ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพลศึกซ้ายไชยสงคราม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนเนื้อหาอาจละเมิดลิขสิทธิ์ หรือไม่เป็นสารานุกรม ไม่ใช่? แจ้งที่นี่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{สั้นมาก}}
'''พระเจ้าศรีสองเมือง เจ้าเมืองน่าน''' ({{lang-en|Duke Sisongmueang of Nan}}) ทรงครองราชย์[[แคว้นล้านนา]]ใน [[พ.ศ. 2158]] - [[พ.ศ. 2174|2174]] ในกำกับของพม่าเป็นระยะเวลา 16 ปี พระองค์ทรงเป็นบุตรบุญธรรมของ[[สาวถีนรตรามังซอศรีมังสรธาช่อ|เจ้าฟ้าสารวตี]] และทรงเป็นเจ้าเมือง[[น่าน]] ในช่วงเวลานี้แผ่นดินพม่าอยู่ในรัชสมัยของ[[พระเจ้าสีหสุธรรมราชา]] พระองค์จึงคิดยึดครองล้านนากลับมามีเอกราชอีกครั้ง เจ้าศรีสองเมืองจึงเอาใจออกห่างพม่า จากนั้นพระองค์ก็ถูกจับกุมไปไว้ในนคร[[หงสาวดี]]
 
ในสมัยประมาณ พ.ศ. ๒๑๐๓ ในครั้งนั้นเชียงใหม่ได้เสียอิสรภาพแก่พม่าแล้ว (ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าเมกุฏิหรือพญาแม่กุ) ทางเมืองน่านมี
 
พระยาหน่อคำเสถียรไชยสงครามเป็นเจ้าเมืองน่าน ครั้งต่อมาใน พ.ศ. ๒๑๒๓ เจ้าฟ้าสารวดี (หรือในตำนานโยนกเรียกว่า มังซานรธามังคุย เป็น
 
ราชบุตรของพระเจ้าบุเรงนอง เดิมครองเมืองสารวดี พระบิดาให้มาครองเมืองเชียงใหม่ต่อจากพระนางวิสุทธิเทวี) ได้ยกกองทัพมาตีเมืองน่าน พระยา
 
หน่อคำเสถียรไชยสงครามเห็นทีจะสู้ไม่ได้จึงยอมสวามิภักดิ์ขึ้นต่อเชียงใหม่ พระยาเสถียรไชยสงครามมีราชบัตรอยู่ ๔ องค์ องค์โตชื่อเจ้าเจตบุตร
 
พรหมมินทร์ องค์ที่ ๒ ชื่อ เจ้าน้ำบ่อ (แต่แรกไม่ปรากฏชื่อ ชื่อนี้เรียกเมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว) องค์ที่ ๓ ชื่อ เจ้าศรีสองเมือง องค์ที่ ๔ ชื่อ เจ้าอุ่นเมือง
เมื่อเจ้าศรีสองเมืองบุตรองค์ที่ ๓ ประสูติออกมานั้น เกิดมหัศจรรย์ต่างๆ เช่นแผ่นดินไหวเป็นต้น พระยาหน่อคำเสถียรไชยสงครามบิดาจึงให้หาโหร
 
มาทำนาย โหรทำนายว่า เจ้าศรีสองเมืองผู้นี้ เมื่อเติบโตไปภายหน้าจะมีบุญญาบารมีมากนัก แต่ว่าจะทำปิตุฆาต ขอให้เอาไปฆ่าทิ้งเสียให้ตาย พระยา
 
หน่อคำเสถียรไชยสงครามทรงเห็นด้วย จะให้เอาไปทิ้งเสียตามคำทำนายของโหร แต่เจ้าน้ำบ่อราชบุตรองค์ที่ ๒ ได้กราบทูลทัดทานไว้เพราะความ
 
สงสาร และทูลขอเอากุมารผู้เป็นน้องนั้นไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม ซึ่งพระบิดาก็ทรงอนุญาตตามความประสงค์ เจ้าน้ำบ่อจึงเอาน้องไปเลี้ยงไว้จนเติบใหญ่ขึ้นมา
ฝ่ายพระยาหน่อคำเสถียรไชยสงครามได้ครองเมืองน่านสืบมา จนกระทั่งย่างเข้าวัยชราก็ประชวรถึงแก่พิราลัย เจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ราชบุตรที่ ๑
จึงได้ครองเมืองน่านสืบมา เจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ได้ขึ้นครองเมืองน่านในปี พ.ศ. ๒๑๓๔ หลังจากที่ครองเมืองได้ ๖ ปี ลุปี พ.ศ. ๒๑๓๙ โปรดให้
 
สร้างวัดภูมินทร์ขึ้น ในสมัยนั้นเมืองน่านขึ้นต่อเชียงใหม่ ซึ่งมีกษัตริย์เป็นพม่าครองอยู่ เจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์คิดกูอิสรภาพ จึงตั้งแข็งเมืองไม่ย่อมส่ง
 
ส่วยให้พระเจ้าเชียงใหม่ (เจ้าฟ้าสารวดี) พระเจ้าเชียงใหม่ทรงทราบว่าเมืองน่านแข็งเมืองเช่นนั้น ก็ทรงยกกองทัพมาเพื่อปราบปราม ให้เข้าอยู่ใน
 
อำนาจของพระองค์เช่นเดิม เจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ยกกองทัพไปตั้งรับอยู่ที่ตำบลปากงาว และได้สู้รบกันเป็นสามารถ แต่เจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์มี
 
กำลังไพร่พลน้อยกว่า จึงพ่ายแพ้แก่กองทัพของพระเจ้าเชียงใหม่ ล่าถอยหนีไปอาศัยอยู่กับพระเจ้าล้านช้าง ฝ่ายพระเจ้าเชียงใหม่เมื่อตีได้เมืองน่านแล้ว
ก็แต่งตั้งพระยาแขกอยู่รักษาเมืองน่าน
ครั้นต่อมาในปี พ.ศ. ๒๑๔๓ เจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์และน้องทั้งสาม ได้กำลังกองทัพล้านช้างช่วยเหลือ ได้ยกไปรบพระเจ้าชียงใหม่ แต่เมือง
 
เชียงใหม่สู้รบป้องกันเมืองแข็งแรงนัก ตีไม่แตก จึงล่าถอยมายังเมืองน่าน พระยาแขกผู้รักษาเมืองน่าน เห็นกองทัพเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ยกมาเช่นนั้น
เกรงว่าชาวเมืองจะไม่เป็นใจด้วย จึงไม่คิดสู้รบและอพยพครัวหนีไปยังเมืองเชียงใหม่เสีย เจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์จึงยกเข้าไปตั้งอยู่เมืองน่านอีกครั้งหนึ่ง
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๑๔๖ พระเจ้าเชียงใหม่ยกกองทัพมาตีเมืองน่านอีก ครั้งนั้นเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์และเจ้าน้ำบ่อได้มอบให้เจ้าศรีสองเมือง ซึ่ง
 
เป็นทั้งน้องและบุตรบุญธรรมของเจ้าน้ำบ่อเป็นผู้รักษาด้านประตูหิ้งน้อย แต่เจ้าศรีสองเมืองกลับคิดเอาใจออกหากจากพี่ทั้งสอง ไปเข้ากับพระเจ้าเชียงใหม่
เปิดประตูเมืองออกรับกองทัพพม่าเข้าเมือง พม่าจับตัวเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์และเจ้าน้ำบ่อ ผู้เป็นพี่และบิดาเลี้ยงเจ้าศรีสองเมืองได้ พม่าจึงให้เอาไม้
 
หนีบอกเจ้าน้ำบ่อไว้อยู่ได้ ๗ วันก็ถึงแก่กรรม แล้วให้เอาศพไปทิ้งไว้ที่บ่อน้ำข้างตะวันตกวัดภูมินทร์ จึงเรียกว่า “เจ้าน้ำบ่อ” แต่นั้นมาตราบจนทุกวันนี้
 
ส่วนเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์นั้น พม่าจับตัวไปยังเมืองเชียงใหม่ด้วย ครั้นถึงก็ให้ฆ่าเสีย วันที่เจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ถูกประหารนั้น เกิดแผ่นดินไหวเป็นอัศจรรย์
ครั้นแล้วพระเจ้าเชียงใหม่ก็สถาปนาให้เจ้าศรีสองเมืองเป็นที่ “เจ้าพระยาพลศึกซ้ายไชยสงคราม เจ้าเมืองน่าน” และทรงรับเลี้ยงไว้ในฐานะราชบุตรบุญธรรม
ครั้นต่อมาในปี พ.ศ. ๒๑๕๗ จุลศักราช ๙๗๖ (พงศาวดารลานนาไทยฉบับของแสนหลวงราชสมภาร ว่า พ.ศ. ๒๑๕๘ จุลศักราช ๙๗๗) เดือน ๕
น้องมองกวยตกราชบุตรองค์ที่ ๒ ของพระเจ้าเชียงใหม่สารวดีทิวงคต ไม่มีราชบุตรที่จะสืบสันตติวงศ์ บรรดาขุนนางท้าวพระยาทั้งหลายและข้าราช
 
บริพารทั้งมวล จึงพร้อมใจกันไปอัญเชิญเอาเจ้าพระยาพลศึกซ้ายไชยสงคราม เจ้าเมืองน่าน ผู้เป็นราชบุตรบุญธรรมของพระเจ้าเชียงใหม่สารวดีนั้น มา
 
ครองเมืองเชียงใหม่ พระเจ้าเชียงใหม่ศรีสองเมืองจึงโปรดให้เจ้าอุ่นเมืองอนุชาเป็นเจ้าเมืองน่าน แล้วพระองค์เสด็จขึ้นมาครองเมืองเชียงใหม่
ในครั้งนั้น ภายใต้เศวตฉัตรของประเทศพม่าเกิดยุ่งเหยิง เนื่องจากมังเรทิปราชบุตรของพระเจ้าหงสาวดีร่วมคิดกับขุนนางลอบปลงพระชนม์พระเจ้าหงสาวดี
แล้วยกมังเรทิปขึ้นเสวยราชสมบัติแทน เมื่อความทราบถึงสะโดะธรรมราชา (พระเจ้าสุทโธธรรมราชาหรือพระเจ้าแปร) กับมังเรกะยอโส (พระเจ้าอังวะ)
ซึ่งมาจัดการปกครองแคว้นลานนาไทยอยู่ในขณะนั้น ก็รีบยกกองทัพกลับไป ครั้นถึงเมืองปินยาทราบว่าเจ้าราชบุตรมังเรทิป (หรือนองรามเมง) ได้
 
ครองราชย์สมบัติแล้ว ก็ถอยไปรวบรวมกำลังรี้พลที่เมืองฮ่อ ได้กำลังพอแล้วก็ยกไปตีเมืองพะโคถอดมังเรทิปออกเสียจากราชสมบัติ และพระเจ้าแปร
 
(สะโดธรรมราชา) จึงขึ้นครองราชย์สมบัติ และทรงตั้งให้มังเรกะยอโส (พระเจ้าอังวะหรือมังเรจอชะวา) เป็นมหาอุปราชา แต่ให้รักษากรุงอังวะไว้
 
ส่วนพระเจ้าสุทโธธรรมราชาได้ยกกองทัพกลับมายังลานนาไทยอีกครั้งหนึ่ง เพื่อปราบปรามหัวเมืองต่างๆ ในแคว้นลานนาไทยที่ยังแข็งเมืองอยู่นั้นให้ราบคาบ
ฝ่ายพระเจ้าเชียงใหม่ศรีสองเมืองเห็นว่า การภายในบ้านเมืองพม่ากำลังยุ่งเหยิงอยู่เช่นนั้น ก็ทรงดำริว่าเป็นโอกาสอันดีที่ลานนาไทยจะกอบกู้อิสรภาพ
ให้กลับคืนคงดำรงเอกราชต่อไปอีก พระองค์จึงให้แข็งเมืองขึ้น และพร้อมกันนั้นก็ยกกองทัพไปปราบปรามหัวเมืองที่ยังฝักใฝ่ยอมอยู่ใต้อำนาจพม่าอยู่
 
เช่นเมืองเชียงแสนเป็นต้น ในปี พ.ศ. ๒๑๖๙ (จุลศักราช ๙๘๘) จับตัวนายหน่อคำ เจ้าเมืองเชียงแสนมาขังไว้ที่เชียงใหม่ แล้วตั้งเจ้าเมืองนคร
 
ลำปางเป็นที่ “พระยาศรีสองเมือง” ตั้งแสนอาญาเป็นหวุ่นถือพล ๓,๐๐๐ อยู่รั้งรักษาเมืองเชียงแสน เมื่อจัดการบ้านเมืองเชียงแสนเรียบร้อยแล้ว ก็ยก
 
กองทัพกลับมายังเมืองเชียงใหม่
พระองค์ทรงได้ติดต่อไปยังหัวเมืองต่างๆในลานนาไทย ให้ช่วยกันกอบกู้อิสรภาพและแข็งเมืองต่อพม่า หัวเมืองที่แข็งเมืองจึงต่อสู้กองทัพพระเจ้าสุทโธธรรมราชาอย่างแข็งแรง
ซึ่งพระเจ้าสุทโธธรรมราชาต้องตั้งค่ายอยู่ถึง ๓ ปี จึงตีแตก คือเมืองฝาง (อ่านเรื่องพระนางสามผิว) แต่พระองค์ทรงทำการไม่สำเร็จสมความมุ่งหมาย
 
เพราะกำลังของพม่าในครั้งนั้นเข้มแข็งนัก และบรรดาหัวเมืองต่างๆ ไม่มีความสามัคคีกัน บางเมืองยังเกรงกลัวพม่าอยู่ก็ไม่อาจแข็งเมืองได้
ฝ่ายพระเจ้าสุทโธธรรมราชา หลังจากที่ทรงจัดการบ้านเมืองเสร็จเรียบร้อย ทรงทราบว่าหัวเมืองในลานนาไทยแข็งเมืองกระด้างกระเดื่องต่อพระองค์
ก็ทรงยกกองทัพใหญ่มาปราบปราม ในปีพ.ศ. ๒๑๗๔ ปีมะแมตรีศก จุลศักราช ๙๙๓ ทรงตีเมืองเชียงใหม่แตก และจับตัวพระเจ้าเชียงใหม่ศรีสองเมืองได้
จึงให้คุมตัวไปกักขังไว้ที่กรุงอังวะจนถึงแก่ทิวงคต
พระเจ้าเชียงใหม่ศรีสองเมืองได้ครองเมืองเชียงใหม่แต่ปี พ.ศ. ๒๑๕๗ สิ้นอิสรภาพถูกพม่าจับตัวในปี พ.ศ. ๒๑๗๔ รวมเวลาทีครองราชย์สมบัติ ๑๗ ปี
แล้วพม่าตั้งให้พระยาหลวงทิพเนตรเจ้าเมืองฝางมาครองเมืองเชียงใหม่ นับแต่นั้นมาลานนาไทยและเมืองเชียงใหม่ก็ตกอยู่ในอำนาจพม่า สิ้นอิสรภาพโดยสิ้นเชิง
 
{{เจ้าเชียงใหม่สมัยพม่า}}