ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงพยาบาลทหารผ่านศึก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Patcha7515 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนเนื้อหาอาจละเมิดลิขสิทธิ์ หรือไม่เป็นสารานุกรม ไม่ใช่? แจ้งที่นี่
บรรทัด 4:
 
[[หมวดหมู่:โรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร]]
โรงพยาบาลทหารผ่านศึก เป็นโรงพยาบาลที่ก่อตั้งโดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แรกเริ่มได้ถือกำเนิดจากการสถานปฐมพยาบาล มีฐานะเป็นเพียงแผนกหนึ่งในกองสวัสดิการ องศ์การสงเคราะฆ์ทหารผ่านศึก ตามมติสภาฯครั้งที่2/91 เมื่อวันที่ 17 มิย. พศ 2491 ให้ตั้งสถานพยาบาลขึ้น และในวันที่ 22 พย. พศ 2491 ได้จัดตั้งขึ้นเป็นหน่วยปฏิบัติการด้านการรักษาพยาบาลแก่ทหารผ่านศึกนอกประจำการ เพื่อให้การสงเคราะห์ ตามระเบียบ อผศ.ฉบับที่ 3 ข้อ 5 ตั้งแต่ วันที่ 4 เมย. พศ 2491 และให้บริการแก่ประชาชนในด้านการรักษาพยาบาลจ่ายค่ารักษาพยาบาลโดยคิดค่ารักษาตามสมควร โดยมีสถานที่ตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงปัจจุบัน ดังนี้
 
-พศ 2491 - 2494 ห้องชั้นล่างที่ทำการ อผศ.เก่า ศาลหลักเมือง
 
-พศ 2495 - 2497 ย้ายและขยายที่ทำการไปอยู่ที่ กองพยาบาลศาลเด็ก ชั้นบนจัดเป็น สถานที่พักผู้ป่วย และรับทำการคลอดบุตร
 
- พศ 2497 – 2505 ย้ายกลับ ห้องชั้นล่าง อผศ.เก่า ศาลหลักเมือง
 
- พศ 2505 -2510 ย้ายมาที่อาคารทหารผ่านศึกพิการทุพพลภาพ พญาไท ถนนราชวิถี เนื่องจากมีผู้มาใช้บริการเพิ่มขึ้น
 
-พศ 25010 -2513 ย้ายจากอาคารทหารผ่านศึก มาอยู่ ตึกเล็กสองชั้นข้างทางเข้า อผศ
 
และในปี พศ 2512 ได้ยกฐานะ สถานพยาบาลขึ้นเป็น กองแพทย์ โดยรวมกิจการการรักษาพยาบาล การฟื้นฟูบำบัด และ การฝึกอาชีพทหารผ่านศึกทุพพลภาพไว้ด้วยกัน จึงได้ทำการก่อสร้างอาคารกองแพทย์ขึ้นในที่ดินที่รับมอบจากกองทัพบก ที่ถนนวิภาวดี รังสิต
 
-พศ 2513 ย้ายมาอยู่ที่ถนนวิภาวดี จนมาถึงปัจจุบัน
 
-กองแพทย์แห่งนี้ได้เกิดขึ้น โดยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยทรงมีพระราชดำริให้มีการดูแลทหารผ่านศึกพิการทุพพลภาพในด้านการฟื้นฟูบำบัด และการฝึกหัดอาชีพ ทั้งได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดอาคารด้วยพระองค์เอง เมื่อวันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม 2513 เวลา 16.00 น.
 
-พ.ศ. 2517 ได้ยกฐานะกองแพทย์ขึ้นเป็นโรงพยาบาลทหารผ่านศึก ตามมติสภาฯ ครั้งที่ 1/17 และได้ทำการก่อสร้างอาคาร 6 ชั้น เพื่อรับผู้ป่วยไว้รักษาพยาบาล 1 หลัง ซึ่งมีขีดความสามารถรับผู้ป่วยไว้รักษาพยาบาลได้ 100-120 เตียง และได้เริ่มให้บริการในรูปโรงพยาบาลได้ตั้งแต่ 2521 เป็นต้นมา
 
-พ.ศ.2528 ได้ทำการก่อสร้างอาคารเวชศาสตร์ฟื้นฟูและออร์โธปิดิคส์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก ครม. อนุมัติให้ก่อสร้าง ตามแผนการโรงพยาบาลทหารผ่านศึก ระยะที่ 2 และย้ายผู้ป่วยทหารพิการอัมพาตมาไว้ที่อาคารนี้ เพราะสถานที่เดิมคับแคบไม่ค่อยถูกสุขลักษณะ
 
- พ.ศ. 2530 ได้ทำการรื้อถอนอาคารอำนวยการเดิม ซึ่งได้ทำการก่อสร้าง เมื่อ พ.ศ. 2512 (เนื่องจากอาคารเดิมทรุดตัว) และได้ก่อสร้างอาคารอำนวยการใหม่ แนบกับอาคารโรงพยาบาลเดิมขนาด 6 ชั้น หากก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ และ รพ.ผศ. มีงบประมาณสนับสนุนเพียงพอแล้วจะสามารถเพิ่มเตียงรับผู้ป่วยไว้รักษาได้อีก รวมเป็น 300 เตียง
 
การที่ รพ.ผศ. สามารถปรับปรุงการดำเนินงาน จากหน่วยงานเล็กๆ และได้เติบโตขึ้นจนถึงปัจจุบันก็ด้วยจุดมุ่งหมาย
 
เพื่อให้บริการด้านการรักษาพยาบาล หรือด้านการแพทย์ครบถ้วนบริบูรณ์ให้มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น
 
* เพื่อให้เป็นแหล่งรวมทหารผ่านศึกพิการทุพพลภาพตลอดชีพ ที่ยังต้องได้รับการรักษาพยาบาลตลอดไป ซี่งกระจัดกระจายให้มารวมกันอยู่ ณ ที่จุดเดียวกัน เพื่อจะได้ให้การบริการรักษาถูกต้อง
 
* เพื่อเป็นแหล่งระบายทหารพักฟื้นที่บาดเจ็บจากการสู้รบ จากโรงพยาบาลของสามเหล่าทัพ เนื่องจากโรงพยาบาลดังกล่าวไม่สามารถให้การรักษาตลอดไปเป็นเวลานานๆ ได้ เพราะต้องหมุนเวียนรับผู้ป่วยเข้ามา รพ.ผศ. จะรับช่วงทหารเหล่านี้มาดูแลต่อไป
 
* เพื่อส่งเสริมด้านการฟื้นฟูบำบัดและฝึกอาชีพผู้พิการ โดยงานดังกล่าวจะต้องอาศัยบริการทางการแพทย์ควบคู่กันไปด้วย
 
* จัดหาและจัดทำอวัยวะเทียมให้กับทหารผ่านศึกทุกประเภท ที่ต้องตกเป็นผู้พิการ หรือ พิการทุพพลภาพ
 
* เพื่อประหยัดเวลา ค่าพาหนะ และค่าใช้จ่ายในการส่งผู้ป่วยทหารผ่านศึกไปรักษาในโรงพยาบาลแห่งอื่น
 
เพื่อเป็นการบำรุงขวัญทหารที่ไปปฏิบัติการรบ ในด้านความมั่นคงสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลที่ ทหารผ่านศึก หรือผู้ที่พิการทุพพลภาพจะได้รับ รพ.ผศ. เป็นโรงพบาบาลเพียงแห่งเดียวที่ให้บริการด้านการรักษาพยาบาลแก่ ทหารผ่านศึกที่พิการ หรือทุพพลภาพ ซึ่งได้ผ่านการรักษาพยาบาลจาก รพ.ของเหล่าทัพแล้วยังไม่หาย รพ.ผศ. จำต้องรับคนไข้ประเภทนี้ไว้ นอกเหนือจากการให้บริการแก่ครอบครัวของพวกเขาเหล่านั้น ซึ่งการให้บริการด้านนี้ ทำให้ทหารรู้สึกว่ารัฐมิได้ทอดทิ้ง และเป็นการเสริมสร้างขวัญของทหาร และผู้กำลังปฏิบัติการรบ การปราบปราม ผกค.ในขณะนี้ ซี่งแนวโน้มของทหารและเจ้าหน้าที่ที่พิการ หรือทุพพลภาพ มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น
 
 
โรงพยาบาลทหารผ่านศึก ตั้งอยู่ ที่ 123 ถนน วิภาวดีรังสิต แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพ มหานคร เป็นโรงพยาบาลที่มีขีดความสามารถรักษาโรคทั่วไป (General Hospital) แต่ได้เน้นหนักทางด้านการฟื้นฟูบำบัด และการฟื้นฟูสมรรถภาพแก่ทหารผ่านศึกเป็นหลักเพราะโดยหลักการแล้ว โรงพยาบาลเพื่อการรักษาด้านต่าง ๆ นั้นทั้งภาครัฐบาล และภาคเอกชนมีหลายแห่ง แต่โรงพบาบาลที่จัดสร้างขึ้นเพื่อภารกิจหน้าที่นี้มีน้อยแห่ง ทหารซึ่งไปปฏิบัติการรบทั้งในและนอกประเทศ โอกาสที่จะบาดเจ็บ หรือสูญเสียอวัยวะ ย่อมมีมากกว่าบุคคลทั่วไป ดังนั้นการมีโรงพยาบาล ซึ่งมีภารกิจหลักทางด้านนี้ ย่อมจะเป็นประโยชน์แก่ทหารผ่านศึกอย่างมากเมื่อเขาเหล่านั้นต้องสูญเสียอวัยวะ ขวัญและกำลังใจก็ย่อมจะสูญหาย หรือท้อถอยลงไปมาก หากมีหน่วยงาน หรือองค์การใดที่จะอยู่เคียงข้างเพื่อคอยปลอบประโลม ให้กำลังใจ ให้คำแนะนำและพร้อมอยู่เสมอ ที่จะช่วยเขาเหล่านั้น และความเป็นอยู่ในครอบครัวใกล้เคียงกับคนปกติ และไม่เป็นภาระต่อสังคม
 
โรงพยาบาลทหารผ่านศึก ได้ตระหนักถึงภารกิจด้านนี้ขององค์การฯ จึงได้พยายามทุกวิถีทางที่จะผลักดันให้โรงพยาบาลมีขีดความสามารถสูง ทางด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการเพราะโดยหลักการแล้ว การฟื้นฟูทางร่างกายจะต้องดำเนินการควบคู่กับการฟื้นฟูทางจิตใจ ให้เขาเกิดความรู้สึกที่ไม่ท้อถอย และให้คิดอยู่เสมอว่าถึงจะพิการ ก็ยังมีประโยชน์และมีคุณค่าต่อสังคม อย่างไรก็ตามปัจจุบันโรงพยาบาลทหารผ่านมีจำนวนพนักงานและลูกจ้างประจำในสังกัด รพ.ผศ.