ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อะแพโทซอรัส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Taweetham (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 40:
อย่างไรก็ดี ทฤษฎีการดำน้ำของอะแพทโตซอรีส หรือ ซอโรพอดอื่นๆ เริ่มเป็นที่ถกประเด็นในยุคหลัง ว่า เป็นได้จริงแค่ไหน โดยนักชีววทิยามีความเห็นว่า หากซอโรพอดต้องหลบศัตรูโดยดำน้ำลงไปลึกเกือบ 10 เมตรจริง ลำคอ และ ปอดของมันจะทนทานแรงกดดันของน้ำลึกขนาดนั้นหรือไม่
 
ภาพพจน์ในอดีต ของอะแพทโตซอรัส ถูกมองว่าเป็นยักษ์ไร้พิษสง มักจะพบภาพของมันถูกวาดให้โดนไดโนเสาร์นักล่าตระครุบขย้ำเป็นอาหาร (ในจำนวนนี้ มีมากที่เป็นภาพ ไทแรนโนซอรัสรันโนซอรัส กำลังล่า อะแพทโตซอรัส ผิดจากความเป็นจริงที่ ว่า เหยื่อกับนักล่า 2 พันธุ์นี้ มีชีวิตอยู่คนละยุคห่างกันหลายสิบล้านปี ไม่สามารถมาเผชิญหน้ากัน)เนื่องจาก ลักษณะของมันไม่มีอาวุธป้องกันตัวที่เด่นเช่น เขาขนาดใหญ่แบบ[[ไทรเซอราทอปส์]] หรือ หนาม-ตุ้ม ที่หางแบบไดโนเสาร์หุ้มเกราะ แต่การค้นคว้าสมัยหลังๆ เชื่อว่า มันไม่ใช่เหยื่อตัวยักษ์ที่หวานหมูนักล่าขนาดนั้น ด้วยขนาดตัวที่ใหญ่กว่า นักล่าหลายเท่านั้น ก็เป็นอุปสรรคแก่นักล่าระดับหนึ่งแล้ว เช่นเดียวกับ ช้าง ในปัจจุบัน
 
อะแพทโตซอรัสมีหางที่ยาวมาก เพื่อถ่วงคานน้ำหนักกับส่วนคอที่ยาวของมัน คำนวณกันมาว่า หากไม่มีส่วนหาง อะแพทโตซอรัสจะไม่สามารถยกคอมันขึ้นจากพื้นได้ นอกจากนี้ หางใหญ่ของมันยังเป็นอาวุธป้องกันตัวสำคัญใช้ฟาดอย่างแรงเมื่อถูก[[อัลโลซอรัส]] หรือ นักล่าอื่นๆโจมตี ส่วนตรงปลายหางที่เรียวเล็กก็ใช้หวดต่างแส้ได้เช่นกัน