ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โคกินวากาชู"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Genji1000nenki (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Genji1000nenki (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''โคะคินวะกะชู''' (古今和歌集 , The Kokin Wakashū ) เรียกกันสั้นๆว่า ''โคะคินชู'' (古今集 , Kokinshū )ชื่อ หมายถึง ประชุมบทร้อยกรองแบบญี่ปุ่นตั้งแต่โบราณถึงปัจจุบัน เป็นหนังสือนประชุมบทร้อยกรองแบบวะกะ ที่จัดทำโดยสำนักพระราชวังในต้นยุคเฮอัน โดยพระราชดำริของจักรพรรรดิอุดะ ( Emperor Uda ค.ศ. 887–897) และจัดทำโดยพระราชรับสั่งของจักรพรรดิไดโกะ (Emperor Daigo ค.ศ 897–930) ราชโอรส ราวปี ค.ศ. 905 และสำเร็จในปี ค.ศ. 920 มีหลักฐานว่า ร้อยกรองบทสุดท้ายได้ถูกรวบรวมเข้าไปในราวปี ค.ศ. 914 ผู้รวมรวมเป็นกวีในราชสำนัก 4 คน นำโดย [[คิ โนะ ซึระยุกิ]](Ki no Tsurayuki) , โอชิโคจิ มิตสึเนะ( Ōshikōchi Mitsune) ,มิบุ โนะ ทะดะมิเนะ (Mibu no Tadamine) รวมถึง คิ โนะ โทะโมะโนะริ ( Ki no Tomonori) ซึ่งเสียชีวิตก่อนที่จะรวบรวมประชุมบทร้อยกรองนี้เสร็จ
 
 
== ความสำคัญ ==
 
โคะคินชู เป็นประชุมร้อยกรองแบบญี่ปุ่น 21 ประเภท (二十一代集,Nijūichidaishūthe ) เล่มแรกที่รวบรวบขึ้นโดยพระราชประสงค์ของพระจักรพรรดิ และเป็นประชุมร้อยกรองที่แสดงถึงลักษณะของบทร้อยกรองแบบญี่ปุ่นในสมัยนั้นได้อย่างชัดเจน และกลายเป็นกฏของรบบการแต่งวะกะ หรือ บทร้อยกรองแบบญี่ปุ่นสืบต่อมาจนถึงปลายศตวรรษที่ 19 เป็นประชุมร้อยกรองเล่มแรกที่แบ่งบทกวีออกเป็นประเภท กวรตามฤดูกาล และ บทกวีที่เกียวกับความรัก บทกวีเกี่ยวกับฤดูกาลในโคะคินชู สร้างแรงบันดาลใจจนพัฒนาเป็นรูปแบบของการแต่ง กวีแบบ[[ไฮกุ]] ในปัจจุบัน
 
 
คำนำ ของ โคะคินชู ที่เขียนโดย [[คิ โนะ ซึระยุกิ]] นั้นยังเขียนด้วยภาษาญี่ปุ่น ซึ่งแตกต่างจากหนังสือเล่มในยุกนั้นที่มักจะมีการเขียนคำนำเป็นภาษาจีน และใน โคะคินชู นี้ยังมีคำนำภาษาจที่เขียนโดย คิ โนะ โทะโมโนะริ (Ki no Tomonori) ด้วย ความคิดในการราวใรวมบทร้อยกรองตั้งแต่ยุคอดีตถึงปัจจุบันนั้น ยังเป็นความคิดสร้างสรรคที่สำคัญ ร้อยรองในประชุมร้อยกรอง จึงมีความหลากหลายทั้งรูปแบบและการใช้ภาษา แสดงให้เห็นรูปแบบของการพัฒนาของการแต่งกวีแบบวะกะ