ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ราชวงศ์จิ้น"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
2T (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
2T (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
{{เก็บกวาด}}
{{ประวัติศาสตร์จีน}}
'''ราชวงศ์จิ้นตะวันตก''' (คริสต์ศักราช 265 – 316)ปีคริสต์ศักราช 265420) เป็นราชวงศ์หนึ่งของจีน
 
==จิ้นตะวันตก (คริสต์ศักราช 265 – 316)==
===ประวัติ===
ซือหม่าเอี๋ยน([[สุมาเอี๋ยน]])ประกาศตั้ง [[ราชวงศ์จิ้นตะวันตก]] ขึ้นแทนที่ราชวงศ์วุ่ยของเฉาเชาหรือ[[โจโฉ]] เมื่อถึงปี 280 จิ้นตะวันตกปราบก๊กอู๋ลงได้ สภาพการแบ่งแยกอำนาจของ[[สามก๊ก]]ก็สลายตัวไป ทั้งแผ่นดินจีนรวมเป็นหนึ่งเดียวอีกครั้ง เกิดความสันติสุขขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง
 
เส้น 44 ⟶ 45:
ปี 347 ยกทัพปราบแคว้นสู (มณฑลเสฉวนในปัจจุบัน) จากนั้นอาสาบุกขึ้นเหนือเพื่อขยายอำนาจของตน ทำให้ราชสำนักจิ้นหวาดระแวง ต่อมาแม้ว่าภายหลังหวนเวินบุกขึ้นเหนือ 3 ครั้ง รุกคืบแล้วถูกตีกลับคืน สุดท้ายยังคงไม่อาจสำเร็จกิจการใหญ่
 
=== การศึกที่ลำน้ำเฝยสุ่ย ===
 
แม้ว่า[[หวนเวิน]]ล้มเหลวในการยกทัพขึ้นเหนือ แต่ยังคงสามารถยึดครองอำนาจทางการเมืองไว้ได้ จวบจนปี 373 หวนเวินล้มป่วยเสียชีวิต [[เซี่ยอัน]]ซึ่งมาจากกลุ่มทายาทตระกูลใหญ่ จึงเริ่มมีบทบาทสำคัญในการบริหารบ้านเมือง เซี่ยอันใช้การถ่วงดุลอำนาจและประสานผลประโยชน์ของทุกฝ่าย ช่วยลดการกระทบกระทั่งของหลายฝ่ายลงได้ จึงทำให้ได้รับการสนับสนุนจากราชสำนัก และได้รับการยกย่องอย่างสูง ในช่วงเวลาดังกล่าวจิ้นตะวันออกจึงมีความสงบสุขในชั่วระยะเวลาหนึ่ง
เส้น 50 ⟶ 51:
ปี 382 [[ฝูเจียน]] ผู้นำแคว้นเฉียนฉิน ทางตอนเหนือ มีกำลังกล้าแข็งขึ้น จึงเรียกระดมกำลังพลครั้งใหญ่บุกลงมาทางใต้ เพื่อหวังรวมแผ่นดินเป็นหนึ่งอีกครั้ง ขณะที่ทัพของฝูเจียนเต็มไปด้วยความฮึกเหิมลำพอง จิ้นตะวันออกก็เตรียมรับมือไว้พร้อมสรรพ สองทัพตั้งประจันกันที่สองฝั่งลำน้ำเฝยสุ่ย และด้วยการประสานของเซี่ยอัน เหล่านายทัพจากกลุ่มตระกูลใหญ่ร่วมมือประสานเสริม จนในที่สุดโจมตีทัพใหญ่ของฝูเจี้ยนแตกพ่ายกลับไป ชัยชนะของฝ่ายใต้ครั้งนี้ ทำให้แผนการรวมประเทศต้องล้มพับไปอีกครั้ง ทางตอนใต้รอดพ้นจากภัยพิบัติครั้งใหญ่ เศรษฐกิจและสังคมได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องอีกช่วงหนึ่ง อันเป็นปัจจัยสำคัญสู่การต่อสู้ยึดเยื้อในสงครามแย่งชิงดินแดนที่แบ่งเป็นเหนือใต้ตั้งประจันกันในเวลาต่อมา
 
=== บ้านเมืองไม่เป็นระบบ เหตุแห่งความล่มสลาย ===
 
ภายหลังการศึกที่เฝยสุ่ย ทำให้ฝ่ายเหนือแตกแยกกันอีกครั้ง ภาวะภัยคุกคามจากภายนอก(ราชวงศ์จิ้นตะวันออก) ผ่อนคลายลง ข้อขัดแย้งจากการแบ่งชนชั้นการปกครอง การแก่งแย่งอำนาจของชนชั้นสูงและการกดขี่ขูดรีดราษฎรทวีความรุนแรงขึ้นอีกครั้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการเกณฑ์แรงงาน
เส้น 70 ⟶ 71:
 
{{ราชวงศ์จีน}}
[[en:Jin Dynasty (265–420)]]