ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เมืองยอง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
{{รอการตรวจสอบ}}
'''เมืองยอง''' เป็นเมืองหรืออำเภอหนึ่งใน [[รัฐฉาน]] [[ประเทศพม่า]]ขึ้นกับแขวง[[เมืองพะยาค]] เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ทั้งเกี่ยวข้องกับ [[พม่า]] [[ล้านนา]] [[สยาม]] [[ลาว]] และ เขต[[สิบสองปันนา]] ของ[[จีน]] ผู้ที่อยู่อาศัยในเมือง จะถูกเรียกว่า [[ชาวลื้อ]]
 
บรรทัด 17:
นอกจากนั้น ยังมีอีก 3 ประตู ภายใน[[เวียง]] คือ ประตูดินแดง ประตูหูหูด และประตูผาบ่อง บริเวณใจกลางเมืองมีต้นสรี หรือต้น[[โพธิ์]]มีไม้ค้ำโดยรอบซึ่งแสดงถึงความเชื่อเรื่อง[[ไม้ค้ำสรี]] เช่นเดียวกับ[[คนเมือง]]ในล้านนา
 
== ประวัติ ==
=== การอพยพมาของชาวไทลื้อ ===
คำว่ายองหรือ '''ญอง''' อันเป็นชื่อเมืองนั้น ตำนานเมืองยองได้อธิบายว่าเป็นชื่อหญ้าชนิดหนึ่งที่เคยขึ้นในบริเวณเมืองยอง ครั้งหนึ่งมีนายพรานมาจากอาฬวีนคร ได้จุดไฟเผาป่าทำให้หญ้ายองปลิวไปทั่ว เมืองยองมีชื่อเป็นภาษาบาลีว่า '''มหิยังคนคร''' (ตำนานเมืองยอง)
 
เมืองยองเป็นเมืองที่มีตำนานกล่าวถึงพัฒนาการของบ้านเมืองที่เริ่มขึ้นในราว[[พุทธศตวรรษที่ 18]] โดยเริ่มจากการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มคนพื้นเมือง ซึ่งได้แก่พวก[[ลัวะ]]
บรรทัด 26:
 
ส่วนปัจจัยภายนอกได้แก่
* ความสัมพันธ์ทางเครือญาติและระบบบรรณาการกับเมือง[[เชียงรุ่ง]] [[เชียงตุง]] [[เชียงใหม่ ]]
* การสร้างพันธมิตรทางการเมืองกับกลุ่มเมืองในที่ราบ[[เชียงราย]] บนฝั่งแม่น้ำโขงตอนกลาง เช่น [[เชียงแสน]] [[เชียงของ]] เป็นต้น
 
เมืองยองในยุคต้นของตำนาน จึงมีความสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรมกับเมืองเชียงรุ่งอย่างใกล้ชิด
 
ในกรณีของคนเมืองยองต่อมาคำว่าเมืองได้หายไป คงเหลืออยู่คำว่า "ฅนยอง" ดังนั้น ยอง จึงมิใช่เป็นชาติพันธุ์ เมื่อวิเคราะห์จากพัฒนาการและภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของเมืองยองแล้ว คนยองก็คือคนเผ่าไทลื้อนั่นเอง ในปัจจุบันชาวเมืองยองใน[[รัฐฉาน]] และในจังหวัด[[น่าน]] ยังเรียกตัวเองว่า เป็น[[คนลื้อ]][['''เมืองยอง ]]'''
 
=== ยุคอาณาจักรล้านนา ===
ในยุคที่[[อาณาจักรล้านนา]]สมัย[[ราชวงศ์มังราย]]เจริญรุ่งเรืองและมีอำนาจ เมื่อกองทัพ[[มองโกล]]หรือพวกฮ่อยกกองทัพเข้ายึดเมืองยองได้และเลยมาตีถึงเชียงแสน
 
บรรทัด 44:
จากสภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ เมืองยอง จึงอยู่ท่ามกลางการขยายอำนาจ และการแสดงอิทธิพลของศูนย์อำนาจต่างๆ ตลอดเวลา การอยู่ในฐานะรัฐกันกระทบหรือรัฐกันชน (Buffer State) ระหว่างอาณาจักรใหญ่ ต้องปรับตัวโดยการสร้างความสัมพันธ์ในหลายรูปแบบ เพื่อให้เกิดความสมดุลของอำนาจจากฝ่ายต่างๆ ที่อยู่รายรอบ ทำให้เมืองยองมีลักษณะเป็นเมืองที่เรียกกันว่า '''เมืองสามฝ่ายฟ้า''' เพราะมีความสัมพันธ์ในเชิงบรรณาการ (tribute) และเชิงอำนาจกับจีน พม่าและเชียงใหม่ในเวลาเดียวกัน ในยามทำสงคราม เมืองยองจึงถูกดึงเข้าสู่การสู้รบ โดยถูกเกณฑ์ทั้งเสบียงอาหารและผู้คน ตลอดจนการกวาดต้อนผู้คนไปตั้งถิ่นฐานในที่ต่าง ๆ ครั้งที่มีความสำคัญมากที่สุดคือ
 
=== สมัยพระเจ้ากาวิละ ===
เมื่อกองทัพเชียงใหม่สมัย[[พระเจ้ากาวิละ]] นำโดยเจ้าอุปราชธัมมลังกา และ[[เจ้าคำฝั้น]] ได้ยกกองทัพขึ้นไปกวาดต้อนผู้คนจากเมืองยองและเมืองใกล้เคียง โดยเฉพาะหัวเมืองต่าง ๆ ทางตอนบนที่เคยมีความสัมพันธ์กันในด้านสังคมและวัฒนธรรมมาตั้งถิ่นฐานในเมือง[[ลำพูน]] และเชียงใหม่ในปี [[พ.ศ. 2348]] ซึ่งถือว่าเป็นนโยบายสำคัญของพระเจ้ากาวิละโดยการสนับสนุนของ[[กรุงเทพ]]ฯ เพื่อฟื้นฟูบ้านเมืองต่าง ๆ ในล้านนา เพราะได้รับความเสียหายจากสงครามและการยึดครองของพม่า เมืองเชียงแสนซึ่งเป็นที่มั่นแห่งสุดท้ายที่พม่าได้ใช้เป็นฐานกำลังสำคัญในการควบคุมหัวเมืองต่าง ๆ ในดินแดนทางตะวันออกบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลางได้ถูกกองทัพของเจ้ากาวิละตีแตกในปี [[พ.ศ. 2347]]
 
บรรทัด 57:
ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่เป็นเอกสารพื้นเมืองเพียงฉบับเดียวที่ให้รายละเอียดถึงเหตุการณ์ที่กองทัพเชียงใหม่ยกทัพไปกวาดต้อนผู้คนจากเมืองยองในปี [[พ.ศ. 2348]] ในการที่พระเจ้ากาวิละยกทัพไปตีเมืองยองครั้งนี้ ก็อ้างว่าเป็นการกระทำดังที่กษัตริย์ในราชวงศ์มังรายได้ปฏิบัติมาก่อน แต่จากการที่เมืองยองได้ยอมสวามิภักดิ์แต่โดยดี และยังได้ถวายสิ่งของต่าง ๆ รวมไปถึงนางหน่อแก้วเกี๋ยงคำ น้องต่างมารดาของเจ้าฟ้าหลวงเมืองยองให้กับเจ้าอุปราชธรรมลังกาด้วยพร้อมกับผู้คนอีก 19,999 คน และอาวุธต่าง ๆ เช่น [[ปืนใหญ่]]ถึง 1,999 กระบอกกับช้างม้าเป็นอันมาก แสดงให้เห็นว่าทางเมืองยองก็ได้มีกำลังไพร่พลและอาวุธอยู่เป็นจำนวนไม่น้อย
 
เป็นที่น่าสังเกตว่า ตำนานเมืองยองไม่ได้กล่าวถึงเรื่องนี้แต่อย่างใด แต่ในทางตรงกันข้าม กลับกล่าวถึงการสู้รบอย่างหนักติดต่อกันนานถึง 3 วัน กองทัพของเชียงใหม่ที่ยกมา ยังประกอบด้วยกองทัพของเจ้าเชียงตุงและเจ้าจอมหง (เจ้าเชื้อสายเชียงตุง) การรบครั้งนี้ทำให้จอมหงแม่ทัพคนสำคัญคนหนึ่งของฝ่ายเชียงใหม่เสียชีวิต แต่เมืองยองก็แพ้ต่อกองทัพเมืองเชียงใหม่ ดังที่ตำนานเมืองยองกล่าวถึงเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า '''..แต่นั้นครั้นรบกัน ได้แพ้ (ชนะ) เมืองยองแล้ว ก็เอากันไปหาบ้านเมืองแห่งเขาหั้นและ..''' ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเมืองยองไม่ได้ยอมสวามิภักดิ์ตามที่ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวไว้ และในขณะที่เอกสารที่เขียนโดยชาวอังกฤษชื่อ เจ ยอร์จ สกอตต์ (J.George Scott) ได้กล่าวถึงสงครามครั้งนี้ว่า คนเมืองยองได้ตื่นตระหนกตกใจหนีเข้าป่าไปจำนวนหนึ่ง และอีกจำนวนหนึ่งถูกบังคับและกวาดต้อนไป บ้านเมืองถูกทำลายและได้รับความเสียหายจากกองทัพสยาม
 
ในขณะที่กองทัพเชียงใหม่พักไพร่พลอยู่ที่เมืองยองในปี [[พ.ศ. 2348]] นั้น ก็ได้ถือโอกาสยกทัพออกไปปราบปรามและกวาดต้อนผู้คนจากหัวเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกับเมืองยอง และดินแดน[[สิบสองพันนา]] ได้แก่ บ้านยู้ เมืองหลวย เมืองกาย เมืองขัน เชียงขาง เมืองวะ เมืองลวง เมืองหน (หุน) เมืองแช่ เมืองราย (ฮาย) เมืองเจื่อง ท่าล้อ [[เมืองพาน]] เมืองม้า เมืองของ เมืองวัง เมืองมาง เมืองขาง เมืองงาด เมืองออ เมืองงิม เมืองเสี้ยว [[เชียงรุ่ง]]
 
ทำให้อำนาจของเชียงใหม่ขยายกว้างใหญ่ดังที่เป็นมาแล้วในสมัยราชวงศ์มังราย ครั้งนั้น พระเจ้ากาวิละน่าจะได้มอบหมายให้เจ้าเมืองยองและไพร่พลเข้ามาตั้งอยู่ที่เขตเมืองเชียงใหม่ และลำพูน เพราะไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการแบ่งไพร่พลเมืองยองให้กับเมืองต่าง ๆ เพียงแต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าไพร่พลเหล่านั้นของตนไปตั้งถิ่นฐานในบริเวณใดของเมืองเชียงใหม่หรือลำพูน แต่น่าจะเป็นบริเวณรอบ ๆ ตัวเมืองเชียงใหม่เป็นส่วนใหญ่ เพราะในปัจจุบันมีชื่อหมู่บ้านและชุมชนกระจายตัวอยู่รอบ ๆ ตัวเมืองเชียงใหม่ เช่น บ้านเมืองวะ บ้านเมืองก๋าย บ้านเมืองเลน บ้านเมืองลวง บ้านวัวลาย บ้านตองกาย บ้านท่าสะต๋อย บ้านเชียงขาง วัดเชียงรุ่ง เป็นต้น จะมีเพียงเจ้าเมืองยองและญาติพี่น้องพร้อมกับไพร่พลเท่านั้นที่ได้รับมอบหมายให้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองลำพูนและมีบทบาทในการบริหารบ้านเมืองร่วมกับกลุ่มเจ้าเจ็ดตน