ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรเบิร์ต กัมปิน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mattis (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Mattis (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 10:
ถึงแม้ว่าแคมแพงจะได้รับอิทธิพลจากศิลปิน[[หนังสือวิจิตร]]รุ่นเดียวกันแต่งานของแคมแพงมีลักษณะเป็นสัจจะนิยมมากกว่าจิตรกรคนอื่นก่อนหน้านั้น แคมแพงเป็นจิตรกรคนแรกที่ทดลองการใช้สีน้ำมันแทนการใช้สีฝุ่นผสมเพื่อให้ได้สีที่สดขึ้นอันเป็นลักษณะของจิตรกรรมในสมัยนั้น แคมแพงใช้วิธี[[การเขียนแบบทัศนียภาพ]]ในการทำให้แบบมีลักษณะเป็นสามมิติมากขึ้นโดยการใช้แสงและเงาช่วยในการจัดองค์ประกอบที่เป็นทัศนียภาพที่ซับซ้อน ประเด็นหนึ่งที่ยังเป็นที่ถกเถียงกันคือการใช้สัญลักษณ์ซับซ้อนที่ยอมรับกันว่าใช้ในงานของฟาน เอคก็ใช้ในงานของแคมแพงด้วย
 
นักประวัติศาสตร์ศิลปะได้พยายามที่จะสืบหาต้นตอของศิลปเรอเนซองส์ทางตอนเหนือของยุโรปแต่ก็มีหลักฐานทางตอนเหนือของอิตาลี และเข้าใจกันเป็นเวลานานว่า[[ยาน ฟาน เอค]]เป็นจิตรกรคนแรกที่ใช้วิธีเขียนแบบใหม่ซึ่งเห็นได้จากหนังสือวิจิตรในการเขียนภาพบนแผ่นไม้ เมื่อมาถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 จึงเป็นที่เห็นได้ชัดว่าฟาน เอคเป็นจิตรกรร่วมสมัยกับผู้เขียนภาพที่รวมทั้ง “[[ฉากแท่นบูชาเมโรด]]เมโรด์” (Mérode Altarpiece) ซึ่งเขียนเมื่อ ค.ศ. 1428 ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่[[พิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตัน]], [[นครนิวยอร์ก]], [[สหรัฐอเมริกา]] เป็นฉากแท่นบูชาที่เต็มไปด้วยรายละเอียดและความเหมือนจริง อึกสามแผ่นภาพก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน ว่ากันว่ามาจากแอบบีเฟลมาล (Flémalle) แต่ความจริงแล้วแอบบีเฟลมาลไม่มีจริง ปัจจุบันแผ่นภาพทั้งสามอยู่ที่[[แฟรงค์เฟิร์ต]] เป็นที่ถกเถียงกันว่างานเหล่านี้เป็นของ “ครูบาแห่งเฟลมาล” ซึ่งในขณะนั้นไม่สามารถบอกได้เป็นที่แน่นอนว่าใครคือผู้วาดที่แท้จริง
 
ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 นักวิชาการหลายท่านให้ความเห็นว่า “ครูบาแห่งเฟลมาล” เป็นใครไปไม่ได้นอกจาก โรแบร์ต แคมแพง ที่มีหลักฐานว่าเป็นครูบาจิตรกรที่ทอร์เนจากปี ค.ศ. 1406 ข้อโต้แย้งมาจากเอกสารที่กล่าวถึงลูกศิษย์สองคนที่แคมแพงรับไว้ที่สติวดิโอในปี ค.ศ. 1427 - [[ยาร์ค ดาเรท์]] (Jacques Daret) และ โรเจเลท์ เดอลา พาสเจอร์ (Rogelet de la Pasture) ชื่อหลังอาจจะเป็นคนเดียวกับ [[โรเจียร์ ฟาน เดอร์ เวย์เด็น]] (Rogier van der Weyden) เพราะชื่อทั้งสอง, ชื่อแรกเป็นภาษาฝรั่งเศสและอีกชื่อหนึ่งภาษาดัทช์ หมายความว่า “ทุ่ง” ในภาษาอังกฤษ งานเขียนฉากแท่นบูชาชิ้นหนึ่งของดาเรท์มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับงานเขียนของ “ครูบาแห่งเฟลมาล” และ งานสมัยแรกๆ ของแคมแพงเป็นอย่างมาก ฉะนั้นจึงน่าจะกล่าวได้ว่าทั้งสองคนเป็นลูกศิษย์ของ“ครูบาแห่งเฟลมาล” หรือ โรแบร์ต แคมแพง ข้อสันนิษฐานอีกข้อคือบานพับภาพเฟลมาลเขียนโดยโรเจียร์ ฟาน เดอร์ เวย์เด็นเมื่อยังอายุในระหว่างยี่สิบปีกว่าๆ นักวิชาการบางท่านกล่าวว่างาน “[[ชะลอร่างจากกางเขน]]” ที่พิพิธภัณฑ์ปราโดเขียนโดยโรแบร์ต แคมแพง มิใช่โรเจียร์ ฟาน เดอร์ เวย์เด็น