ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สัตววิทยา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Synthebot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: si:සත්ත්වවේදය
บรรทัด 1:
{{ขาดอ้างอิง}}
{{รอการตรวจสอบ}}
'''สัตววิทยา''' ([[ภาษาอังกฤษ{{lang-en|อังกฤษ]]: zoology}}) ชีววิทยาสาขาหนึ่ง เกี่ยวข้องกับสมาชิกใน[[อาณาจักรสัตว์]] และชีวิตสัตว์โดยทั่วไป โดยเป็นการศึกษาเรื่อง[[สัตว์]] ตั้งแต่พวกสัตว์ชั้นต่ำพวก [[ฟองน้ำ]] [[แมงกะพรุน]] [[พยาธิตัวแบน]] [[พยาธิตัวกลม]] กลุ่มหนอนปล้อง สัตว์ที่มีข้อปล้อง กลุ่มสัตว์พวก[[หอย]] [[ปลาดาว]] จนถึง [[สัตว์มีกระดูกสันหลัง]] และ [[สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม]]
 
สัตววิทยาศึกษาโดยรวมเกี่ยวกับร่างกายของ[[สัตว์]] ไม่ได้เน้นส่วนใดส่วนหนึ่ง และกระบวนการสำคัญในการดำรงชีพ แต่ศึกษาความสัมพันธ์ของสัตว์หรือกลุ่มสัตว์กับ[[สภาพแวดล้อม]] เนื่องจากเป็นขอบเขตการศึกษาที่กว้าง จึงมักจะแบ่งย่อยเป็นสาขาอื่นๆ อีก เช่น [[วิทยาเซลล์]], [[วิทยาตัวอ่อน]], [[สัณฐานวิทยา]], [[โบราณชีววิทยา]], [[พันธุศาสตร์]]และวิวัฒนาการ, [[อนุกรมวิธาน]], [[พฤติกรรมวิทยา]], [[นิเวศวิทยา]] และ[[สัตวภูมิศาสตร์]] เป็นต้น
 
สัตววิทยานั้นมีการศึกษามาตั้งแต่สมัย[[กรีกโบราณ]] และ[[จักรวรรดิโรมัน]] จากงานของ[[ฮิปโปเครเตส]], [[อะริสโตเติล]], และ[[พลินี]] นักธรรมชาตินิยมสมัยต่อมาเจริญรอยตามอริสโตเติล จนในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เมื่อมีการพิมพ์แพร่หลาย ความรู้เหล่านี้ก็กว้างขวางขึ้น มีการศึกษาและเผยแพร่มากขึ้น เช่น [[วิลเลียม ฮาร์วีย์]] (การไหลเวียนของเลือด) , [[คาโรลุส ลินเลียส]] (ระบบการตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์) , [[จอจส์ หลุย เลอเคลิก เดอ บุฟอง]] (ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ) , และ[[จอร์จ คูเวียร์]] (กายวิภาคเปรียบเทียบ) ซึ่งเป็นการศึกษาในขั้นลึกของสัตววิทยา
 
จุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ของการศึกษาสัตววิทยา ก็เมื่อชาลส์ ดาร์วิน ได้ตีพิมพ์หนังสือ กำเนิดพงศ์พันธุ์ (On the Origin of Species by Means of Natural Selection) ซึ่งได้อธิบายทฤษฎีวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต นับแต่นั้นการศึกษาด้านพันธุศาสตร์เริ่มมีความจำเป็นในการศึกษาทางชีววิทยา และการศึกษาในแนวลึกเฉพาะด้านเริ่มมีมากขึ้น และยังมีการศึกษาคาบเกี่ยวกันในแต่ละสาขาวิชาด้วย