ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กลุ่มภาษากะเหรี่ยง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BOTarate (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: fr:Langues karens
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 23:
* [[ภาษากะเหรี่ยงกะยัน]] มีเสียงพยัญชนะต้น 22 เสียง เป็นตัวสะกดได้ 7 เสียง เสียงควบกล้ำมี 3 เสียง คือ l r w สระมี 13 เสียง และวรรณยุกต์ 4 เสียง <ref>สมทรง บุรุษพัฒน์และสรินยา คำเมือง. สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์: กะเหรี่ยงกะยัน. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท. มหาวิทยาลัยมหิดล. 2542</ref>
 
== การเขียน ==
อักษรที่ใช้เขียนภาษากะเหรี่ยงมี 3 แบบด้วยกันดังนี้<ref>โยเซฟ เซกีมอต. พจนานุกรมปกาเกอะญอ-ไทย-ฝรั่งเศส-อังกฤษ. กทม. หน้าต่างสู่โลกกว้าง. 2549</ref>
* อักษรไก่เขี่ย (Chicken-scratch; ภาษากะเหรี่ยง: lix hsau waiv ''หลิ ชอ แหว'')เป็นอักษรพื้นเมืองที่ประดิษฐ์โดยชาวกะเหรี่ยงเอง ไม่ได้คัดลอกจากอักษรของชนชาติใด ใช้บันทึกประวัติศาสตร์และบทเพลงภาษากะเหรี่ยง ไม่เคยมีการใช้ในประเทศไทย
* อักษรที่มาจาก[[อักษรพม่า]]หรือ[[อักษรมอญ]] (ภาษากะเหรี่ยง: lix wa ''หลิ วา'')หรืออักษรขาว เป็นอักษรที่ใช้มากในพม่าและไทยทั้งกะเหรี่ยงพุทธและกะเหรี่ยงคริสต์ แต่เริ่มเป็นที่เข้าใจยากในหมู่เยาวชน ตัวอย่างเช่น [[อักษรกะยา]]
* [[อักษรโรมัน]] (Romei ''โรเม'')ประดิษฐ์โดยบาทหลวงเอ็ดเวิร์ด กาลมอง มิชชันนารี[[นิกายโปรแตสแตนท์]] ที่เข้าไปเผยแพร่[[ศาสนาคริสต์]]ในพม่าเมื่อราว พ.ศ. 2473 และแพร่หลายเข้าสู่[[ประเทศไทย]] บาทหลวงเซกีนอตมิชชันนารี[[นิกายโรมันคาทอลิก]]จากฝรั่งเศส นำมาเผยแพร่ต่อในประเทศไทย และเขียนแบบเรียนภาษากะเหรี่ยงด้วยอักษรนี้ ใน พ.ศ. 2497 มีการเรียนการสอนภาษากะเหรี่ยงด้วยอักษรโรมันครั้งแรกใน[[โรงเรียนบ้านแม่ปอน]] [[อำเภอจอมทอง]] [[จังหวัดเชียงใหม่]] และมีการเผยแพร่ไปในหมู่กะเหรี่ยงคริสต์ในเขตภาคเหนือตอนบน
* [[อักษรไทย]] มีการนำอักษรไทยไปใช้เขียนภาษากะเหรี่ยงโปสำหรับชาวกะเหรี่ยงโปในประเทศไทย
==อ้างอิง==
<references/>
 
{{วิกิภาษาอื่น|my-kl}}
 
{{ทิเบต-พม่า}}