ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภูเขาศักดิ์สิทธิ์แห่งปีเยมอนเตและลอมบาร์เดีย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mattis (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Mattis (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 27:
 
 
'''ภูเขาศักดิ์สิทธิ์แห่งพีดมอนต์และลอมบาร์ดี''' (ภาษาอังกฤษ: Sacred Mountains of Piedmont and Lombardy; ภาษาอิตาลี: Sacri Monti del Piemonte e della Lombardia) หมายถึงกลุ่ม[[คริสต์ศาสนสถาน]]หรือกลุ่ม[[ชาเปล]]และสิ่งก่อสร้างอื่นๆเก้ากลุ่มที่ตั้งอยู่ในบริเวณ[[แคว้นพีดมอนต์]]และ[[แคว้นลอมบาร์ดี]]ทางตอนเหนือของ [[อิตาลี]]ที่สร้างระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 แต่ละกลุ่มจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับต่างๆใน [[คริสต์ศาสนา]] และถือกันว่าเป็นสิ่งสวยงามที่สร้างกลืนไปกับธรรมชาติรอบข้างไม่ว่าจะเป็นเนินเขา ป่า หรือ ทะเลสาบ นอกจากภูเขาศักดิ์สิทธิ์จะมีความสำคัญทางศาสนาแล้วยังมีความสำคัญทางศิลปะด้วยเพราะเป็นงานศิลปะแบบประสมสื่อในงานชิ้นเดียวกันที่ประกอบด้วยปฏิมากรรม และ จิตรกรรมปูนเปียกผสมกัน ความสำคัญอันนี้ทำให้ภูเขาศักดิ์สิทธิ์แห่งพีดมอนต์และลอมบาร์ดีได้รับเลือกจากองค์การ[[ยูเนสโก]]ให้ขึ้นทะเบียนเป็น[[มรดกโลก]]เมื่อปีค.ศ. 2003<ref>UNESCO:Archaeological Area of Agrigento[http://whc.unesco.org/en/list/1068]</ref>
 
“ภูเขาศักดิ์สิทธิ์” เป็นสิ่งก่อสร้างทางคริสต์ศาสนาซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 และระหว่างสมัย [[การปฏิรูปศาสนาของนิกายโรมันคาทอลิก]]ตอนกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึงคริสต์ศตวรรษที่17 ที่เผยแพร่จากประเทศอิตาลีไปจนถึง[[ทวีปอเมริกา]] การสร้าง “ภูเขาศักดิ์สิทธิ์” มักสร้างอยู่บนที่สูงใกลจากชุมชนและอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ สิ่งก่อสร้างจะประกอบด้วยกลุ่มชาเปลขนาดย่อมที่ตั้งเรียงเป็นระยะๆ บางภูเขามีด้วยกันกว่า 40 ชาเปล แต่ละชาเปลก็จะเป็นฉากสำคัญของหัวเรื่องที่ทาง“ภูเขาศักดิ์สิทธิ์”แต่ละแห่งจะเลือก เช่นซาโครมอนเท ดิ วาราลโลจะเป็นเรื่อง[[ชีวิตของพระเยซู]]เป็นต้น เรื่องที่ “ภูเขาศักดิ์สิทธิ์” นิยมสร้างกันคือชีวิตของพระเยซู, [[พระแม่มารี]] หรือ [[นักบุญ]] ศิลปะที่ใช้ก็จะผสมกันระหว่าง[[ประติมากรรม]]และ[[จิตรกรรม]]ภายในฉากเดียวกันเป็นงานสามมิติ การที่นักแสวงบุญต้องเดินลดเลี้ยวจากชาเปลหนึ่งไปอีกชาเปลหนึ่งเพื่อเดินตามเรื่องราวของงานศิลปะทำให้มึความรู้สึกเหมือนได้เดินทางไปยัง[[ดินแดนศักดิ์สิทธิ์]]ด้วยตัวเอง หรือได้เดินตามรอยพระบาทของพระเยซูบนถนนโดโลโรซา (Via Dolorosa) ใน[[กรุงเยรุซาเล็ม|กรุงเยรุซาเล็ม]] ซึ่งเป็นถนนที่พระองค์ทรงเดินแบกกางเขนไปสู่เนินกอลกอธา (Golgotha) ที่ทรงถูกตรึงกางเขน