ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นามธารี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ย้ายไปหน้าพูดคุยศาสนาสิกข์ (ขออภัยloginไม่ติดไม่รู้ IE มันเป็นอะไร
บรรทัด 4:
[[นามธารี]] (Namdhari) เป็นนิกายหนึ่งของ[[ศาสนาซิกข์]] (Sikh) ศาสนาซิกข์นั้นเป็นศาสนาซึ่งมีชื่อตามลักษณะคำสอนของศาสนา เพราะคำว่า “ซิกข์” (Sikh) มีรากศัพท์มาจากคำว่า “สิข” เป็นภาษาปัญจาบีซึ่งเป็นภาษาหลักของศาสนา ตรงกับคำในภาษาบาลีว่า “สิกขา” หรือในภาษาสันสกฤตตรงกับคำว่า “ศิษย์” ซึ่งหมายถึง ผู้ศึกษา ผู้ใฝ่เรียน ลูกศิษย์หรือสาวก ดังนั้น ทุกคนจึงเป็นศิษย์ของครู หรือ “[[คุรุ]]” (Guru) ซึ่งหมายถึงองค์พระศาสดา และการเข้าถึงหลักการของศาสนาจะต้องผ่านทาง “[[คุรุ]]” หรือครูเท่านั้น จึงทำให้ต้องมี “[[คุรุ]]” สืบต่อมาโดยตลอดไม่ขาดช่วงจนถึงปัจจุบัน นามธารี แปลว่า ผู้ซึ่งเทิดทูนธำรงค์รักษาให้ทรงไว้ซึ่งพระนามของพระผู้เป็นเจ้า หรือผู้ยึดมั่นในพระนามของพระผู้เป็นเจ้า (“นาม” หมายถึง พระนามของพระผู้เป็นเจ้า ส่วน “ธารี” หมายถึงการธำรงค์รักษา) จึงกล่าวได้ว่า ชาวซิกข์-นามธารี คือผู้ที่มีความรัก เชื่อถือศรัทธา และยึดมั่นในองค์พระผู้เป็นเจ้าเพียงพระองค์เดียว โดยเชื่อฟังคำสั่งสอนขององค์พระศาสดาผู้ยังดำรงพระชนม์ชีพอยู่ เสมือนอาจารย์ผู้สั่งสอนศิษย์ เพราะชาวซิกข์-นามธารีเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาล้วนต้องได้รับการศึกษาวิชาต่างๆ จากครูบาอาจารย์เสมอ ไม่เว้นแม้แต่ในเรื่องของการดำเนินชีวิต และการแสวงหาหนทางสู่ความหลุดพ้น ล้วนแล้วแต่ต้องมีครูผู้นำทางชีวิตทั้งสิ้น ศาสนิกชนชาวซิกข์-นามธารีทุกคนในฐานะ “ศิษย์” จึงต้องมี “ครู” เพื่อชี้นำแนะแนวเส้นทางการดำเนินชีวิตให้ถึงจุดหมายเสมอตลอดอายุขัย และการเข้าถึงพระผู้เป็นเจ้าจะสำเร็จได้ก็ย่อมต้องผ่านทาง “[[คุรุ]]” หรือองค์พระศาสดาผู้เทิดทูน และยึดมั่นในพระนามของพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น
 
'''หมายเหตุ การเขียน และการออกเสียงชื่อศาสนาซิกข์นั้น หากเขียนว่า "สิกข์" จะอ่านออกเสียงว่า "สิก" ซึ่งไม่ตรงกับเสียงในภาษาปัญจาบี และจะทำให้ความหมายเปลี่ยนไป เพราะฉะนั้นเพื่อให้อ่านออกเสียง และความหมายถูกต้อง จึงต้องเขียนว่า "ซิกข์" และอ่านออกเสียงว่า "ซิก" อ้างอิง http://www.thaisikh.org/sikhism/whatissikhism_th.php, หรืองานวิ่งการกุศล ไทย-ซิกข์ มาราธอนซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ก็ใช้การเขียนว่า "ซิกข์"''' (หมายเหตุนี้เขียนโดยผู้ใช้ภาษาปัญจาบี และเป็นผู้นับถือศาสนาซิกข์ โปรดอย่าแก้ไขชื่อศาสนาเพื่อไม่ให้เป็นแบบอย่างที่ไม่ถูกต้อง และถูกนำไปใช้ที่อื่นๆ ซึ่งจะทำให้ความหมาย และการออกเสียงผิดเพี้ยน ขอบคุณ)
== ประเภทศาสนา ==
 
ศาสนาซิกข์-นามธารีเป็นศาสนาประเภท เอกเทวนิยม (Monotheism) คือ เชื่อว่ามีพระเจ้าสูงสุดเพียงพระองค์เดียว แต่พระองค์มีหลายพระนามตามแต่คนจะเรียกขาน อีกทั้งศาสนิกชนชาวซิกข์-นามธารียังเชื่อว่าองค์พระศาสดาทุกพระองค์ล้วนเป็นปางอวตารของพระผู้เป็นเจ้า เสมือนหนึ่งเป็นตัวแทนของพระผู้เป็นเจ้า
 
 
 
== ภาษา ==
เส้น 18 ⟶ 15:
 
เนื่องจากหลักของศาสนาซิกข์-นามธารีเน้นสอนให้มีความเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ และสรรพสัตว์ ศาสนิกชนจึงเป็นนักมังสวิรัติประเภท Lacto Vegetarian คือรับประทานเพียงพืช ผัก ผลไม้ น้ำผึ้ง น้ำนม และผลิตภัณฑ์จากน้ำนมทุกประเภท แต่หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหาร และยาที่มีส่วนผสมของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เช่น ไข่ ปลา ไก่ หมู กุ้ง วัว เป็นต้น และหลีกเลี่ยงอาหารซึ่งมีโทษต่อร่างกาย เช่น ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเหล้า เบียร์ ไวน์ สุรา เป็นต้น รวมทั้งเครื่องดื่มต่างๆ ซึ่งมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ และคาเฟอีน (น้ำอัดลม ชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง ฯลฯ) ไม่เสพสิ่งเสพติดมึนเมาให้โทษทุกประเภท
 
 
 
== ศูนย์กลางแห่งศาสนา ==
เส้น 34 ⟶ 29:
 
ใน “คุรุ ทวารา” นอกจากจะมีพื้นที่สำหรับให้ศาสนิกชนประกอบศาสนกิจแล้ว ยังมี “โรงทาน” (Langar) อยู่ภายในด้วย โดยก่อนเข้าโรงทาน ให้ทุกคนถอดรองเท้า และล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร ซึ่งในโรงทานจะบริการอาหารโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายสำหรับศาสนิกชนทุกคน รวมไปถึงนักธุดงค์ นักเดินทาง และคณะที่มาเยี่ยมเยียน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความเสมอภาค และความสัมพันธ์ฉันท์พี่น้อง ในโรงทานแห่งนี้ไม่ว่าผู้เข้ามาจะมีฐานะสูงหรือต่ำ ยากดีมีจน ทุกคนล้วนรับประทานอาหารโดยใช้ จาน ช้อน แก้วน้ำ เหมือนกัน นั่งบนพี้นเสมอภาคร่วมกันเพื่อลบล้างความเชื่อเกี่ยวกับการแบ่งชั้นวรรณะในสังคม และจะมี “อาสาสมัครเพื่อประโยชน์ส่วนรวมโดยไม่หวังผลตอบแทน” (Sewa Dar) คอยบริการเดินตักอาหาร หรือแจกน้ำดื่มให้ทุกคน และผู้มีจิตศรัทธายังสามารถผลัดเวรกันตักอาหาร แจกน้ำดื่มได้ตามความสมัครใจ ตลอดจนสามารถบริจาคทรัพย์ หรืออาหารสำเร็จรูป รวมไปถึงวัตถุดิบสำหรับประกอบอาหารได้ตามแรงศรัทธาด้วย โรงทานนี้ดำเนินการด้วยความร่วมใจ เสียสละของศาสนิกชนชาวซิกข์-นามธารีโดยไม่มุ่งหวังสิ่งตอบแทนมากไปกว่าการเติมเต็มความต้องการในด้านอาหารให้แก่ร่างกายของทุกคน
 
 
 
== พระ และนักบวชในศาสนา ==
เส้น 46 ⟶ 39:
 
ฉะนั้น สมณะ หรือพระสงฆ์ รวมถึงนักบวช และความคิดเรื่องการมีสมณะเพศ อันตรงข้ามกับคฤหัสถ์นั้นจึงไม่มีในศาสนาซิกข์-นามธารี ผู้สอนศาสนาจึงไม่มีเครื่องแบบเฉพาะพิเศษแตกต่างจากคนอื่น แม้นักบุญผู้หลุดพ้นก็ไม่ได้ถูกกำหนดให้ครองพรหมจรรย์ ในศาสนสถาน ศาสนิกชนทุกเพศทุกวัยสามารถร่วมประกอบศาสนพิธีได้อย่างเท่าเทียมด้วยความสมัครใจ ผู้อ่านพระคัมภีร์ หรือผู้ร้องเพลงสวดสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าต่างล้วนไม่มีตำแหน่งใดๆ ทั้งสิ้น
 
 
 
== วิถีชีวิต ==