ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นิพนธ์ พร้อมพันธุ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5:
นายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ เป็นศิษย์เก่า[[โรงเรียนเซนต์คาเบรียล]] เมื่อเรียนจบชั้นประถมศึกษาแล้วได้ไปศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่ โรงเรียนมิลฟิลด์ แคว้นซอมเมอร์เซท ประเทศอังกฤษ โดยเป็นพระสหายร่วมชั้นเรียนใน [[สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร]] ก่อนที่จะไปศึกษาต่อที่บาร์เกอร์คอลเลจ ประเทศออสเตรเลีย จนได้ประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลาย เมื่อปี พ.ศ. 2515
 
หลังจากนายนิพนธ์สำเร็จการศึกษาระดัมัธยมศึกษาตอนปลาย ยังไม่ทันได้เข้าศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัย บิดาได้ขยายธุรกิจการลงทุนของครอบครัวในหลายกิจการ เช่น โรงเลื่อย การค้าไม้ ธุรกิจก่อสร้าง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ค้าขายที่ดินที่มีจำนวนมากในจังหวัดภาคอีสานและกรุงเทพมหานคร นายนิพนธ์จึงถูกเรียกตัวกลับให้มาทำงานสืบต่อธุรกิจขณะที่มีอายุเพียง 20 ต้นๆ และได้สมรสกับ น.ส.นวนิตย์ ไชยกูล มีบุตรธิดาด้วยกัน 3 คน คือ ชนาธิป ภากมล และ ธีร์พร พร้อมพันธุ์ ปัจจุบันนายนิพนธ์เป็นหม้ายเนื่องจากนางนวนิตย์ได้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเมื่อหลายปีก่อน
 
นายนิพนธ์เข้าสู่วงการเมืองได้เป็น ส.ส. ครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 และได้เป็น ส.ส. อีกหลายสมัย เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการ[[กระทรวงการคลัง]] และ รัฐมนตรีว่าการ[[กระทรวงเกษตรและสหกรณ์]] กระทั่งในปี พ.ศ. 2537 ขณะดำรงตำแหน่งเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายนิพนธ์ถูก [[พรรคชาติไทย]] ในฐานะพรรคฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร โจมตีกรณีเกิดทุจริตในการแจกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก.4-01 พร้อมกับ [[สุเทพ เทือกสุบรรณ|นายสุเทพ เทือกสุบรรณ]] รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในขณะนั้น นายนิพนธ์ได้แสดงความรับผิดชอบ ด้วยการลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี แต่พรรคฝ่ายค้านยังคงนำมาเป็นประเด็นเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล เป็นเหตุให้ [[ชวน หลีกภัย|นายชวน หลีกภัย]] นายกรัฐมนตรี ประกาศ[[ยุบสภา]]ก่อนมีการลงมติ
 
แม้ว่านับตั้งแต่ถูกโจมตีในปี พ.ศ. 2537 นายนิพนธ์จะไม่เคยถูกฟ้องร้อง ดำเนินคดีในชั้นศาลเกี่ยวกับกรณี [[ส.ป.ก. 4-01]] แต่อย่างใดจนถึงปัจจุบัน แต่ยังคงมีการนำกรณีดังกล่าวมาอ้างอิง เพื่อโจมตีทางการเมืองต่อ พรรคประชาธิปัตย์ มาโดยตลอด
 
ในปี พ.ศ. 2540 หลังการลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ[[ชวลิต ยงใจยุทธ|พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ]] และพรรคประชาธิปัตย์สามารถกลับขั้วการเมืองจัดตั้งรัฐบาล นายนิพจน์ได้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล[[ชวน หลีกภัย|นายชวน หลีกภัย]]
 
ปลายปี พ.ศ. 2551 นายนิพนธ์ได้กลับมาดำรงตำแหน่ง เลขาธิการนายกรัฐมนตรี อีกครั้งในรัฐบาล[[อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ|นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ]] เมื่อพรรคประชาธิปัตย์สามารถกลับขั้วการเมืองจัดตั้งรัฐบาล ในการดำรงตำแหน่งครั้งนี้ ชื่อของนายนิพนธ์ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนอีกครั้ง เมื่อถูกรุมทำร้ายร่างกายโดยกลุ่มคนเสื้อแดง ที่ [[กระทรวงมหาดไทย]] ในวันที่ [[12 เมษายน]] [[พ.ศ. 2552]] ระหว่างเหตุการณ์จราจลช่วงสงกรานต์ ปี พ.ศ. 2552
 
==ประวัติการศึกษา==