ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tummy (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนกลับไปรุ่นของ Thanyakij ด้วยสจห.: ย้อนการแก้ไขที่ไม่จำเป็น
Tummy (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ปัจจุบัน}}
[[ไฟล์:UDD Demonstration - Victory Monument - Bangkok - 9th April 2009.jpg|220px|thumb|กลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดงปิดถนนที่[[อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ]]]]
'''เหตุการณ์ก่อความไม่สงบของกลุ่ม นปช. พ.ศ. 2552''' เกิดขึ้นในช่วงเดือน[[มีนาคม]]-[[เมษายน]] [[พ.ศ. 2552]] มีชนวนเหตุมาจากการชุมนุม[[แดงทั้งแผ่นดินสัญจร]] โดยกลุ่ม[[แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ]] ซึ่งมีการออกอากาศทาง[[สถานีประชาธิปไตย]] โดยมี [[ทักษิณ ชินวัตร|พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร]] อดีตนายกรัฐมนตรี โทรศัพท์ทางไกลให้สัมภาษณ์และปราศรัยผ่านระบบวิดีโอลิงก์จากต่างประเทศถึงกลุ่มคนเสื้อแดงหลายครั้ง โดยกล่าวว่ารัฐบาลของ[[อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ|นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ]]ไม่สามารถแก้ไขปัญหาของประเทศได้ รวมไปถึงได้มีการกล่าวพาดพิงไปยังองคมนตรีและตุลาการบางท่าน แทรกแทรงการเมือง ในการชุมนุมแดงทั้งแผ่นดินสัญจรครั้งที่ 5 ณ [[สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปีเชียงใหม่]] แกนนำ นปช. ได้ประกาศการชุมนุมแดงทั้งแผ่นดินสัญจรครั้งที่ 6 ขึ้นที่ท้องสนามหลวง ใน[[วันพฤหัสบดี]]ที่ [[26 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2552]] โดยประกาศเจตนาปักหลักชุมนุมรอบทำเนียบรัฐบาลอย่างยืดเยื้อจนกว่ารัฐบาลนายอภิสิทธิ์ [[เปรม ติณสูลานนท์|พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์]] ประธาน[[องคมนตรี]]และ[[รัฐบุรุษ]] [[สุรยุทธ์ จุลานนท์|พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์]] และ[[ชาญชัย ลิขิตจิตถะ|นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ]] องคมนตรี จะลาออกจากตำแหน่ง
 
การชุมนุมดังกล่าวได้มีการยืดเยื้อและทวีความรุนแรงมากขึ้น จนรัฐบาลได้ประกาศ[[สถานการณ์ฉุกเฉิน]]ที่มีความร้ายแรง เพื่อควบคุมสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้น และมีการปะทะกันของกลุ่มผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารบ่อยครั้ง จนในที่สุดจำเป็นต้องยุติการชุมนุมในวันที่ [[14 เมษายน]] [[พ.ศ. 2552]]