ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เวด-ไจลส์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ถอดอักษร-ถ่ายเสียง
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''เวด-ไจลส์''' ({{lang-en|Wade-Giles}}) หรือ '''เวยถัวหม่าพินอิน''' ({{zh-all|t=威妥瑪拼音|s=威妥玛拼音|p=Wēituǒmǎ Pīnyīn}}) บางครั้งก็เรียกโดยย่อว่า '''เวด''' เป็นระบบการถอดอักษรแบบถ่ายเสียง[[ภาษาจีนกลาง]]ด้วยตัว[[อักษรโรมัน]]ใช้กันใน[[ปักกิ่ง]] พัฒนาจากระบบที่สร้างขึ้นโดย [[โทมัส เวด]] (Thomas Wade) ในช่วงกลางคริสตศตวรรษที่ 19 และปรากฏอยู่ใน[[พจนานุกรม]]จีน-อังกฤษของ [[เฮอร์เบิร์ต ไจลส์]] (Herbert Giles) ซึ่งตีพิมพ์ขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1892 (พ.ศ. 2435)
 
เวด-ไจลส์ เป็นระบบหลักของการถอดอักษรสำหรับผู้พูดภาษาอังกฤษในช่วงคริสตศตวรรษที่ 20 ใช้ในหนังสืออ้างอิงมาตรฐานหลายเล่ม และในหนังสือทุกเล่มที่เกี่ยวกับ[[ประเทศจีน]]ที่ตีพิมพ์ก่อนปี ค.ศ. 1979 (พ.ศ. 2522)<ref> Krieger, Larry S.; Kenneth Neill, Dr. Edward Reynolds (1997). "ch. 4". World History; Perspectives on the Past. Illinois: D.C. Heath and Company. pp. 82. ISBN 0-669-40533-7. "This book uses the traditional system for writing Chinese names, sometimes called the Wade-Giles system. This system is used in many standard reference books and in all books on China published before 1979."</ref> แทนที่ระบบถอดอักษรของ[[หนานจิง]]ที่ใช้กันเป็นปกติจนกระทั่งปลายคริสตศตวรรษที่ 19 ปัจจุบันนี้เปลี่ยนไปใช้ระบบ[[พินอิน]]กันเป็นส่วนใหญ่ แต่มีเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นที่ยังใช้ระบบเวด-ไจลส์ โดยเฉพาะชื่อบุคคลและเมืองบางแห่งใน[[สาธารณรัฐจีน]] ([[ไต้หวัน]])