ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมยศ เชื้อไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Zambo (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Zambo (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 32:
ซึ่งสมัยที่สมยศดำรงตำแหน่งนายกสมาคมนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีบทบาทชักนำประชาคมธรรมศาสตร์ออกมาเรียกร้องให้[[ทักษิณ ชินวัตร|พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร]]ลาออกจากตำแหน่ง[[นายกรัฐมนตรีของไทย|นายกรัฐมนตรี]] อันเนื่องมาจาก[[กรณีตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ป|กรณีขายหุ้นชินคอร์ป]]ที่สะท้อนให้เห็นว่า พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร มี[[การขัดกันของผลประโยชน์|ผลประโยชน์ทับซ้อน]]ในการใช้อำนาจ[[การบริหารราชการแผ่นดิน|บริหารราชการแผ่นดิน]] โดยสมยศได้กล่าว[[ปาฐกถา]]แสดงความเห็นในกรณีดังกล่าวว่า หลังจากที่ฝ่ายต่าง ๆ เตรียมตรวจสอบความไม่โปร่งใสของรัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ทำให้พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ใชอำนาจ[[การยุบสภาผู้แทนราษฎร|ยุบสภาผู้แทนราษฎร]] และกำหนดการเลือกตั้งใหม่อย่างกระชั้นชิดเกินไปเพื่อเอื้อประโยชน์ให้ตนได้กลับเข้ามาบริหารราชการแผ่นดินอีกครั้ง เขากล่าวว่า
 
<blockquote>"การยุบสภาว่าโดยหลักการของระบบ[[รัฐสภา]]เป็นการใช้อำนาจของ[[ฝ่ายบริหาร]] เพื่อแก้ปัญหาในกรณีขัดแย้งระหว่างรัฐบาลและรัฐสภา หรือปัญหาของสภาผู้แทนราษฎร เพราะการยุบสภานั้นมีผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพ้นจากตำแหน่งทั้งหมดก่อนครบ กำหนดอายุของสภา และต้องมี[[พระราชกฤษฎีกา]]ให้มี[[การเลือกตั้ง]]ใหม่</blockquote>
 
<blockquote>แต่ปรากฏว่าการเลือกตั้งใหม่ที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาเป็นระยะเวลาที่กระชั้นชิดมาก ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ใช้อำนาจยุบสภาเพื่อใช้การเลือกตั้งฟอกตัวเองให้กลับเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีอีก</blockquote>
 
<blockquote>จึงเห็นได้ว่าการยุบสภาเป็นเกมการเมืองของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ที่ต้องการหนีการตรวจสอบว่ามีการใช้อำนาจโดยมิชอบหรือไม่ และทำให้ประชาชนหลงประเด็น เพราะประเด็นมิใช่การกล่าวหาว่าพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตรโกงการเลือกตั้ง ซึ่งอาจจะเป็นเช่นนั้นก็ได้แต่ไม่มีหลักฐาน แต่ประเด็นอยู่ที่ว่าพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ใช้อำนาจแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบหรือไม่ หรือมีการใช้อำนาจโดยมีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ ซึ่งการแก้ปัญหาในประเด็นนี้ต้องใช้กระบวนการตรวจสอบตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย แต่พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร เห็นอยู่แล้วว่าถ้าจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ตนจะชนะการเลือกตั้ง เพราะประชาชนจำนวนมากเสพติด[[นโยบายประชานิยม]]ของพันตำรวจโททักษิณ"</blockquote>
 
ต่อมา ภายหลัง[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549]] และมีการประกาศใช้[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550]] สมยศได้ออกมาแถลงว่า นับจากนี้การต่อสู้ระหว่างอำนาจเก่าและอำนาจใหม่จะยืดเยื้อยาวนาน และฟันธงว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 จะไม่แก้วิกฤตการเมืองไทย และดูเหมือนว่าคนส่วนใหญ่จะไม่ใส่ใจกับคำเตือนของอาจารย์สอนกฎหมายรัฐธรรมนูญอย่างเขา เพราะคนส่วนใหญ่อยากเห็นการเลือกตั้งเร็ว ๆ ไว ๆ ทำให้เขาประกาศว่าจะเลิกสอนวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญอีก โดยกล่าวว่า
 
<blockquote>"ปัญหาใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต คือ ปัญหา[[ตุลาการภิวัตน์]] ที่เป็นการเอาตุลาการไปยุ่งการเมือง จะเป็นเรื่องใหญ่มากเพราะเสาหลักของรัฐธรรมนูญคือต้องแยกอำนาจตุลาการกับอำนาจบริหารให้ออกจากกัน หากศาลไปโยงกับการเมืองก็จะไปกันใหญ่ ปัญหานี้เราเคยเจอแล้วคือปัญหาของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีปัญหาการวิ่งเต้นล้มคดี ต่อไปข้างหน้าจะมีปัญหาใหญ่กว่านี้อีก หลังจากศาลมายุ่งกับการเมืองก็จะไปสนับสนุนอำนาจใหม่โดยปริยาย</blockquote>
 
<blockquote>...รัฐธรรมนูญวันนี้เป็น[[แพระรับบาป|แพะ]] โดยเปรียบว่า เหมือนคนทะเลาะกันแล้วรื้อบ้าน แล้วสร้างใหม่ซึ่งก็สร้างมาเหมือนเดิม โดยความจริงแล้วหลังคารั่วเมื่อสร้างใหม่คนก็ยังทะเลาะกันอีก ตรงนี้เรียกว่าปัญหาทางวัฒนธรรมทางการเมือง...</blockquote>
 
<blockquote>19 กันยายน เป็นการเปลี่ยนรัฐประหารเป็นรัฐธรรมนูญ ส่วนการลงประชามติเป็นการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญเป็นรัฐประหารรูปแบบใหม่ ผมมองว่ามาตรา 309 จะทำให้การรัฐประหารกลับมาอีก เปรียบเหมือนมาตราลูกฆ่าพ่อ คือใหญ่กว่ารัฐธรรมนูญ ผมบอกทุกคนแล้วว่าผมจะไม่สอนวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญอีกเลยเพราะรับไม่ได้ กับมาตรา 309"</blockquote>
 
ส่วนผลงานในด้านวิชาการ สมยศได้ผลิตตำราที่เป็นเสาหลักทางวิชาการหลายเล่ม ดู [http://search.library.tu.ac.th/ipac20/ipac.jsp?session=Q237W215173T2.430378&profile=pridi&uri=link=3100008@!54992@!3100001@!3100002&aspect=basic_search&menu=search&ri=2&source=203.131.219.164@!db73_tudb&term=%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%A8+%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2.&index= ''ข้อมูลจากสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์'']