ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sticnin (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Sticnin (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 4:
== ประวัติความเป็นมา ==
 
อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง เป็นอุทยานแห่งชาติที่สำคัญเนื่องจากมีพื้นที่ซึ่งเป็นเทือกเขาสูงทอดยาว มียอดสูงสลับซับซ้อนทำให้เกิดทิวทัศน์ที่สวยงาม และเป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีน้ำตกที่สวยงามหลายแห่ง ประกอบกับมีสภาพป่าดงดิบชื้นที่อุดมสมบูรณ์ ดังนั้นจึงมีความสำคัญต่อวงจรชีวิตของพืช และสัตว์ป่า และสภาพแวดล้อมข้างเคียงด้วย
อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง เป็นวนอุทยานน้ำตกโยง กรมป่าไม้ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่สำรวจพื้นที่ พบว่ามีความอุดมสมบรูณ์ของป่าเป็นอันมาก เหมาะสมจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ เห็นชอบว่า ควรยกฐานะวนอุทยานน้ำตกโยงเป็นอุทยานแห่งชาติต่อไปและที่ประชุมผู้อำนวยการกองในสังกัดกรมป่าไม้ครั้งที่ 9/2530 ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2530 มีมติเห็นชอบให้จัดตั้งบริเวณดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติได้ ขณะนี้ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ กำลังดำเนินการตรวจสอบและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการออกประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินป่าเขา เหมนป่าปลายคลองวังหีบ ป่าคลองปากแพรก และป่าน้ำตกโยง ในท้องที่ตำบลช้างกลางอำเภอฉวาง ตำบลนาบอน อำเภอนาบอน ตำบลนาหลวงเสน ตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช เนื้อที่ประมาณ 126,675 ไร่ ให้เป็นอุทยานแห่งชาติน้ำตกโยงต่อไป และอุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง ได้ประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 108 ตอนที่ 127 ลงวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ.2534 มีเนื้อที่ตามประกาศ 128,125 ไร่
*พ.ศ. 2528 กรมป่าไม้ได้รับหนังสือจาก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ได้ไปตรวจเยี่ยมราษฎร และได้รับการร้องขอให้ดำเนินการปรับปรุง ป้องกันบริเวณน้ำตกปลิว 1,2 ตำบลนาหลวงเสน อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีสภาพป่าค่อนข้างสมบูรณ์ และมีน้ำตกที่สวยงามหลายแห่ง ราษฎรในพื้นที่ให้การสนับสนุนและประสงค์จะให้มีการอนุรักษ์พื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ
*พ.ศ. 2529 นายสัมพันธ์ ทองสมัคร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้มีหนังสือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขอให้ประกาศพื้นที่ป่าเขาพระสุเมรุ (เขาเหมน) เป็นอุทยานแห่งชาติโดยเร่งด่วน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้ให้กรมป่าไม้ดำเนินการตรวจสอบบริเวณพื้นที่ป่าดังกล่าวปรากฎว่ามีสภาพป่าสมบูรณ์มาก เห็นควรอนุรักษ์ได้เป็นอุทยานแห่งชาติ
กรมป่าไม้โดยกองอุทยานแห่งชาติ (ส่วนอุทยานแห่งชาติ) จึงได้นำเรื่องเสนอเข้าที่ประชุม คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ได้มีมติในที่ประชุมครั้งที่ 1/2532 ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2532 เห็นชอบในหลักการให้จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเขาเหมน ป่าเขาหลวง ป่าปลายคลองวังหีบ ป่าน้ำตกโยง และป่าคลองปากแพรก ในท้องที่ตำบลช้างกลาง อำเภอฉวาง ตำบลเขาแก้ว ตำบลลานสกา อำเภอลานสกา ตำบลนาบอน อำเภอนาบอน ตำบลนาหลวงเสน ตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง และตำบลหินตก ตำบลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2534 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 108 ตอนที่ 127 ลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2534 จัดเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 64 ของประเทศไทย
 
== เส้นทางศึกษาอุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง ==