ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บ้านลอมกลาง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 65:
'''“...เจ้าผู้ครองนครเมืองน่านจัดการเขตแดน ทำสงครามยุทธนาการมีชัยจับตัวเจ้าเมืองเชียงแขง ณ ที่บ้านยู้ เมืองหลวย ได้กวาดคนครอบครัวลงมาไว้ยังนคร-เมืองน่าน...และยังได้กวาดครอบครัวในหัวเมืองขึ้นเมืองเชียงแขงที่ใกล้เคียง คือ เมืองแฮะ เมืองหลวย เมืองวะ เมืองขัน เมืองเชียงขาง เมืองสิง เมืองนัง เมืองกาง เมืองลอง เมือง-ลาบ มาไว้ที่เมืองน่านด้วย...”'''
 
ก่อตั้งหมู่บ้านนั้นเกิดเริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ 2345 ในครั้งนั้นเกิดวิกฤติ ยุคเก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมือง หลังจากสงครามใน[[สิบสองปันนา]]สงบลง เจ้าอัตถวรปัญโญ ได้เดินทางกลับมาถึงเมืองน่าน ครั้นกลับมาถึงเมืองน่านได้เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ที่เมืองย่าง (ตำบลศิลาเพชร ในปัจจุบัน) และเมืองยม (ตำบลยม ตำบลจอมพระในปัจจุบัน)อีกทั้งผู้คนได้ล้มตายเป็นจำนวนมาก เมืองยมแทบไม่เหลือผู้คนอยู่ อีกทั้งแสนปั๋น เจ้าเมืองย่างได้เสียชีวิต ทำให้ตำแหน่งเจ้าเมืองย่าง ว่างลง ครั้นนั้นเจ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่าน จึงได้เดินทางมาตรวจดูสถานการณ์น้ำท่วม และพิจารณาโปรดให้อพยพ ชาวไทลื้อที่ติดตามมาจากเมืองยอง เมืองเชียงลาบ เมืองเชียงแขง เมืองยู้ เข้ามาตั้งบ้านเรือนที่ริมแม่น้ำย่าง และแม่น้ำบั่ว เขตเมืองยม ส่วนของลูกหลานของพญา[[เชียงลาบ]] จำนวน 5 ครอบครัว ได้ขอตั้งบ้านเรือน บริเวณฝั่งทิศเหนือของลุ่มลำน้ำบั่วบริเวณใกล้กับวัดร้าง โดยทางการให้จัดการปกครองหมู่บ้านให้ขึ้นกับบ้าน[[เชียงยืน]]ชึ่งเป็นชาว[[ไทยเขิน]]โดยมี'''พ่อแสนปัญญา'''ชาวไทเขินเป็นผู้ปกครองชุมชนทำหน้าที่ปกครองหมู่บ้าน จำนวน 3 หมู่บ้าน แต่ในด้านศาสนกิจ นั้นชาวบ้านน้ำบั่วป่ากล้วยได้ปฏิบัติร่วมกับบ้านทุ่งฆ้อง ซึ่งเป็นชาวไทลื้อด้วยกันและมีวัดตั้งวัดอยู่บริเวณลุ่มน้ำย่าง โดยมีครูบาธรรมชัย เป็นผู้สร้าง และเป็นเจ้าอาวาส ส่วนพระประธานนั้นพระนางตุมมา (ปทุมมา)เป็นผู้สร้าง บริเวณฝั่งขวาที่เป็นเนินสูงนั้นที่ชาวบ้านเรียกว่าสันจ้าง (สันช้าง) มีพระธาตุเก่าแก่อยู่ เรียกว่า'''พระธาตุจอมพริกตั้งอยู่''' และมีต้นพริกสูงใหญ่ อายุหลายร้อยปี ปลูกทิ้งไว้ด้านข้างกับพระธาตุจอมพริก
 
ครั้นตั้งหมู่บ้านนั้น ชาวไทลื้อเมืองเชียงลาบล้วนแต่เป็นลูกหลานพญาเชียงลาบจึงได้อัญเชิญผีบรรพบุรุษ และผีเจ้าเมืองเชียงลาบ และผีนักรบต่าง ๆ ของเมือง[[เชียงลาบ]] ให้มาสถิตย์อยู่ที่ศาลประจำหมู่บ้านบริเวณฝั่งด้านตะวันออกเฉียงใต้ ของหมู่บ้านติดฝั่งลำน้ำบั่ว และมีพิธีบวงสรวงทุกเดือนสี่ เดือนแปด ตามปฏิทินไทลื้อ และในหมู่บ้านยังมีการทำพิธีทรงผีเจ้าหลวงเชียงลาบ ปัจจุบันพิธีกรรมบางส่วนได้สูญหายไปแล้ว
 
ราวปี 2490 จากคำบอกเล่าของแก่ในหมู่บ้านลักษณะของชุมชนบ้านน้ำบั่วป่ากล้วย ซึ่งตั้งบ้านเรือนริมสองฝั่งน้ำบั่ว ปัจจุบันคือบริเวณ สะพานน้ำบั่วทางไปบ้านนานิคม ทิศเหนือมีจำนวน 11 หลังคาเรือนติด ๆ กัน และทิศใต้ของน้ำบั่วมี 4-5 หลังคาเรือน รอบ ๆ หมู่บ้านมีแต่ป่า เต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่ และ ด้านทิศตะวันออกของหมู่บ้าน ระหว่างบ้านน้ำบั่วป่ากล้วย กับบ้านเชียงยืน มีป่ากระท้อน และป่าขนุนเป็นจำนวนมาก อีกทั้งมีซากวัดร้าง สองถึงสามวัด ติด ๆ กัน บริเวณวัดร้างมีเครื่องเคลือบลายคราม และเครื่องปั้นดินเผาเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันยังมีให้เห็นอยู่เป็นจำนวนมาก บริเวณสวนมะขามของพ่อหนานสมบุรณ์ คำแสน
 
ชุมชนบ้านน้ำบั่วป่ากล้วยในสมัยนั้นยังเป็นชุมชนแบบหมู่บ้านป่า สังคมแบบเครือญาติ โดยการปกครองแบบพี่น้องกันเองพ่อปกครองลูก เพราะในหมู่บ้านล้วนเกี่ยวพันด้านสายเลือดเดียวกันหมด โดยผู้ที่อาวุโสสูงสุดในหมู่บ้านจะเป็นผู้ปกครอง พึ่งพาตนเองเป็นหลัก นาน ๆ ถึงจะมีการติดต่อกับทางการสักที โดยผ่านหมู่บ้านเชียงยืน อีกทั้งในหมู่บ้านนั้นเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ทางการจึงมิได้แต่งตั้งใครในหมู่บ้านเป็นหัวหน้าในการปกครอง จนถึงสมัยของพ่อหนานประสงค์ สุยะตา จึงได้แต่งตั้งนายหนานเลิศ สุภาแก้ว เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านเชียงยืน ทำหน้าที่ปกครองหมู่บ้านน้ำบั่วป่ากล้วย
 
ราวปี พ.ศ. 2500 นายสมบูรณ์ คำแสน ได้ไปเลี้ยงวัว บริเวณนาฮั้ง หัวบ้านสบบั่ว ได้เห็นรถของทางการได้ตัดถนนผ่าน จึงได้ไปสอบถาม และได้รับคำตอบว่า ทางการกำลังจะนำความเจริญมาสู่ที่นี่ จึงเกิดความคิดที่จะย้ายบ้านมาอยู่ที่นี่ และได้ตัดสินใจซื้อที่นาบริเวณนาลอมกลาง ซึ่งเป็นนาฮั้ง ทำนาไม่ได้ผลจากเจ้าของที่เดิมในราคา 50 บาท แล้วจึงย้ายบ้านจากบ้านน้ำบั่วป่ากล้วย ไปปลูกบ้านใหม่ในบริเวณดังกล่าวเพื่อปลูกผักปลูกไม้ไว้กิน
 
ปี พ.ศ. 2503 นายรัตน์ เขยตุ้ย ได้ย้ายบ้านจากบ้านน้ำบั่วป่ากล้วยตามมาอยู่ที่นาลอมกลางกับ หลังจากนั้นก็มี นายศรีนวล ขันทะตันตามมา หลังจากนั้นไม่นานพ่อหลวงน้อยคำ ไชยปรุง ได้ซื้อที่ดินบริเวณนาลอมกลาง ได้เป็นจำนวนมาก จึงได้ย้ายบ้านจากบ้านน้ำบั่วป่ากล้วยมาตั้งที่นาลอมกลางในตอนสาย พร้อมกับประกาศบอกชาวบ้านทั้งหมู่บ้านน้ำบั่วป่ากล้วยทุกหลังคาเรือนย้ายให้ย้ายบ้านเรือน ไปตั้งหมู่บ้านใหม่ที่นาลอมกลางโดยจะจัดสรรที่ดินให้ชาวบ้านทุกหลังคาอยู่ ต่อมาทางราชการประกาศจัดตั้งหมู่บ้านลอมกลาง
 
ปี พ.ศ. 2516 พ่อหลวงน้อยคำ ไชยปรุง ได้ซื้อที่ดินบริเวณนาลอมกลาง ได้เป็นจำนวนมาก จึงได้ย้ายบ้านจากบ้านน้ำบั่วป่ากล้วยมาตั้งที่นาลอมกลางในตอนสาย พร้อมกับประกาศบอกลูกหลานทั้งหมู่บ้านน้ำบั่วป่ากล้วยทุกหลังคาเรือนย้ายให้ย้ายบ้านเรือน ไปตั้งหมู่บ้านใหม่ที่นาลอมกลางโดยจะจัดสรรที่ดินให้ลูกหลานทุกหลังคาเรือน ในครั้งนั้นชาวบ้านให้นายสมบูรณ์ คำแสนเป็นหัวหน้าปกครองหมู่บ้านลอมกลาง
ปี พ.ศ. 2522 สมัยของ นายพยูร มีทองคำ เป็นนายอำเภอท่าวังผา ได้แจ้งประกาศจากทางราชการ ให้หมู่บ้านลอมกลาง มีผู้ใหญ่บ้านปกครองหมู่บ้านได้โดยผู้ที่ได้รับเลือกคือ นายสายคำ เขยตุ้ย
 
ปี พ.ศ. 2522 สมัยของ นายพยูร มีทองคำ เป็นนายอำเภอท่าวังผา ได้แจ้งประกาศจากทางราชการ ให้ตั้งหมู่บ้านลอมกลาง แยกออกจาหมู่บ้านเชียงยืนโดยให้มีผู้ใหญ่บ้านปกครองหมู่บ้านได้โดยผู้ที่ตรง ในครั้งนั้นชาวบ้านลอมกลางได้รับยกมือเลือกคือ นายสายคำ เขยตุ้ย เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก
 
ปี พ.ศ. 2526 สมัยนายวิเชียร ไชยปรุง ชาวบ้านลอมกลางทะเลาะกับบ้านทุ่งฆ้อง จึงประกาศขอแยกวัดทุ่งฆ้อง มาสร้างวัดใหม่ในสวนมะม่วง ของพ่อหลวงน้อยคำ ไชยปรุง พร้อมกับนิมนต์สามเณรที่เป็นลูกหลานคนในหมู่บ้านลอมกลาง ให้ย้ายมาอยู่อารามชั่วคราวบ้านลอมกลาง โดยสร้างเป็นอารามชั่วคราว ชื่อว่า อารามลอมกลาง โดย มีหลวงพ่อผัด ขฺนติพโล เป็นเจ้าอารามรูปแรก