ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การทำไม้ตัดเรือนยอด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Heuristics (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5:
[[ไฟล์:Pollarded trees near Sluis two years later April 2009 cropped to match last times more or less.jpg|right|thumb|250px|ไม้ตัดเรือนยอดระหว่างเมืองn [[Sluis]] และ [[Aardenburg]] ในเวลา 2 ปีต่อมา]]
 
'''การทำไม้ตัดเรือนยอด''' หรือ '''โพลลาร์ดดิง''' ([[:en:Pollarding|pollarding]]) คือระบบการตัดแต่ง[[ต้นไม้]]โดยการตัดเรือนยอดต้นไม้ออกทุกๆ ปีเพื่อให้ต้นไม้มีความสูงคงที่ (ตัดเฉพาะกิ่งก้านย่อยออกเท่านั้น) <ref>Hartman,Pirone,Sall Pirone's Tree Maintenance 7th ed. 2000 pg.142</ref> การตัดแต่งโดยวิธีนี้เป็นการกระตุ้นให้ต้นไม้ออกกิ่งก้านไปทางข้าง ปกติจะทำที่ความสูง 2-3 เมตรจากระดับโคนต้น จากนั้นจะปล่อยให้กิ่งแตกออกมาใหม่ ซึ่งเมื่อตัดแต่งในลักษณะนี้แล้วจะต้องตัดแต่ง ณ บริเวณเดิมทุกปีเหมือนการตัดผมของคน บริเวณปลายกิ่งที่ถูกตัดทุกปีนั้นจะขยายตัวเป็นปุ่มโตขึ้นเป็นที่แตกกิ่งใหม่ที่มีจำนวนมากขึ้น การตัดแต่งกิ่งที่เดิมซ้ำทุกปีจึงเหมือนการตัดผมของคนหรือตัดเขาหรืองาของสัตว์ ซึ่งมาจากคำภาษาอังกฤษว่า “polled” ซึ่งเป็นคำที่ใช้กับการตัดเขา[[แกะ]]หรือ[[กวาง]]ตัวผู้ที่เลี้ยงใน[[ฟาร์ม]]ต่างประเทศ
 
[[ต้นไม้]]ที่ถูกตัดแต่งโดยวิธีนี้เรียกว่า "'''การตัดเรือนยอด'''" หรือ “โพลลาร์ด” (Pollard) แต่ต้นไม้ที่ถูก'''บั่นยอด'''แบบเดียวกันแต่ปล่อยให้แตกใหม่ไม่ตัดซ้ำทุกปี เรียกว่า “[[ไม้ตอฟืน]]” ([[:en:coppice|coppice]]) มีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า maiden tree หรือ “ไม้สาวโสด” การตัดเรือนยอดต้นไม้ หรือการทำโพลลาร์ดต้นไม้อายุมากหรืออายุน้อยแต่อ่อนแอมักทำให้ต้นไม้นั้นยืนต้นตาย (ไม่ตายทันทีแต่จะค่อยๆ ตายใน 1-2 หรือ 3 ปี โดยเฉพาะการตัดที่ไม่ยอมให้มีใบต่ำกว่าจุดตัดเหลือทิ้งไว้เป็นพี่เลี้ยงหรือตัวผลิตอาหาร (ซึ่งจะตัดออกเมื่อพุ่มใบเรือนยอดใหม่สมบูรณ์แล้ว) การตัดต้นไม้ผิดชนิดก็อาจทำให้ต้นไม้ตายได้เช่นกัน มีบ่อยครั้งมากที่มีการตัดเรือนยอดเพื่อคุมความสูงของต้นไม้ที่สูงหรือต้นไม้มีอายุที่ผิดวิธี ซึ่งทำให้เกิดผลเสียร้ายแรง การจัดการกับต้นไม้สูงด้วยวิธีที่ถูกต้องตามหลักวิชา[[รุกขกรรม]]สามารถหลีกเลี่ยงความเสียหายหรืออันตรายดังกล่าวนี้ได้