ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เฮนรี อาลาบาศเตอร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 14:
นอกจากนี้ นายเฮนรี่ อลาบาสเตอร์ ได้ถวายคำแนะนำในการพัฒนาประเทศด้วยวิชาการสมัยใหม่หลายสาขา รวมทั้งวิชา[[การสำรวจรังวัด]] [[วิชาการทำแผนที่]]และวิชาการทำถนนซึ่งมีความจำเป็นมากในสมัยนั้น จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกองทำแผนที่ทดลองขึ้นใน พ.ศ. 2418 โดยมีนายเฮนรี อลาบาสเตอร์เป็นหัวหน้ากอง กัปตันลอฟตัสเป็นผู้ช่วย พร้อมกับคนไทย 4 คน (ม.ร.ว. แดง เทวาธิราช นายทัด ศิริสัมพันธ์ นายสุด และ ม.ร.ว. เฉลิม) โดยเริ่มด้วยการสำรวจทำแผนที่กรุงเทพฯ เพื่อตัด[[ถนนเจริญกรุง]]และถนนอื่นๆ รวมทั้งงานทำแผนที่เพื่อวางสาย[[โทรเลข]]ไปยัง[[พระตะบอง]] แผนที่บริเวณปากอ่าวสยาม เพื่อการเดินเรือและเพื่อเตรียมการป้องกันการรุกรานของข้าศึกที่อาจมาทางทะเล ต่อมา นายเฮนรี่ อลาบาสเตอร์ผู้ซึ่งมิได้เป็นผู้เชี่ยวชาญโดยตรงในงานแผนที่จึงได้ถวายคำแนะนำให้ว่าจ้างช่างสำรวจรังวัดและทำแผนที่โดยตรงคือ นาย[[เจมส์ เอฟ.แมคคาร์ธี]] ผู้ช่วยช่างทำแผนที่จาก กรมแผนที่แห่ง[[อินเดีย]] เข้ามารับราชการในกองทำแผนที่ตั้งแต่วันที่[[ 1 ตุลาคม]][[ พ.ศ. 2424]] (ขยายเป็นกรมทำแผนที่ในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2428)
 
===ผลงานสำคัญ===
 
ผลงานสำคัญของนายเฮนรี อาลาบาสบาศเตอร์พอสรุปโดยสังเขปได้ดังต่อไปนี้
* พ.ศ. 2417 ออกแบบและก่อสร้าง[[สวนสราญรมย์]] นำ[[กล้วยไม้]][[แคทลียา (พรรณไม้)|แคทลียา]] เข้ามาในประเทศไทย
* พ.ศ. 2417 นำ[[ล็อตเตอรี]] เข้ามาออกในประเทศไทยเป็นครั้งแรก เพื่อระดมทุนช่วยเหลือพ่อค้าต่างชาติที่นำสินค้ามาแสดงในการจัด[[พิพิธภัณฑ์]]ที่ตึกคองคาเดีย พระบรมมหาราชวัง โดยกรมทหารมหาดเล็กเป็นผู้รับผิดชอบ