ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วาณิชธนกิจ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pzycho (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Pzycho (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 16:
 
====ระบบงานส่วนหน้า====
*'''การฝ่ายวาณิชธนกิจ''' เป็นส่วนงานตามปกติทั่วไปของวาณิชธนกิจ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือลูกค้าในการหาเงินทุนในตลาดทุนให้คำแนะนำในการควบรวมและการซื้อขายกิจการ และอาจเกี่ยวข้องกับการช่วยนักลงทุนในการออกตราสารใหม่ ประสานงานกับผู้เสนอซื้อ หรือเจรจาต่อรองกับบริษัทที่เป็นเป้าการควบรวม โดยทั่วไปแล้วแผนกวาณิชธนกิจจะถูกแบ่งออกเป็นฝ่ายการพาณิชย์ (industry coverage) และฝ่ายผลิตภัณฑ์ (product coverage) ฝ่ายการพาณิชย์จะเน้นการทำธุรกิจกับกลุ่มธุรกิจต่างๆอย่างจำเพาะเจาะจง เช่น การดูแลสุขภาพ อุตสาหกรรม หรือเทคโนโลยี และรักษาความสัมพันธ์กับองค์กรในกลุ่มธุรกิจเหล่านั้น ฝ่ายผลิตภัณฑ์จะเน้นด้านผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่างๆ เช่น ตราสารหุ้น พันธบัตรเกรดสูง เป็นต้น ทั้งสองฝ่ายจะทำงานร่วมกันในกรณีที่งานที่ต้องบริการลูกค้ามีความละเอียดอ่อนและต้องอาศัยความชำนาญเฉพาะ
 
*'''การฝ่ายบริหารการลงทุน (Investment Management)''' คือการบริหารตราสารหลักทรัพย์หลากหลายประเภท เช่น หุ้น พันธบัตร และสินทรัพย์อื่นๆ เช่น อสังหาริมทรัพย์อย่างมืออาชีพเพื่อตอบสนองเป้าหมายการลงทุนของนักลงทุน ซึ่งอาจเป็นนักลงทุนสถาบัน (บริษัทประกัน กองทุนบำเหน็จบำนาญ องค์กรบริษัท) หรือนักลงทุนเอกชน (ทั้งโดยตรงผ่านสัญญาการลงทุน และที่แพร่หลายกว่าผ่านแผนการลงทุนรวมหมู่ เช่น กองทุนรวม) แผนกบริหารการลงทุนของวาณิชธนกิจมักถูกแบ่งเป็นฝ่ายบริหารความมั่งคั่งส่วนบุคคล (Private Wealth Management) และฝ่ายบริการลูกค้าส่วนบุคคล (Private Client Services) เทรดเดอร์ผู้ทำหน้าที่บริหารสินทรัพย์และทำหน้าที่ตัวกลางสร้างตลาดจะซื้อขายผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่างๆเพื่อหากำไรจากเงินส่วนเพิ่ม เซลส์ เป็นคำที่หมายถึงพนักงานขายของวาณิชธนกิจ ซึ่งมีหน้าที่หลัก คือการชักจูงให้นักลงทุนสถาบันหรือนักลงทุนที่มีสินทรัพย์สุทธิสูงเพื่อให้คำแนะนำด้านแนวคิดการซื้อขาย (โดยอ้างอิงหลักการผู้ซื้อขายที่ผู้ซื้อต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการหาข้อบกพร่องของสินค้าเอง หรือ หลัก caveat emptor) แล้วรับคำสั่งซื้อขาย หลังจากนั้นฝ่ายขายจะส่งคำสั่งซื้อขายของลูกค้าไปยังฝ่ายเทรดดิ้งที่เหมาะสม ฝ่ายเทรดดิ้งจะสามารถตั้งราคา ทำการซื้อขาย หรือออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เหมาะสมกับความต้องการนั้นๆ
 
*'''การฝ่ายออกแบบผลิตภัณฑ์ทางการเงิน (Structuring)''' เป็นข่ายงานที่ค่อนข้างใหม่โดยเปรียบเทียบ เพิ่งเกิดเมื่อตราสารอนุพันธ์เริ่มเข้ามามีบทบาท โดยมีพนักงานคำนวณซึ่งมีความชำนาญเชิงวิชาการระดับสูงออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีโครงสร้างซับซ้อน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะให้ผลตอบแทนสูงกว่าหลักทรัพย์เงินสดที่ใช้อ้างอิงอย่างมาก ความจำเป็นในการใช้ความสามารถเชิงคำนวณทำให้เกิดงานสำหรับดอกเตอร์สาขาฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ งานชนิดนี้ เรียกว่านักวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative Analyst)
 
*'''การฝ่ายธนาคารเพื่อธุรกิจขนาดใหญ่ (Merchant Banking)''' เป็นข่ายงานส่วนเงินทุนภาคเอกชน (private equity) ของวาณิชธนกิจ ตัวอย่างในปัจจุบัน เช่น Goldman Sachs Capital Partners และ One Equity Partners ของเจพี มอร์แกน (ดั้งเดิมแล้ว คำว่า merchant banking เป็นคำศัพท์อังกฤษแบบบริติชซึ่งหมายถึงวาณิชธนกิจ)
 
*'''การทำฝ่ายรายงานวิจัย (Research)''' เป็นแผนกซึ่งตรวจสอบค้นคว้าบริษัทและเขียนรายงานให้ความเห็นถึงความเป็นไปได้ที่บริษัทจะประสบความสำเร็จในอนาคต โดยมักให้เรตติ้ง “ขาย” หรือ “ซื้อ” ถึงแม้กิจกรรมของฝ่ายวิจัยจะไม่ได้สร้างรายได้โดยตรง แต่ทรัพยากรที่ได้จากแผนกนี้จะถูกใช้ศึกษาโดยเทรดเดอร์เพื่อทำการซื้อขาย พนักงานขายใช้เพื่อแนะนำแนวคิดให้แก่ลูกค้า และนักวาณิชธนกิจใช้ศึกษาข้อมูลลูกค้าของตน อาจเกิดความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ระหว่างตัววาณิชธนกิจและรายงานวิเคราะห์ที่จัดทำขึ้นได้ เนื่องจากรายงานวิเคราะห์ที่ถูกจัดพิมพ์นั้นอาจมีผลกระทบต่อผลกำไรของธนาคาร ดังนั้น ในช่วงหลายปีมานี้ความสัมพันธ์ระหว่างวาณิชธนกิจและฝ่ายวิจัยจึงถูกควบคุมสอดส่องเป็นอย่างมาก โดยต้องมีการบังคับใช้นโยบายกำแพงข้อมูล (Chinese wall หรือ firewall) ระหว่างข่ายงานทั้งสอง
 
*'''กลยุทธ์ (Strategy)''' เป็นแผนกที่ให้คำแนะนำทั้งลูกค้าภายในและภายนอกเรื่องกลยุทธ์ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ในตลาดต่างๆ ซึ่งมีตั้งแต่ตราสารอนุพันธ์ไปจนถึงธุรกิจอุตสาหกรรม นักกลยุทธ์วิเคราะห์บริษัทหรือธุรกิจพาณิชย์ผ่านกรอบการวิเคราะห์เชิงปริมาณโดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจมหภาคประกอบ กลยุทธ์นี้จะส่งผลกระทบต่อวิธีการดำเนินงานของบริษัทในอนาคต ทิศทางการดำเนินงานทั้งด้านสินทรัพย์ที่ถือครองและกระแสเงินทุน คำแนะนำที่พนักงานของบริษัทตนให้แก่ลูกค้า หรือกระทั่งแนวทางการผลิตผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่
 
====ระบบงานส่วนกลาง====
*'''ฝ่ายบริหารความเสี่ยง (Risk management)''' เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ตลาดและความเสี่ยงด้านเครดิตซึ่งเทรดเดอร์ทำให้เกิดในงบดุลผ่านการซื้อขายประจำวัน และการกำหนดข้อจำกัดด้านปริมาณเงินทุนซึ่งเทรดเดอร์จะใช้ซื้อขายได้เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับทั้งธนาคารอันมีสาเหตุจากการซื้อขายที่ไม่ดี บทบาทสำคัญอีกอย่างหนึ่งของระบบงานส่วนกลาง คือการทำให้แน่ใจว่าความเสี่ยงทางเศรษฐศาสตร์ที่กล่าวไปเบื้องต้นนั้นได้ถูกป้องกันไว้แล้วอย่างโดยไร้ข้อผิดพลาดในรายละเอียด (ตามที่ระบุไว้ในข้อตกลงเงื่อนไขทางพาณิชย์กับคู่สัญญา) ถูกต้อง (ตามที่ระบุในแม่แบบการลงหนังสือที่เป็นมาตรฐานของระบบที่เหมาะสมที่สุด) และตรงตามเวลา (โดยปกติคือเป็นเวลา 30 นาทีหลังการซื้อขาย) หลายปีมานี้ ความเสี่ยงจะเกิดข้อผิดพลาดนี้ถูกเรียกว่า “ความเสี่ยงจากการดำเนินงาน” (Operational Risk) ซึ่งระบบงานกลางเป็นผู้จัดหามาตรการรับมือ และทำให้เกิดความเชื่อมั่นในระบบปฏิบัติงาน หากไม่มีความเชื่อมั่นในระบบแล้ว การวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านตลาดและเครดิตจะไม่น่าเชื่อถือและสุ่มเสี่ยงต่อการใช้ข้อมูลเพื่อหาผลประโยชน์ในทางไม่ซื่อตรง
 
*'''ฝ่ายบริหารการเงิน (Finance)''' เป็นฝ่ายที่รับผิดชอบการบริหารเงินทุนและการสอดส่องความเสี่ยงของวาณิชธนกิจ โดยการตามรอยและวิเคราะห์กระแสเงินทุนของบริษัท ฝ่ายบริหารการเงินจะเป็นผู้ให้คำแนะนำหลักแก่ผู้บริหารระดับสูงกว่าในเรื่องสำคัญ เช่น การควบคุมส่วนเปิดความเสี่ยงในระดับโลกของธนาคาร รวมถึงความสามารถในการทำกำไรและโครงสร้างของภาคธุรกิจต่างๆของธนาคาร ในสหรัฐฯและสหราชอาณาจักร ตำแหน่งผู้ควบคุมการเงินถือเป็นตำแหน่งระดับสูง และมักรายงานตรงต่อผู้บริหารระดับสูงด้านการเงิน (Chief Financial Officer หรือ CFO)
 
*'''ฝ่ายกำกับดูแล (Compliance)''' เป็นฝ่ายที่รับผิดชอบการกำกับดูแลการดำเนินงานประจำวันของวาณิชธนกิจให้เป็นไปตามกฎระเบียบของรัฐบาลและกฎระเบียบภายในองค์กร และมักรวมถึงการสอดส่องระบบงานส่วนหลังด้วย
 
[[หมวดหมู่:เศรษฐศาสตร์]]