ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อุทยานแห่งชาติแก่งกรุง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nini (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
{{รอการตรวจสอบ}}
'''อุทยานแห่งชาติแก่งกรุง''' ตั้งอยู่ในพื้นที่[[จังหวัดสุราษฎร์ธานี]] ครอบคลุมพื้นที่[[อำเภอท่าชนะ]] [[อำเภอไชยา]] [[อำเภอท่าฉาง]] [[กิ่งอำเภอวิภาวดี]] เป็นอุทยานที่มีสภาพป่าเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน มีสถานที่น่ารื่นรมย์สำหรับพักผ่อนหย่อนใจ เช่น น้ำตก ลำน้ำ บ่อน้ำร้อน ภูเขา ซึ่งมีทัศนียภาพที่สวยงาม เป็นป่าต้นน้ำลำธารที่หล่อเลี้ยงชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานีและ[[จังหวัดชุมพร]] มีเนื้อที่ประมาณ 338,125 ไร่ หรือ 541 ตารางกิโลเมตร แก่งกรุงเป็นชื่อแก่งขนาดใหญ่ในลำน้ำคลองยัน ในอดีต[[การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย]]ดำเนินการสำรวจเพื่อก่อสร้างเขื่อนอเนกประสงค์ ปัจจุบันได้ชะลอโครงการดังกล่าวไว้
[[ภาพไฟล์:doraeminmon045.jpg|right|150px]]
 
== ประวัติ ==
จากการที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้มีโครงการสร้างเขื่อนแก่งกรุง บริเวณที่ดินป่าท่าชนะ อันจะก่อให้เกิดปัญหาบุกรุกพื้นที่รอบอ่างเก็บน้ำ และกรมป่าไม้ได้มีคำสั่งที่ 1169/2532 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2532 ให้ นายเดชาวุธ เศรษฐพรรค์ นักวิชาการป่าไม้ 5 ไปสำรวจพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลเบื้องต้น บริเวณพื้นที่อ่างเก็บน้ำแก่งกรุง และพื้นที่ป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติท่าชนะ และป่าเตรียมการสงวนคลองสก-คลองแสง-คลองยัน ในท้องที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปรากฏว่าบริเวณดังกล่าว เป็นป่าดิบชื้นที่อุดมสมบูรณ์มากประกอบด้วยพันธุ์ไม้มีค่าหลายชนิดอย่างหนาแน่น มีสัตว์ป่าชุกชุม และนกนานาชนิด นอกจากนี้ยังมีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามและสำคัญยิ่ง คือ ป่าส่วนนี้เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่หล่อเลี้ยงชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดชุมพร ต่อมา[[กรมป่าไม้]]ได้มีคำสั่งที่ 892/2532 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2532 ให้ นายเดชาวุธ เศรษฐพรรค์ ไปดำเนินการสำรวจข้อมูลเพิ่มเติม และจัดตั้งพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าท่าชนะ และป่าเตรียมการสงวนคลองสก-คลองแสง-คลองยัน ท้องที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ
 
[[กองอุทยานแห่งชาติ]] ได้รับรายงานจาก นายเดชาวุธ เศรษฐพรรค์ ตามหนังสือ ที่ กษ 0713/พิเศษ ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2532 เห็นสมควรใช้ชื่ออุทยานแห่งนี้ว่า “อุทยานแห่งชาติคลองยัน” เนื่องจากเป็นคลองสำคัญและเป็นจุดเด่นในพื้นที่ แต่กองอุทยานแห่งชาติได้พิจารณาเห็นว่า เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวรัฐบาลมีโครงการสร้างเขื่อนแก่งกรุง ประกอบกับชื่อแก่งกรุง เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย จึงเห็นสมควรใช้ชื่ออุทยานแห่งนี้ว่า “อุทยานแห่งชาติแก่งกรุง” [[ภาพไฟล์:doraeminmon046.jpg|right|150px]]
 
กรมป่าไม้จึงได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2533 เห็นสมควรให้ดำเนินการตรา[[พระราชกฤษฎีกา]]กำหนดพื้นที่ป่าท่าชนะ ในท้องที่ตำบลคันธุลี ตำบลคลองพา ตำบลสมอทอง ตำบลประสงค์ อำเภอท่าชนะ ตำบลปากหมาก อำเภอไชยา ตำบลปากฉลุย และตำบลตะกุกเหนือ อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2534 ได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 108 ตอนที่ 211 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 69 ของประเทศ
 
== ลักษณะภูมิประเทศ ==
ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนสองแนวเหนือ-ใต้ ประกอบด้วย เขาไฝ เขาแดน เขายายหม่อน มียอดเขาสูงสุดประมาณ 849 เมตรจากระดับน้ำทะเล ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่มีลักษณะเป็นเขาดิน แร่ที่สำคัญที่มีอยู่บริเวณนี้คือ แร่ดีบุก เป็นแหล่งต้นน้ำสำคัญคือ ลำน้ำคลองยัน ต้น[[แม่น้ำตาปี]]ทางทิศใต้ และลำน้ำคลองสระ ต้นแม่น้ำหลังสวนด้านทิศเหนือ ซึ่งประกอบด้วยคลองและลำห้วยเล็กๆ มากมาย ได้แก่ คลองสระ คลองชง ห้วยลาชี ห้วยหินโล่ ห้วยเขาแดน ห้วยปลาย ห้วยป่าหมาก และคลองยัน [[ภาพไฟล์:doraeminmon047.jpg|right|150px]]
 
== ลักษณะภูมิอากาศ ==
บรรทัด 23:
สัตว์ป่าที่อาศัยในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุง ได้แก่ ช้างป่า เสือโคร่ง หมี กระทิง วัวแดง สมเสร็จ ชะนี ลิง ค่าง เก้ง กวางป่า หมูป่า ลิงเสน ค่างดำ นกปรอด นกชนหิน นกแซงแซวปากกา นกเขียวคราม และสัตว์อื่นๆ อีกมากมาย รวมทั้งสัตว์เลื้อยคลาน
 
== ติดต่อ-สอบถาม ==
'''อุทยานแห่งชาติแก่งกรุง''' [[ภาพ:doraeminmon048.jpg|right|150px]]
*ตู้ ปณ. 93 อ. กิ่งอำเภอวิภาวดี จ. สุราษฏร์ธานี 84000
*โทรศัพท์ 0 6274 7208, 0 7720 5677
*อีเมล reserve@dnp.go.th
 
{{อุทยานแห่งชาติในประเทศไทย}}