ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พัดยศ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5:
== ประวัติความเป็นมา ==
 
พัดยศคือเป็นเครื่องประกอบสมณศักดิ์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชานุญาตให้สร้างขึ้น เพื่อถวายแก่พระสังฆาธิการในโอกาสรับพระราชทาน[[สมณศักดิ์]] โดยจะนำมาใช้เฉพาะงานรัฐพิธีและการ[[พระราชพิธี]]เท่านั้น วิวัฒนาการของตาลปัตร-พัดยศ ของพระสงฆ์ก่อนจะมีรูปแบบดังที่พบเห็นอยู่นี้ มีความเป็นมาที่ยาวนานและได้มีการพัฒนารูปแบบมาหลายครั้ง หากสังเกตให้ดีจะพบว่าตาลปัตรหรือพัดยศมีอยู่หลายชนิด แต่ละชนิดก็มีรูปทรง ลวดลาย ตลอดจนสีสันงดงามแตกต่างกันออกไปตามระดับของชั้นยศที่ได้รับพระราชทาน
 
พัดยศพัฒนามาจากตาลปัตร ซึ่งแปลตรงตัวว่า '''ใบตาล ''' ความหมายคือพัดของพระสงฆ์ในยุคแรกนั้นทำด้วยใบ[[ตาล]] ต่อมาได้มีวัฒนาการมาเป็นอย่างอื่น เช่น ทำด้วยขนนก หรือโครงเหล็กหุ้มด้วยผ้าชนิดต่าง ๆ ตลอดถึงทำด้วยงาหรือของมีค่าอื่น ๆ แต่ก็ยังนิยมเรียกว่าตาลปัตรอยู่นั่นเอง จากตาลปัตรที่ใช้พัดโบกได้พัฒนามาเป็น '''พัดยศ''' หมายถึง พัดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแด่พระสงฆ์มาพร้อมกับการทรงตั้งสมณศักดิ์ในระดับชั้นต่าง ๆ ส่วนคำว่า '''พัดรอง''' หมายถึง พัดที่ทำขึ้นเป็นที่ระลึกในงานพิธีต่าง ๆ รวมถึงงานพระราชพิธี รัฐพิธี และพิธีทำบุญต่างของราษฎร ก็รวมเรียกว่าพัดรองด้วยเช่นกัน คำว่าพัดรอง เป็นชื่อเรียกเฉพาะพัดที่สร้างขึ้นเป็นที่ระลึกในงานพิธีต่าง ๆ ดังกล่าวนี้เท่านั้น ส่วนคำว่าตาลปัตรเป็นชื่อรวมเรียกได้ทั้งพัดยศ และพัดรอง
 
เรื่องของตาลปัตร-พัดยศนี้ นักปราชญ์ทาง[[พระพุทธศาสนา]]หลายท่านได้ให้ข้อสันนิษฐานว่า แต่เดิมนั้นคงมิใช่ของที่ทำขึ้นมาสำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะ แต่เป็นสิ่งของเครื่องใช้ของชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในประเทศแถบเมืองร้อนมาก่อนสมัย[[พุทธกาล]]แล้ว ซึ่งชนแถบนี้มีพัดไว้ใช้พัดลม บังแดด บังฝน นับเป็นสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นอย่างหนึ่ง พัดที่ใช้กันนั้นน่าจะมีอยู่ด้วยกันหลายแบบ และทำด้วยวัสดุต่าง ๆ ตามฐานะของผู้ใช้ คำที่พบในคัมภีร์ทางศาสนาที่กล่าวถึงเรื่องพัดมีอยู่หลายคำ เช่น คำว่า '''ตาลปัตร วาลวิชนี''' และ'''จิตรวิชนี'''
 
'''ตาลปัตร''' เป็นพัดที่เก่าแก่ที่สุด ทำด้วยใบตาล ซึ่งเป็นวัสดุที่หาง่าย โดยวิธีเอาใบตาลมาตีแผ่ออกแล้วเจียนให้มน หรือมีรูปแบบตามใจชอบแล้วขึงริมให้ตึงเหลือก้านตาลไว้เป็นด้ามตรงกลาง '''วาลวิชนี''' คือ พัดที่มีด้ามด้านข้าง มีทั้งที่ทำด้วยใบตาล ขนนก หรือวัสดุมีค่าอื่นๆ ส่วนใหญ่มักเป็นเครื่องสูงสำหรับใช้โบกพัดวีท่านผู้สูงศักดิ์ หรือเป็นเครื่อง[[ราชูปโภค]] ส่วน'''จิตรวิชนี''' คือ พัดอันวิจิตรงดงามนั้น เป็นพัดที่ประดิษฐ์ตกแต่งด้วยสิ่งของสำหรับผู้มีทุนทรัพย์ใช้โบกพัดวีในเวลาอากาศร้อน
 
ตาลปัตร หรือพัดยศ แม้จะมิได้นับเนื่องให้เป็นสิ่งหนึ่งในบริขาร 8 ของพระสงฆ์ และไม่พบหลักฐานว่ามีพุทธบัญญัติให้พระสงฆ์ใช้ของสิ่งนี้ในโอกาสใด เพียงแต่พบข้อความปรากฏในคัมภีร์ทางศาสนาหลายแห่ง เช่น ในคัมภีร์[[ธรรมบท]] ว่า ''"ขณะที่พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนา มีพระ[[อานนท์]]พุทธอุปัฏฐากถวายงานพัดอยู่ด้านหลัง..."'' และ ''"พระ[[สารีบุตร]] ถือพัดอันวิจิตร ขึ้นไปแสดงธรรมบนธรรมาสน์..."'' และความตอนหนึ่งใน[[พุทธประวัติ]]ว่า ''"พระเจ้าปัสเสนทิโกศลทรงโปรดให้สร้างพัดอันงดงามวิจิตร..."'' ถวายพระพุทธองค์ เป็นต้น จากข้อความที่กล่าวมานี้ พอสันนิษฐานได้ว่า การใช้พัดของพระสงฆ์ในยุคแรกน่าจะใช้เพื่อพัดโบกคลายความร้อนเท่านั้น ดังจะเห็นได้จากพระสงฆ์ชาว[[ลังกา]]ในปัจจุบัน เวลาสวดมนต์ยังถือพัดไปพัดวีไปในบางโอกาส เนื่องจากพัดชาวลังกามีด้ามสั้น
 
ต่อมาภายหลังได้มีผู้อธิบายว่าพระสงฆ์ใช้พัดเพื่อใช้บังเวลาเห็นอะไรก็ตามที่พระไม่ควรเห็น แต่ไม่น่าจะใช่วัตถุประสงค์ที่แท้ซึ่งมีมาแต่เดิม จากพัดที่ใช้พัดลมต่อมาในสังคมไทยพระสงฆ์เริ่มใช้พัดในเวลาให้ศีล ให้พร และจากนั้นราชการไทยได้ใช้พัดเป็นเครื่องแสดงสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ ซึ่งน่าจะมีที่มาจากในอดีตเมื่อพระสงฆ์ไทยไปในงานพิธีต่างๆ คงจะนิยมถือพัดไปด้วยแทบทุกครั้งจนกลายเป็นประเพณีสืบมา เมื่อการระบายความร้อนได้มีวิวัฒนาการไปมากจนพัดโบกลมจะหมดความจำเป็นไปแล้ว การใช้พัดของพระสงฆ์ในยุคต่อมาจึงถือไปเพื่อตั้งบังหน้า เป็นการรักษาธรรมเนียม[[ประเพณี]] ซึ่งจะทำให้[[ศาสนพิธี]]นั้น ๆ ดูเป็นพิธีรีตองและเป็นกิจลักษณะยิ่งขึ้น
 
== รูปแบบของพัดยศ ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/พัดยศ"