติยุบเลิกฉบับแรก (ค.ศ. 1536)” (First Suppression Act (1536)) และ “พระราชบัญญัติยุบเลิกฉบับที่สอง (ค.ศ. 1539)” (Second Suppression Act (1539))
การยุบสำนักสงฆ์ในอังกฤษมิใช่เหตุการณ์ทางการเมืองที่เป็นเอกลักษณ์แต่เป็นเหตุการณ์ที่เป็นส่วนหนึ่งของขบวนการต่อต้านสถาบัน[[นิกายโรมันคาทอลิก|คาทอลิก]]ซึ่งเริ่มคุกรุ่นอยู่ในทวีปยุโรปขณะนั้น ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการแยกตัวของ[[นิกายโปรเตสแตนต์]]จากโรมันคาทอลิก แต่เหตุผลการแยกตัวจากนิกายโรมันคาทอลิกของอังกฤษมิใช่ข้อขัดแย้งทางปรัชญาทางศาสนาดังเช่นในประเทศอื่นๆ เช่น [[ประเทศเยอรมันนี]] [[ประเทศฝรั่งเศส]] หรือ โบฮีเมีย แต่เป็นเหตุผลส่วนพระองค์ของพระเจ้าเฮนรีที่ 8
 
==การยุบอาราม==
สำนักสงฆ์ที่ทรงยุบหลายแห่งก่อตั้งมาตั้งแต่สมัยแองโกล-แซ็กซอน แต่ส่วนใหญ่ในบรรดาสำนักสงฆ์ที่ถูกยุบจำนวน 825 แห่งเป็นสำนักสงฆ์ที่ก่อตั้งในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 11 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 12 ในช่วงที่การก่อตั้งเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งทำให้[[สำนักสงฆ์]]<ref>Catholic Encyclopedia. ''Monasticism''. [http://www.newadvent.org/cathen/10459a.htm]</ref>ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 มีอำนาจควบคุมการแต่งตั้งพระประจำวัดท้องถิ่นราวหนึ่งในสามของอังกฤษและมีรายได้ราวครึ่งหนึ่งของรายได้ทั้งหมดทางศาสนา การยุบสำนักสงฆ์จึงเป็นการยึดอสังหาริมทรัพย์โดยกฎหมายครั้งใหญ่ที่สุดตั้งแต่[[ชัยชนะของชาวนอร์มันต่ออังกฤษ|สมัยการรุกรานของนอร์มัน]]ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ของ[[สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ|สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1]]
 
การเปลี่ยนแปลงทางศาสนาบน[[แผ่นดินใหญ่ยุโรป]]นอกจากจะมีผลในการทำลายสิ่งก่อสร้างทางศาสนาแล้วก็เกิดจากความไม่พึงพอใจของชนหมู่มากและนักบวชที่มีตำแหน่งต่ำต่ออำนาจและความมั่งคั่งของสถาบันคริสต์ศาสนา ในอังกฤษการปฏิรูปทางศาสนาในระยะแรกมาจากบุคคลผู้มีอำนาจสูงสุดในสังคมและค่อยเผยแพร่ลงมายังหมู่ชนต่างจนกลายเป็นการต่อต้านโดยทั่วไป
 
การยุบสำนักสงฆ์มีผลทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในทางพิธีกรรมทางศาสนาในวัดในอังกฤษ แต่การเปลี่ยนแปลงของคริสต์ทศวรรษ 1530 มีข้อที่คล้ายคลึงกับบทบัญญัติสิบข้อของนักปฏิรูปโปรเตสแตนต์ที่พิมพ์ในปี ค.ศ. 1530 โดย[[ทอมัส เครนเมอร์]] (Thomas Cranmer) เพียงไม่กี่ข้อและเมื่อเริ่มเกิดขึ้นก็ได้รับการต่อต้านอย่างรุนแรง บทบัญญัติสิบข้อถูกยุบเลิกไปเมื่อสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ทรงพอพระทัยที่จะดำเนินตามระบบอนุรักษ์นิยมของบทบัญญัติหกข้อของปี ค.ศ. 1539 โดยนักคริสต์ศาสนวิทยาชาวเยอรมัน ซึ่งเป็นกฎที่ใช้กันต่อมาจนสิ้นรัชสมัยของพระองค์
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
== ข้อมูลเพิ่มเติม ==