ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ราชวงศ์จิ้น"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
ใส่ลิงก์ข้ามภาษาด้วยบอต
บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
{{เก็บกวาด}}
{{ต้องการอ้างอิง}}
{{ประวัติศาสตร์จีน}}
'''ราชวงศ์จิ้น''' (คริสต์ศักราช 265 – คริสต์ศักราช 420) เป็นราชวงศ์หนึ่งของจีน
 
== จิ้นตะวันตก (คริสต์ศักราช 265 – 316) ==
=== ประวัติ ===
ซือหม่าเอี๋ยน ([[สุมาเอี๋ยน]]) ประกาศตั้ง [[ราชวงศ์จิ้นตะวันตก]] ขึ้นแทนที่ราชวงศ์วุ่ยของเฉาเชาหรือ[[โจโฉ]] เมื่อถึงปี 280 จิ้นตะวันตกปราบก๊กอู๋ลงได้ สภาพการแบ่งแยกอำนาจของ[[สามก๊ก]]ก็สลายตัวไป ทั้งแผ่นดินจีนรวมเป็นหนึ่งเดียวอีกครั้ง เกิดความสันติสุขขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง
 
ราชวงศ์จิ้นตะวันตกเป็นยุคสมัยที่กลุ่มตระกูลใหญ่ก้าวเข้ามาเป็นผู้มีอิทธิพลทางการเมืองอย่างสูง เนื่องจากนโยบายการปกครองของซือหม่าเอี๋ยนหรือ [[จิ้นอู่ตี้]] โน้มเอียงไปในทางเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มตระกูลชนชั้นสูง อีกทั้งกฎหมายยังให้สิทธิพิเศษต่อขุนนางเจ้าที่ดิน ในการจัดสรรการถือครองที่ดินและผลประโยชน์อื่น ๆ โดยอ้างอิงจากระดับชั้นตำแหน่งขุนนาง ระเบียบเหล่านี้ได้กลายเป็นเครื่องมือการเพาะสร้างอำนาจแบบเบ็ดเสร็จให้กับกลุ่มตระกูลใหญ่เหล่านี้ ทำให้เกิดการแบ่งแยกทางชนชั้นในสังคมครั้งใหญ่ เพราะเพื่อรักษาสิทธิพิเศษนี้ ถึงกับตั้งข้อรังเกียจไม่ยอมนั่งร่วมโต๊ะหรือแต่งงานข้ามสายเลือดกับตระกูลที่ไม่ได้รับสิทธิพิเศษ ทำให้ผู้อยู่นอกวงถึงแม้จะได้เข้ารับราชการก็จะยังคงถูกมองอย่างแปลกแยกและกีดกันไม่ให้ได้รับการเลื่อนขั้นในตำแหน่งสูงขึ้น
บรรทัด 22:
ในช่วงปลายของจราจล ‘8 อ๋องชิงบัลลังก์’ ขณะที่บรรดาเชื้อพระวงศ์ผู้นำของแต่ละกลุ่มต่างทยอยกันเสียชีวิตในการศึก หัวหน้าของชนเผ่าซงหนูหลิวหยวน ก็ประกาศตั้งตัวเป็นอิสระ โดยใช้ชื่อว่า[[ฮั่นกว๋อ]] ภายหลังหลิวหยวนสิ้นชีพลง บุครชายชื่อหลิวชง ยกกำลังเข้าบุกลั่วหยางนครหลวงของจิ้นตะวันตก จับ[[จิ้นหวยตี้]] เป็นตัวประกันและสำเร็จโทษในเวลาต่อมา โดยเชื้อพระวงศ์ทางนครฉางอันเมื่อทราบเรื่องก็ประกาศยกให้[[จิ้นหมิ่นตี้]] ขึ้นครองบัลลังก์สืบทอดราชวงศ์จิ้นต่อไปทันที ประชาชนที่หวาดเกรงภัยจากสงครามทางภาคเหนือ ต่างพากันอพยพลงใต้
 
จวบถึงปี 316 กองกำลังของชนเผ่าซ่งหนูบุกเข้านครฉางอันเมืองหลวงเก่าของราชวงศ์ฮั่นตะวันตก จับกุมจิ้นหมิ่นตี้ เพื่อรับโทษทัณฑ์ จิ้นตะวันตกจึงถึงกาลล่มสลายราชวงศ์จิ้นตะวันตกอยู่ในอำนาจรวม 51 ปี มีกษัตริย์เพียง 4 พระองค์ และเป็นราชวงศ์เดียวในยุคสมัยวุ่ยจิ้นเหนือใต้ (คริสต์ศักราช 220 – 589) ที่มีการปกครองแผ่นดินจีนเป็นหนึ่งเดียว
 
== จิ้นตะวันออก (คริสต์ศักราช 317 – 420) ==
บรรทัด 29:
ปีคริสต์ศักราช 316 เมื่อ [[จิ้นหมิ่นตี้]] ฮ่องเต้องค์สุดท้ายถูกชนเผ่าซ่งหนูจับเป็นเชลย ราชวงศ์จิ้นตะวันตกก็ถึงกาลอวสาน บรรดาขุนนางเก่าของราชวงศ์จิ้นที่ไม่ยอมรับในชะตากรรม ยังคงมีความเคลื่อนไหวเพื่อกอบกู้สถานการณ์อยู่ทุกหนแห่ง
 
ปีคริสต์ศักราช 317 ภายใต้การสนับสนุนจากเหล่าตระกูลชนชั้นสูงในจงหยวน (ที่ราบภาคกลางบริเวณลุ่มแม่น้ำฮวงโห) และเจียงหนัน (ดินแดนทางตอนใต้ของแม่น้ำฉางเจียงหรือแยงซีเกียง) [[ซือหม่ารุ่ย]] ซึ่งขณะนั้นมีตำแหน่งเป็นหลางหย่าหวัง จึงตั้งตัวขึ้นเป็นกษัตริย์ราชวงศ์จิ้นสืบต่อมา ทรงพระนามว่า [[จิ้นหยวนตี้]] และสถาปนาเมืองเจี้ยนคัง (เมืองหนันจิงมณฑลเจียงซูในปัจจุบัน) ขึ้นเป็นราชธานี ถือเป็นจุดเริ่มของจิ้นตะวันออกจิ้นตะวันออกถึงแม้จะย้ายเมืองหลวงมายังแดนเจียงหนันทางตอนใต้ของจีน แต่เนื่องจากยังคงมีการสืบราชบัลลังก์ต่อมา จึงคงมีความมุ่งหวังที่จะรวมแผ่นดินทางตอนเหนือกลับเข้ามาอีกครั้ง ตลอดยุคสมัยนี้ มีขุนศึกที่อาสายกทัพขึ้นเหนือหลายครั้ง จู่ถี้ปราบอุดรก็เป็นครั้งหนึ่งของความพยายามในการรวมประเทศ จู่ถี้แต่เดิมอยู่ในกลุ่มตระกูลใหญ่จากทางเหนือ ระยะแรกเมื่ออพยพลงสู่ใต้นั้น เนื่องจากยังมีสมัครพรรคพวกและประชาชนที่ภักดีอยู่ทางเหนือ จึงเห็นว่าการยกทัพขึ้นเหนือมีโอกาสประสบชัยอย่างมาก ดังนั้น ก่อนการประกาศก่อตั้งราชวงศ์จิ้นตะวันออก จึงขอการสนับสนุนจากซือหม่ารุ่ยหรือจิ้นหยวนตี้ในเวลาต่อมา เพื่อปราบกบฏฝ่ายเหนือ ซือหม่ารุ่ยแต่งตั้งจู่ถี้เป็นเจ้าเมืองอี้ว์โจวแล้วมอบเสบียงให้จำนวนหนึ่ง จู่ถี้นำกำลังข้ามแม่น้ำไป (เหนือใต้ของจีนกางกั้นด้วยแม่น้ำฉางเจียงหรือแยงซีเกียง) สะกดทัพของสือเล่ออีกทั้งเข้ายึดดินแดนส่วนหนึ่งของแม่น้ำหวงเหอหรือฮวงโหที่อยู่เหนือขึ้นไปไว้ได้
 
ขณะนั้นเอง ราชสำนักทางตอนใต้เกิดกบฏหวังตุนเป็นเหตุให้การยกทัพขึ้นเหนือของจู่ถี้ต้องหยุดชะงักไป จู่ถี้โกรธแค้นถึงกับล้มป่วยและเสียชีวิตลงในปี 321 จากนั้นสือเล่อเข้าโจมตีเอาดินแดนเหอหนานกลับคืนไปได้ แผนการรวมประเทศครั้งนี้จึงล้มเหลวลง การแก่งแย่งในราชสำนักแม้ว่าบ้านเมืองในสมัยราชสำนักจิ้นตะวันออกที่ได้รับการค้ำจุนจากบรรดากองกำลังของตระกูลใหญ่จากจิ้นตะวันตกจะมีการพัฒนาอยู่บ้าง แต่ทว่า ภายในนั้นกลับเต็มไปด้วยความขัดแย้ง จากการแย่งชิงอำนาจระหว่างกลุ่มเจ้าถิ่นที่มีอำนาจแต่เดิมกับกลุ่มอำนาจใหม่ที่โยกย้ายเข้ามา ซึ่งโดยมากฝ่ายตระกูลใหญ่จากจงหยวนเป็นผู้กุมอำนาจรัฐไว้ในมือ ส่วนกลุ่มผู้นำฝ่ายใต้ถูกกีดกันจากวิถีทางการเมือง นอกจากนี้ ยังมีการช่วงชิงระหว่างกลุ่มตระกูลใหญ่กับราชสำนัก หรือแม้แต่กลุ่มตระกูลฝ่ายเหนือด้วยกันเองก็มีการแย่งชิงที่ดุเดือดไม่แพ้กัน
บรรทัด 53:
=== บ้านเมืองไม่เป็นระบบ เหตุแห่งความล่มสลาย ===
 
ภายหลังการศึกที่เฝยสุ่ย ทำให้ฝ่ายเหนือแตกแยกกันอีกครั้ง ภาวะภัยคุกคามจากภายนอก (ราชวงศ์จิ้นตะวันออก) ผ่อนคลายลง ข้อขัดแย้งจากการแบ่งชนชั้นการปกครอง การแก่งแย่งอำนาจของชนชั้นสูงและการกดขี่ขูดรีดราษฎรทวีความรุนแรงขึ้นอีกครั้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการเกณฑ์แรงงาน
 
ในรัชสมัย[[จิ้นมู่ตี้]] ราษฎรถึงกับยอมเป็นคนพิการ เพราะเพื่อต้องการหลบเลี่ยงการเกณฑ์แรงงาน ชายหนุ่มไม่กล้าตบแต่งภรรยา เมื่อมีบุตรก็ไม่สามารถเลี้ยงดู ชาวนามากมายสิ้นเนื้อประดาตัว จำต้องละทิ้งถิ่นฐาน เพื่อหลบหนีการเกณฑ์แรงงาน หลังการศึกทีเฝยสุ่ย ทำให้อำนาจทางการเมืองของ [[เซี่ยอัน]] กล้าแข็งขึ้น สะกิดความระแวงของ [[จิ้นเขาอู่ตี้]] จึงหาทางลดอำนาจของเซี่ยอัน แล้วหันไปมอบอำนาจให้กับน้องชาย คือ [[ซือหม่าเต้าจื่อ]]
 
หลังจากที่เซี่ยอันเสียชีวิต ซือหม่าเต้าจื่อเข้ากุมอำนาจทางการทหารแต่ผู้เดียว เปิดศึกแย่งชิงอำนาจกับกลุ่มตระกูลใหญ่อีกครั้ง ภายหลังการหักล้างอย่างดุเดือด สภาพการณ์โดยรวมจึงกลายเป็น หวนเซวียน (บุตรชายของหวนเวิน) คุมกำลังบริเวณตอนกลางของแม่น้ำฉางเจียง หลิวเหลาคุมตอนล่างของแม่น้ำ ขณะที่เกาหย่าคุมลำน้ำหวยหนัน ขอบเขตที่ราชสำนักจิ้นสามารถควบคุมจึงเหลือเพียง 8 เมือง
 
ปีคริสต์ศักราช 399 [[ซือหม่าหยวนเสี่ยน]] สั่งระดมเกณฑ์ทหาร กลับเป็นเหตุให้เกิดจราจล กลุ่มลัทธิเต๋านิกายอู๋โต่วหมี่ได้ทำการก่อหวอดขึ้น กลุ่มแรงงานทาสและชาวนาที่อดอยากต่างก็พากันมาสมทบเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนหมื่นแสนอย่างรวดเร็ว พร้อมกันนั้นบรรดาเจ้าที่ดินจากแดนเจียงตงทั้ง 8 เมืองที่ประสบความเสียหายจากการเกณฑ์แรงงานครั้งนี้ ก็ฉวยโอกาสลุกฮือขึ้นเช่นเดียวกันราชสำนักจิ้นตะวันออกเห็นว่ากองกำลังเจียงตงแข็งกล้าขึ้น จึงยกกำลังทหารเข้าล้อมปราบ