ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปรางค์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
SilvonenBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: ru:Пранг
Liger (คุย | ส่วนร่วม)
จัดรูปแบบ +เก็บกวาดด้วยสจห.
บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
[[ภาพไฟล์:Angkor wat temple.jpg|thumb|right|240px|[[นครวัด]] กัมพูชา]]
 
'''พระปรางค์''' หรือ ปรางค์ เป็น[[สิ่งก่อสร้าง]]ประเภทหนึ่งในงาน[[สถาปัตยกรรมไทย]] เป็นหลักประธานใน[[วัด]]เช่นเดียวกับพระ[[เจดีย์]] แต่เดิมถือว่าเป็นงานสถาปัตยกรรมที่มีรูปแบบลักษณะเฉพาะของ[[ขอม]] โดยมีคติความเชื่อใน[[ศาสนาฮินดู]] ว่าเป็นสัญลักษณ์ของ เขาพระสุเมรุ
 
== ลักษณะและรูปทรงของพระปรางค์ ==
พระปรางค์ในประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากศิลปะ[[สถาปัตยกรรมของขอม]] มีลักษณะจำแนกเป็น 4 แบบ คือ
# ทรงศิขร เป็นปรางค์รูปแบบดั้งเดิม สร้างขึ้นตามแบบแผนเดิมของขอม เน้นคติความเชื่อว่าเป็นการ จำลองภูเขา และ สวรรค์ชั้นฟ้า ตัวอย่างได้แก่ ปราสาทนครวัด ประเทศกัมพูชา ปราสาทหินพนมรุ้ง บุรีรัมย์ เป็นต้น
# ทรงงาเนียม มีลักษณะคล้ายงาช้าง ลักษระใหญ่แต่สั้น ตอนปลายโค้งและค่อนข้างเรียวแหลม ถือเป็นประดิษฐกรรมของช่างไทย โดยมีการพัฒนาจากรูปแบบเดิมจนมีลักษณะเฉพาะของตนเองในสมัยอยุธยาตอนต้น ตัวอย่างได้แก่ ปรางค์เหนือปราสาทพระเทพบิดร [[วัดพระศรีรัตศาสดาราม]] กรุงเทพฯ พระปรางค์[[วัดพระศรีมหาธาตุเมืองเชลียง]] สุโขทัย เป็นต้น
# ทรงฝักข้าวโพด มีลักษณะ ผอมบางและตรงยาวคล้ายฝักข้าวโพด ส่วนยอดนั้นจะค่อยๆเรียวเล็กลง ก่อนรวบเป็นเส้นโค้งที่ปลาย เป็นลักษณะเฉพาะของพระปรางค์สมัยต้นรัตนโกสินทร์ ตัวอย่างเช่น วัดเทพธิดาราม กรุงเทพฯ วัดมหาธาตุฯ กรุงเทพฯ เป็นต้น
# ทรงจอมแห มีลักษณะคล้ายแหที่ถูกยกขึ้น ตัวอย่างได้แก่ [[วัดอรุณราชวราราม]] ธนบุรี
 
ปรางค์คือรูปแบบหนึ่งของเจดีย์ เช่นเจดีย์ทรง[[พุ่มข้าวบิณฑ์]] (เจดีย์ยอดทรงดอกบัวตูม) ของสมัย[[อาณาจักรสุโขทัย|สุโขทัย]] เช่นเจดีย์ทรงระฆัง ของสมัยสุโขทัยก็มี ของสมัยกรุงศรีอยุธยา หรือสมัยรัตนโกสินทร์ก็มี
 
== องค์ประกอบของพระปรางค์ ==
# นภศูล คือส่วนยอดปลายสุดของพระปรางค์ ทำด้วยโลหะหล่อเป็นรูป 4 แฉกคล้ายปลายดาบ ต่อซ้อนกัน 2-3 ชั้น ระหว่างกลางแทรกด้วยแกนคล้ายปลายหอก
# บัวกลุ่ม คือส่วนของอาคารที่อยู่บนยอดสุดของพระปรางค์ ทำเป็นรูปกลีบบัวแย้ม ตั้งรับนภศูล
บรรทัด 21:
# ชั้นอัสดง คือส่วนของเรือนยอดพระปรางค์ส่วนที่ตั้งอยู่เหนือเรือนธาตุ
# เรือนธาตุ คือส่วนที่เป็นตัวเรือนประธานของพระปรางค์
# ซุ้มจระนำ หรือ ซุ้มคูหา หรือ ซุ้มทิศ หรือ ซุ้มประตู คือส่วนที่ทำขึ้นประกอบเข้ากับองค์พระปรางค์หรือพระเจดีย์บริเวณภายนอกอาคารส่วนที่เป็นเรือนธาตุ เพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐาน[[พระพุทธรูป]] มี 4 ด้าน เรียกว่า ซุ้มทิศ ถ้าพระปรางค์นั้นกลวงมีทางเข้าออก จะเรียกและทำหน้าที่เป็น ซุ้มประตู
# ชุดฐานสิงห์ คือส่วนที่ทำเป็นฐานสิงห์ 3 ชั้น เทินเหนือ “ฐานปัทม์” เพื่อรับองค์ “เรือนธาตุ”
# ฐานปัทม์ คือส่วนที่เป็นฐานอาคาร ใช้ตั้งรับองค์เรือนธาตุอาคาร
# ฐานเขียง คือส่วนของโครงสร้างที่เป็นฐานชั้นล่างสุด
 
บรรทัด 31:
== ข้อมูลภาพ ==
<gallery>
ภาพไฟล์:Prangsamyod.jpg|[[พระปรางค์สามยอด]] ลพบุรี
ภาพไฟล์:Watpsrattanamahathat.jpg|พระปรางค์ [[วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ]] ศรีสัญชนาลัย
ภาพไฟล์:Phraprangwatpho1.jpg|พระปรางค์ วัดโพธิ์ กรุงเทพ ฯ
ภาพไฟล์:Phimai Prang.jpg|ปรางค์ปราสาทหินพิมาย นครราชสีมา
ภาพไฟล์:Wat Arun Chao Phraya.jpg|พระปรางค์ [[วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร]]
ภาพไฟล์:PB Grand Palace Bangkok.jpg|ปรางค์ [[ปราสาทพระเทพบิดร]]
ภาพไฟล์:Watmahathatbkk0609c.jpg|พระปรางค์ [[วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร]]
 
</gallery>
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ปรางค์"