ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระธยานิพุทธะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 1:
[[ภาพไฟล์:'The Dhyani Buddha Akshobhya', Tibetan thangka, late 13th century, Honolulu Academy of Arts.jpg|thumb|right|300px|' พระธยานิพุทธะ ศิลปะทิเบต ]]
{{รอการตรวจสอบ}}
[[ภาพ:'The Dhyani Buddha Akshobhya', Tibetan thangka, late 13th century, Honolulu Academy of Arts.jpg|thumb|right|300px|' พระธยานิพุทธะ ศิลปะทิเบต ]]
'''พระธยานิพุทธะ'''หรือพระฌานิพุทธะ (บางแห่งเรียกพระชินพุทธะ) เป็นพระพุทธเจ้าในคติความเชื่อของ[[มหายาน]] อวตารมาจาก[[อาทิพุทธะ]] สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าด้วยอำนาจฌานของอาทิพุทธะ ไม่ได้ลงมาสร้างบารมีเหมือนพระมานุสสพุทธะ (พระพุทธเจ้าที่เป็นมนุษย์) ดำรงในสภาวะสัมโภคกาย มีแต่[[พระโพธิสัตว์]]ที่เห็นพระองค์ได้
== จำนวน ==
พระธยานิพุทธะโดยทั่วไปมี 5 พระองค์ คือ [[พระไวโรจนะพุทธะ]] [[พระอักโษภยะพุทธะ]] [[พระรัตนสัมภวะพุทธะ]] [[พระอมิตาภะพุทธะ]] และ[[พระอโมฆสิทธิพุทธะ]] พระธยานิพุทธะ ทั้ง 5 องค์นี้ได้สร้างพระธยานิโพธิสัตว์ขึ้นด้วยอำนาจฌานของตนอีก 5 องค์ คือ [[พระสมันตภัทรโพธิสัตว์]] เกิดจากพระไวโรจนะพุทธะ [[พระวัชรปาณีโพธิสัตว์]] เกิดจากพระอักโษภยะพุทธะ [[พระรัตนปาณีโพธิสัตว์]] เกิดจากพระรัตนสัมภวะพุทธะ [[พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์]] เกิดจากพระอมิตาภะพุทธะ และ[[พระวิศวปาณีโพธิสัตว์]] เกิดจากพระอโมฆสิทธิพุทธะ
{|border="0" cellspacing="5"
|
| align = "center"|[[พระอักโษภยะพุทธะ]]
(ตะวันออก)
|
|-
| align = "center"|[[พระอโมฆสิทธิพุทธะ]]
(เหนือ)
| align = "center"|[[พระไวโรจนะพุทธะ]]
(ศูนย์กลาง)
| align = "center"|[[พระรัตนสัมภวะพุทธะ]]
(ใต้)
|-
|
| align = "center"|[[พระอมิตาภะพุทธะ]]
(ตะวันตก)
|
เส้น 140 ⟶ 139:
|}
 
== การนับถือในประเทศต่างๆ ==
* [[เนปาล]]และ[[ทิเบต]] นับถือพระธยานิพุทธะทั้ง 5 องค์ข้างต้น โดยถือว่าพระธยานิพุทธะเป็นตัวแทนของอายตนะภายใน 5 และพระธยานิโพธิสัตว์เป็นตัวแทนของอายตนะภายนอก 5 ซึ่งประกอบเป็นร่างกายของสรรพสัตว์ มีการกำหนดตำแหน่งของพระธยานิพุทธะแต่ละองค์ในพุทธมณฑลซึ่งใช้ในการประกอบพิธ๊กรรมทางศาสนานิกาย[[วัชรยาน]] รวมทั้งการกำหนดตำแหน่งของการประดิษฐานพระพุทธะเหล่านี้ไว้ในเจดีย์ในประเทศเนปาล
* [[จีน]]และ[[ญี่ปุ่น]] ชาวพุทธ[[นิกายสุขาวดี]] นับถือพระอมิตาภะพุทธะเพียงองค์เดียว ในญี่ปุ่นได้เพิ่มพระธยานิพุทธะอีกองค์คือ [[พระวัชรสัตว์]] ถือว่าเป็นหัวหน้าของพุทธะทั้งหมด หรือเป็นอาทิพุทธะ การนับถือพระธยานิพุทธะในญี่ปุ่นพบใน[[นิกายชินกอน]]เป็นส่วนใหญ่ นิกายอื่นพบน้อย
== อ้างอิง ==
{{เริ่มอ้างอิง}}
* ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ษัฏเสน. พระพุทธศาสนาแบบทิเบต. กทม. ศูนย์ไทยทิเบต. 2538
* ประสงค์ แสนบุราณ. พระพุทธศาสนามหายาน. กทม. โอเดียนสโตร์. 2548
{{จบอ้างอิง}}
[[หมวดหมู่:พระพุทธเจ้าตามคติมหายาน|ธยานิพุทธะ]]