ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผู้หญิงในสายน้ำ...นิทานลุ้นระทึก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
TXiKiBoT (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: id:Lady in the Water
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
{{รอการตรวจสอบ}}
[[ภาพไฟล์:Ladyinthewater_pos_gal.jpg|thumb|200px|right|โปสเตอร์ภาพยนตร์]]
'''ผู้หญิงในสายน้ำ...นิทานลุ้นระทึก''' ชื่อ[[ภาษาไทย]]ของภาพยนตร์เรื่อง '''({{lang-en|Lady in the Water'''}}) กำกับโดย [[เอ็ม. ไนท์ ชยามาลาน]] นำแสดงโดย พอล จิอาแมตติ, [[ไบรซ์ ดัลลัส โฮเวิร์ด]] ความยาว 98 [[นาที]] ฉายเมื่อปี [[พ.ศ. 2549]] (ค.ศ. 2006) เข้าฉายใน[[ประเทศไทย]]เมื่อวันที่ [[20 กรกฎาคม]] ปีเดียวกัน
 
== เนื้อเรื่องย่อ ==
{{เสียรส}}
คลิฟแลนด์ ฮิพ (พอล จิอาแมตติ) ผู้ดูแล[[อพาร์ตเมนต์]]แห่งหนึ่งที่โคฟ คลิฟแลนด์ต้องประสบกับปัญหาสารพันของบรรดาผู้พักอาศัย คืนหนึ่ง เขาได้พบกับหญิงสาวลึกลับคนหนึ่งที่สระน้ำของอพาร์ทเมนต์ เธอมีชื่อว่า สตอรี่ (ไบรซ์ ดัลลัส โฮเวิร์ด) สตอรี่ไม่ใช่มนุษย์ธรรมดา แต่เธอเป็นนาร์ฟ ซึ่งคล้ายกับตัวนิมฟ์ใน[[นิทาน]]ก่อนนอนที่เล่าขานกันมานาน สตอรี่กำลังถูกตามล่าโดยสัตว์ร้ายที่ชื่อ ทาร์-ทู-ทิค ที่พยายามกีดกันไม่ให้เธอเดินทางฝ่าอันตราย กลับจากโลกมนุษย์เพื่อไปยังโลกของเธอ พลังพิเศษในการหยั่งรู้ของสตอรี่ ได้เผยชะตาของบรรดาผู้พักอาศัยของคลีฟแลนด์ ซึ่งผูกพันโดยตรงกับชะตาของเธอ และพวกเขาทุกคนจะต้องร่วมกันถอดรหัสที่หลากหลาย ซึ่งจะเป็นกุญแจสู่อิสรภาพของเธอ
[[ภาพไฟล์:Lady_in_the_water_2006_teaser.jpg|thumb|200px|right|โปสเตอร์โปรโมตก่อนฉาย]]
{{จบเสียรส}}
 
== คำวิพากษ์วิจารณ์ ==
Lady in the Water เป็นภาพยนตร์ที่แตกต่างไปจากเรื่องอื่น ๆ ก่อนหน้านี้ของเอ็ม. ไนท์ ชยามาลาน โดยสิ้นเชิง โดยไม่มีจุดจบที่หักมุมหรือบรรยายกาศสยองขวัญตามที่คุ้นเคย หากแต่เป็นภาพยนตร์ในแนว[[แฟนตาซี]]ผสมระทึกขวัญ ซึ่งชยามาลานบอกว่า เป็นเรื่องที่มาจากนิทานก่อนนอนที่เล่าให้ลูก ๆ ฟัง เมื่อเข้าฉายแล้ว เสียงวิจารณ์ที่ออกมาแทบจะเป็นไปทางเดียวกันเลยว่า เช่น ไม่ดี ดูไม่รู้เรื่อง เนื้อเรื่องไม่ชวนให้ติดตามและความสัมพันธ์ของตัวละครแต่ละตัวยังอ่อนอยู่ เป็นต้น และต่อมาภาพยนตร์ได้รับการเสนอชื่อชิง[[รางวัลราสเบอรี่ทองคำ]]หรือภาพยนตร์ยอดแย่ถึง 3 รางวัลด้วยกัน ได้แก่ ภาพยนตร์ยอดแย่, ผู้กำกับยอดแย่, ดาราประกอบชายยอดแย่ และคว้ารางวัลดาราประกอบชายยอดแย่ไปได้ ด้วยการรับบทเองของ ชยามาลาน ซึ่งทางผู้ให้รางวัลให้เหตุผลว่า ชยามาลานหลงตัวเองกับความสำเร็จของตัวมากเกินไป ในหนังเขาให้ตัวเองเป็นนักเขียนที่กอบกู้โลกเลยทีเดียว