ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นางสุพรรณมัจฉา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tinuviel (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
{{แก้ภาษา}}
{{ขาดอ้างอิง}}
 
{{เก็บกวาด}}
[[ภาพไฟล์:Supanmacha.jpg|thumb|นางสุพรรณมัจฉา]]
 
'''นางสุพรรณมัจฉา''' เป็นธิดาของ[[ทศกัณฐ์]]กับนางปลา เป็นพี่น้องร่วมบิดากับ[[นางสีดา]] ถึงแม้นางจะเป็นถึงธิดาของเจ้าผู้ครองกรุง[[ลงกา]] แต่เจ้าหญิงองค์นี้ ก็ไม่มีโอกาสจะอยู่ในเวียงวังดังผู้อื่น เพราะนางอยู่ได้เฉพาะแต่ในน้ำ ดังนั้นที่อยู่ของนางจึงอยู่กลางทะเลใหญ่
บรรทัด 12:
ส่วนทศกัณฐ์ที่เสียท่าในการศึกหลายหนได้ของความช่วยเหลือจากไมยราพที่เป็นพันธมิตรของลงกา ไมยราพเห็นแก่ความเป็นมิตร รับอาสาช่วยเหลือทศกัณฐ์ ด้วยการสะกดทัพวานรลักตัวพระรามไปกักไว้ในบาดาล พิเภกและพระลักษณ์ที่กำลังเศร้าโศกต่อการหายสาบสูญไปของพระเชษฐาว่าให้ส่งหนุมานตามไปช่วย หนุมานจึงติดตามมาถึงด่านหน้าเมืองบาดาลที่มัจฉานุอาศัยอยู่ สองพ่อลูกจึงเกิดสู้รบกันขึ้น แต่ต่างไม่สามารถเอาชนะกันและกันได้ ทำให้หนุมานสงสัยยิ่ง จึงสอบถามถึงเผ่าพงศ์ของมัจฉานุ ซึ่งมัจฉานุเองก็อดแคลงใจไม่ได้เหมือนกัน ที่คู่ต่อสู้ทำไมจึงมีหน้าตารูปกายคล้ายกับตนนัก จึงตอบตามสัตย์ว่า เป็นบุตรของพระนางสุพรรณมัจฉากับหนุมาน หนุมานรู้ก็ยินดียิ่ง แนะนำตัวเองต่อมัจฉานุว่าเป็นบิดา แต่มัจฉานุต้องการข้อยืนยัน หนุมานจึงเหาะขึ้นไปบนอากาศ และหาวเป็นดาวเป็นเดือนให้ดู มัจฉานุค่อยเชื่อว่าคือบิดา พอสองพ่อลูกได้รู้จักกันแล้ว สภาพการเป็นศัตรูก็เสื่อมสลายไป มัจฉานุยอมให้หนุมานผ่านด่านของตนลงสู่บาดาลไปช่วยเหลือพระรามโดยสะดวก เมื่อฝ่ายวานรช่วยเหลือพระรามออกไปจากบาดาลได้ และไมยราพพลาดท่าตายในที่รบและหนุมานก็มอบเมืองบาดาลให้ไวยวิก พระญาติผู้หนึ่งของไมยราพครอบครองต่อไป โดยมีมัจฉานุเป็นพระมหาอุปราช ก่อนจะกลับกองทัพวานรไปทำศึกสงครามต่อ ไวยวิกกับมัจฉานุที่ครอบครองเมืองบาดาลอย่างเป็นสุขมาตลอด วันหนึ่งเกิดอยากเข้าเฝ้าพระราม จึงจัดทัพเดินทางไปกรุงอยุธยา บังเอิญพบกับทัพท้าวชมพูเข้าที่หน้าเมืองอยุธยา สองทัพเกิดเข้าใจผิด จึงสู้รบกันเองซะอุตลุดวุ่นวาย พระรามได้ยินเสียงสู้รบกันดังสนั่น จึงให้หนุมานออกไปดู หนุมานเห็นเป็นพวกกันเองทั้งสองฝ่าย ก็เลยรีบเข้าห้าม และพาทั้งหมดเข้าเฝ้าพระราม พระรามเห็นว่าหางปลาของมัจฉานุดูเกะกะร่ารำราญ หนุมานก็เลยฉวยโอกาสนี้ทูลของพระรามช่วยตัดหางมัจฉานุออก พระรามไม่ขัด ทรงใช้พระขรรค์โมลีตัดหางปลาออกไปจากกายมัจฉานุด้วยความฉับไวแม่นยำทำให้มัจฉานุไม่รู้สึกเจ็บปวดแต่อย่างไร ยังความยินดีแก่มัจฉานุยิ่งที่ไม่ต้องมีสภาพครึ่งปลาอีกต่อไป แต่โชคดีของมัจฉานุยังไม่หมดแค่นั้น พระรามยังทรงโปรดแต่งตั้งให้เป็นพระยาหนุราชไปครองเมืองมลิวัน มัจฉานุบุตรของนางสุพรรณมัจฉาเองนั้น ยังคงเวียนว่ายท่องเที่ยวไปในทะเลกว้างตามความเคยชิน นี่คือ ชีวิตรูปแบบหนึ่งของนางในวรรณคดีผู้มีเชื้อสายครึ่งยักษ์ครึ่งปลา และมีความงดงามคมซึ้งไม่ด้อยกว่าเทพธิดาบนสรวงสวรรค์... สุพรรณมัจฉา
 
== ลักษณะและสี ==
 
นางสุพรรณมัจฉามีลำตัวเป็นสีขาวหรือสีนวล กายท่อนบนเป็นนางมนุษย์ กายท่อนล่างเป็นปลา สวมมงกุฎนางอยู่บนศีรษะ