ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นามธารี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 34:
ศาสนิกชนชาวซิกข์-นามธารีทุกคนสามารถประกอบศาสนพิธีต่างๆ ได้อย่างเท่าเทียมกันเสมือนเพื่อนร่วมชั้นเรียนซึ่งมีเพียง “[[คุรุ]]” หรือองค์พระศาสดาเป็นผู้สั่งสอน พระองค์สนับสนุนให้ครองเรือน ไม่สนับสนุนการใช้ชีวิตโดดเดี่ยวสละโลก ศาสนาซิกข์-นามธารีจึงไม่มีพระหรือนักบวชในศาสนา ศาสนิกชนทุกคนต้องทำงานหาเลี้ยงชีพตนเองโดยสุจริต และทำงานเพื่อช่วยกันพัฒนาสังคม
 
องค์พระศาสดา ศิริ สัตคุรุ อมรทาส (พระศาสดาองค์ที่ 3) ทรงจัดให้มีศาสนสถานทุกหมู่บ้านที่มีศาสนิกชนพักอาศัยอยู่ และได้กำหนดเขตการเผยแพร่ศาสนาในประเทศอินเดียออกเป็น 22 แต่ละเขตมีผู้เผยแพร่ รับผิดชอบ และประกอบศาสนพิธี โดยองค์พระศาสดาทรงฝึกศาสนฑูตศาสนทูตเพื่อให้เดินทางเผยแพร่ศาสนาทั่วประเทศอินเดีย ทั้งหญิงชายรวม 146 คนออกดูแลตามเขตที่กำหนด
 
ศาสนทูตเหล่านี้ได้รับไทยทานจากศาสนิกชนเพื่อนำไปถวายแด่องค์พระศาสดา แต่เมื่อเวลาเนิ่นนานเข้าทำให้ศาสนฑูตศาสนทูตบางคนมีอำนาจเหนือศาสนิกชนทั่วไป และเริ่มทำลายศรัทธาของศาสนิกชนลง จนกระทั่งในรัชสมัยของ องค์พระศาสดา ศิริ สัตคุรุ โคบินท์ ซิงห์ (พระศาสดาองค์ที่ 10) พระองค์ทรงทราบถึงความเดือดร้อนของศาสนิกชนจากการประพฤติมิชอบของศาสนทูตบางคน จึงทรงลงโทษ และให้ยกเลิกศาสนฑูตศาสนทูตทั้งหมดโดยเด็ดขาดตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
 
ฉะนั้น สมณะ หรือพระสงฆ์ รวมถึงนักบวช และความคิดเรื่องการมีสมณะเพศ อันตรงข้ามกับคฤหัสถ์นั้นจึงไม่มีในศาสนาซิกข์-นามธารี ผู้สอนศาสนาจึงไม่มีเครื่องแบบเฉพาะพิเศษแตกต่างจากคนอื่น แม้นักบุญผู้หลุดพ้นก็ไม่ได้ถูกกำหนดให้ครองพรหมจรรย์ ในศาสนสถาน ศาสนิกชนทุกเพศทุกวัยสามารถร่วมประกอบศาสนพิธีได้อย่างเท่าเทียมด้วยความสมัครใจ ผู้อ่านพระคัมภีร์ หรือผู้ร้องเพลงสวดสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าต่างล้วนไม่มีตำแหน่งใดๆ ทั้งสิ้น