ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฆ้องวงใหญ่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 7:
 
[[Category: เครื่องดนตรีไทย|ฆ้องวงหใญ่]]
 
ฆ้องวงใหญ่ เป็นเครื่องดนตรีดั้งเดิมของไทย สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในสมัยกรุงศรีอยุธยาฆ้องวงคงมีขนาดเดียว ใช้บรรเลงผสมวงปี่พาทย์ ต่อมาเมื่อมีผู้สร้างฆ้องวงขึ้นอีกขนาดหนึ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ซึ่งมีขนาดย่อมกว่าจึงเรียกฆ้องวงขนาดเก่าว่าฆ้องวงใหญ่
ลักษณะโดยทั่วไปของฆ้องวงใหญ่คือ มีลูกฆ้องทั้งสิ้น ๑๖ ลูก ทำด้วยโลหะรูปวงกลมตรงกลางทำเป็นปุ่มนูน เพื่อใช้รองรับการตีให้เกิดเสียงเรียกว่า ปุ่มฆ้อง ต่อจากปุ่มเป็นฐานแผ่ออกไป แล้วงองุ้มลงมาโดยรอบเรียกว่าฉัตร ลูกเสียงต่ำสุดเรียกว่า ลูกทวน ลูกเสียงสูงสุดเรียกว่า ลูกยอด มีรูเจาะทางขอบฉัตร ลูกละ ๔ รู ใช้เชือกหนังร้อยผูกกับเรือนฆ้อง ให้ปุ่มลูกฆ้องหงายขึ้นผูกเรียงลำดับขนาดลูกต้นไปหาลูกยอด ตั้งแต่ใหญ่ไปหาเล็ก เรียงลำดับเสียงตั้งแต่ต่ำไปหาสูง ลูกต้นวัดผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑๗ ซม. อยู่ทางซ้ายมือด้านหลังผู้ตีสำหรับร้อยเชือกหรือหนังเพื่อแขวนฆ้องผูกติดกับร้านฆ้องหรือวงฆ้องใช้ต้นหวายโป่งทำเป็นร้าน สูงประมาณ ๒๔ ซม. หวายเส้นนอกกับเส้นในห่างกันประมาณ ๑๔-๑๗ ซม. ดัดโค้งเป็นวงล้อมไปเกือบรอบตัวคนนั่งตี เปิดช่องไว้สำหรับทางเข้าด้านหลังคนตี ห่างกันราว ๒๐-๓๐ ซม. ขนาดของวงกว้างจากขอบวงในทางซ้ายไปถึงขอบวงในทางขวา กว้างประมาณ ๘๒ ซม. จากด้านหน้าไปด้านหลัง กว้างประมาณ ๖๖ ซม. พอให้คนตีนั่งขัดสมาธินั่งตีได้สบายไม้ที่ใช้ตีมีสองอันทำด้วยแผ่นหนังดิบตัดเป็นวงกลมเจาะกลางสอดด้ามไม้สำหรับมือถือ ผู้ตีถือไม้ตีข้างละอัน ฆ้องวงใหญ่จะบรรเลงร่วมอยู่ในสงมโหรี วงปี่พาทย์ไม้นวม วงปี่พาทย์ไม้แข็ง วงปี่พาทย์นางหงส์ และวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ โดยทำหน้าที่ดำเนินทำนองหลัก