ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2491"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8:
จากนั้นในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2491 เวลา 8.00 น. ซึ่งตรงกับ[[วันจักรี]] ซึ่งเป็นวันหยุดราชการ กลุ่มนายทหารจำนวน 4 คน ประกอบด้วย พ.ท.ก้าน จำนงภูมิเวท, พล.ต.สวัสดิ์ สวัสดิรณชัย สวัสดิเกียรติ, พ.อ.ขุนศิลปศรชัย และ พ.ท.ละม้าย อุทยานานนท์ ได้แต่งกายเต็มยศขัดกระบี่ถือปืนเข้าพบ นายควง อภัยวงศ์ ที่บ้านพักในซอยตรงข้าม[[สนามกีฬาแห่งชาติ]] อ้างเหตุเรียกร้องให้นายควงจ่ายเงินจำนวน 28 ล้านบาท อันเป็นค่าใช้จ่ายระหว่างเดินทางกลับ จาก[[เชียงตุง]] หลังการสิ้นสุด [[สงครามโลกครั้งที่สอง]] ซึ่งได้ทำการเบิกจ่ายก่อนหน้านั้นแล้วจาก [[กระทรวงการคลัง]] จำนวน 9 ล้านบาท แต่นายควงไม่ยอมจ่าย ซึ่งเรื่องนี้เป็นความขัดแย้ง ระหว่าง นายควงกับทหารกลุ่มนี้มาอยู่ก่อนแล้ว ที่ทำให้ก่อนหน้านั้นมีข่าวลือว่า จะเกิดการรัฐประหารซ้อน และที่สุดขอให้นายควงลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีภายใน 24 [[ชั่วโมง]] โดยอ้างว่าคณะนายทหารที่ทำการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 นั้น เห็นว่ารัฐบาลนายควงไม่สามารถแก้ไขปัญหาภาวะบ้านเมืองที่ตกต่ำลงได้
 
เมื่อนายทหารกลุ่มนี้กลับไปแล้ว ในเวลาเที่ยง นายควงได้ส่งนายทหารคนสนิทเข้าพบนายทหารชั้นผู้ใหญ่ที่เป็นแกนนำในการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ที่[[วังสวนกุหลาบ]] อันเป็นฐานบัญชาการ เพื่อขอคำยืนยันในเรื่องนี้ ต่อมาในเวลาบ่าย 14.00 น. พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ หัวหน้าคณะปฏิวัติได้เดินทางมาพบนายควงด้วยตัวเองถึงบ้านพัก และยืนยันถึงความต้องการของคณะนายทหาร นายควงพยายามติดต่อกับ ผู้บัญชาการทหารเรือ และผู้บัญชาการทหารอากาศ เพื่อขอความคุ้มครองแต่ไม่เป็นผล นายควงได้เรียกประชุมคณะรัฐมนตรีทั้งหมดที่บ้านพักเพื่อขอทราบท่าที แม้นาย[[บุญเท่ง ทองสวัสดิ์]] [[รายนามเสนาบดีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย|รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย]]ยืนยันว่า จะเป็นผู้สั่งการให้[[ตำรวจ]]ทำการจับกุมคณะนายทหารกลุ่มนี้เสียในฐานะเป็น[[กบฏ]] แต่ก็ในที่ประชุมไม่เห็นด้วย ด้วยเกรงว่าจะเป็นเหตุให้เกิดการนองเลือด ที่สุดในเวลา 16.00 น. ที่ประชุมได้ร่างใบกราบบังคมทูลลาออกของนายควงเสร็จ และมีมติให้ นายควงพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในวันที่ [[8 เมษายน]] [[พ.ศ. 2491]] และปลายเดือนเมษายน พ.ศ. 2491ปีเดียวกันนั้น คณะรัฐมนตรีมีมติให้ [[ป. พิบูลสงคราม|จอมพล ป. พิบูลสงคราม]] ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสืบต่อ เป็นการเริ่มต้นครองอำนาจของ จอมพล ป. ครั้งใหม่ที่ยาวนานถึงเกือบ 10 ปี
 
เนื่องจากรัฐประหารครั้งนี้ กระทำเป็นการภายในใช้นายทหารเพียงไม่กี่คน โดยไม่มีการเคลื่ยนย้ายกำลังพลใด ๆ ทำให้ได้ชื่อว่า "'''รัฐประหารเงียบ'''" ซึ่ง[[สื่อมวลชน]]ในขณะนั้นเรียกเหตุการณ์ครั้งนี้ว่าเป็น "'''การจี้นายกรัฐมนตรี'''"
{{วิกิซอร์ส|ใบกราบบังคมทูลลาออกของพันตรี ควง อภัยวงศ์}}{{วิกิซอร์ซ|คำชี้แจงของจอมพลผิน ชุณหะวัณ}}
== ดูเพิ่ม ==