ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พืชไร่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
519244001CTE9 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
519244001CTE9 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 12:
ประเภทให้น้ำมัน ได้แก่ ถั่วเหลือง ละหุ่ง ทานตะวัน งา
ประเภทให้น้ำตาล ได้แก่ อ้อย มะพร้าว ตาล
==พืชอุตสาหกรรม==
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพด้านการเกษตร ซึ่งการเกษตรถือเป็นรากฐานของประเทศไทย มีการปลูกพืชประเภทพืชสวนเป็นจำนวนมากและพืชสวนที่ถือเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศ ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งในอุตสาหกรรมอาหารและด้านพลังงานทดแทน โดยมีการใช้น้ำมันปาล์มทดแทนน้ำมันดีเซลซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศปีละหลายร้อยล้านบาท ซึ่งน้ำมันที่เป็นทรัพยากรโลกก็เริ่มลดน้อยลง และส่งผลให้ราคายิ่งสูงขึ้น ประเทศไทยมีเป้าหมายในการเพิ่มพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันให้ได้ 10 ล้านไร่ ภายในปี 2572 นอกจากปาล์มน้ำมันที่เป็นพืชอุสากรรมของไทยแล้ว ยังมี กาแฟ ชา และมะคาเดเมีย ซึ่งมีการปลูกทางภาคใต้และภาคเหนือของประเทศไทย ทำรายได้เข้าสู่ประเทศและทำรายได้ให้เกษตรกรในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี<br />
''ปาล์มน้ำมัน''<br />
ชื่อสามัญ Oil palm <br />
ชื่อวิทยาศาสตร์ Elaeis guineensis Jacq. <br />
ถิ่นกำเนิด แถบแอฟริกาตะวันตก <br />
ความสำคัญ เป็นพืชน้ำมันที่มีศักยภาพในการแข่งขันสูงกว่าพืชน้ำมันชนิดอื่นทั้งด้านการผลิตและด้านการตลาด ส่วนแบ่งการผลิตน้ำมันปาล์มต่อน้ำมันพืชของโลก มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว จากร้อยละ 11.7 ในช่วงปี 2519 – 2543 เพิ่มเป็นร้อยละ 27.5 ในช่วงปี 2544 – 2548 และคาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 31.2 ในช่วงปี 2549 – 2563 โดยมีประเทศผู้ผลิตสำคัญคือมาเลเซียและอินโดนิเซีย<br />
สำหรับประเทศไทย อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มของไทยมีอัตราการขยายตัวค่อนข้างสูงขึ้นเช่นกัน โดยมีพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นจาก 69,625 ไร่ในปี 2520 เป็น 2.04 ล้านไร่ใน 2546 และน้ำมันปาล์มเป็นน้ำมันพืชที่มีส่วนแบ่งการผลิตสูงสุดของอุตสาหกรรมน้ำมันพืชของประเทศไทย คือ มีส่วนแบ่งการผลิตถึงร้อยละ 73 และมีส่วนแบ่งการบริโภคน้ำมันร้อยละ 62 ของน้ำมันพืชทุกชนิด
==แหล่งอ้างอิง==
เอกสารวิชาการงานราชพฤกษ์ 2549:กรมวิชาการ “พืชอุตสาหกรรม”
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/พืชไร่"