ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระนางตารา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Jotterbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต แก้ไข: it:Tārā (Bodhisattva)
บรรทัด 1:
[[ภาพไฟล์:Green Tara, Kumbm, Gyantse, Tibet, 1993.JPG|right|thumb|200px|พระนางตาราเขียวหรือพระศยามตาราโพธิสัตว์ Kumbm, Gyantse, Tibet, 2536]]
{{รอการตรวจสอบ}}
[[ภาพ:Green Tara, Kumbm, Gyantse, Tibet, 1993.JPG|right|thumb|200px|พระนางตาราเขียวหรือพระศยามตาราโพธิสัตว์ Kumbm, Gyantse, Tibet, 2536]]
 
'''พระนางตารา'''เป็น[[พระโพธิสัตว์]]ฝ่ายหญิงในพระ[[พุทธศาสนา]]แบบทิเบต คำว่าตารามาจาก[[ภาษาสันสกฤต]]หมายถึงข้าม การบูชาพระนางเริ่มเมื่อพุทธศตวรรษที่ 8 - 11 ใน[[อินเดีย]]เหนือและแพร่หลายที่สุดในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 - 17 โดยถือว่าเป็นชายาของ[[พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์]] ปัจจุบันมีนับถือใน[[ทิเบต]] ส่วนชาวพุทธใน[[จีน]]จะนับถือ[[เจ้าแม่กวนอิม]]ที่เป็นภาคหญิงของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์แทน
เส้น 14 ⟶ 13:
 
รูปลักษณ์ดั้งเดิมของพระนางตารามี 2 แบบ คือพระนางตาราเขียวมีผู้นับถือมากในทิเบต และพระนางตาราขาวมีผู้นับถือมากในมองโกเลีย เมื่อแนวคิดเกี่ยวกับการบูชาพระนางตาราพัฒนาขึ้น จึงมีการสร้างภาคโกรธและภาคดุขึ้นมาหลายแบบ เช่น พระนางตาราน้ำเงิน อุครตารา เอกชฎะ ภาคเอกชฎะนี้เป็นภาคดุที่แพร่หลายที่สุด กายสีน้ำเงิน มีตาที่สามบนหน้าผาก ตกแต่งร่างกายด้วยงูและพวงมาลัยศีรษะคน เหยียบอยู่บนร่างของคนตาย นอกจากนี้ยังมีการสร้างพระนางตาราในภาคที่เป็นเทพแห่งความรักหรือเทพแห่งการรักษาโรคอีกด้วย
=== พระนางตาราปางต่างๆ ===
 
ในทิเบต พระนางตารามีหลายปางคือ
* พระนางตาราขาว หรือ พระจินดามณีจักรตารา ทรงชุดขาวล้วน ถือดอกบัวบาน เป็นตัวแทนของความกรุณา มีพระเนตร 7 ดวง หมายถึงเฝ้ามองสรรพสัตว์อยู่ตลอดเวลา พระหัตถ์ขวาประทานพร พระหัตถ์ซ้ายถือดอกบัว และทำ[[มุทรา]]ไตรลักษณ์
เส้น 21 ⟶ 19:
* พระนางตาราแดง ทรงสีแดงทับทิม หมายถึงความปรารถนาของสรรพสัตว์ที่จะหลุดพ้นจาก[[สังสารวัฏ]] ประทับบนพระอาทิตย์
* พระนางตาราดำ ทรงสีดำ หมายถึง[[สุญญตา]] ซึ่งเป็นความสามารถในการข้ามพ้นอวิชชา ความเห็นผิดต่างๆ
== อ้างอิง ==
{{เริ่มอ้างอิง}}
* ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ษัฏเสน. พระพุทธศาสนาแบบทิเบต. ศูนย์ไทยทิเบต. 2538
* สุมาลี มหณรงค์ชัย. พระชินพุทธะห้าพระองค์. กทม. ศูนย์ไทยธิเบต. 2547
{{จบอ้างอิง}}
 
{{สิ่งลี้ลับ}}
[[หมวดหมู่:พระโพธิสัตว์|ตารา]]