ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาวะถ่ายโอนแบบไม่ประสานเวลา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nallimbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต แก้ไข: he:Asynchronous Transfer Mode
Manop (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
{{รอการตรวจสอบ}}
{{ชื่ออังกฤษ}}
 
'''Asynchronous Transfer Mode''' หรือ ชื่อย่อ '''ATM''' เป็นเครือข่ายสื่อสาร ที่ใช้[[โพรโทคอล]]ชื่อเดียวกันคือ ATM เป็นมาตรฐานการส่งข้อมูลความเร็วสูง โดย ATM ถูกพัฒนามาเพื่อให้ใช้กับงานที่มีลักษณะ ข้อมูลหลายรูปแบบและต้องการความเร็วในการส่งข้อมูลสูงมากๆ มีความเร็วในการส่งข้อมูลได้ตั้งแต่ 2 [[Mbps]] ไปจนถึงระดับ [[Gbps]] สื่อที่ใช้ในเครือข่ายมีได้ตั้งแต่[[สายโคแอกเชียล]] [[สายไฟเบอร์ออปติค]] หรือ[[สายไขว้คู่]] (Twisted pair) โดย ATM นั้นถูกพัฒนามาจากเครือข่าย[[แพ็กเก็ตสวิตซ์]] (packet switched) ซึ่งจะแบ่งข้อมูลที่จะส่งออกเป็นหน่วยย่อยๆ เรียกว่า[[แพ็กเก็ต]] (packet) ที่มีขนาดเล็กและคงที่แล้วจึงส่งแต่ละแพ็กเก็ตออกไป แล้วนำมาประกอบรวมกันเป็นข้อมูลเดิมอีกครั้งที่ปลายทาง ข้อดีของ ATM คือสามารถใช้กับข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ภาพเคลื่อนไหว, ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือเสียง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความเร็วของข้อมูลสูง และยังมีการรับประกันคุณภาพของการส่ง เนื่องจากมี [[Quality of Service]] (QoS)
 
เส้น 12 ⟶ 14:
 
กลไกการส่งข้อมูลของ ATM มีรูปแบบในการรับส่ง คือ สถานีส่งและสถานีรับจะมีการสร้างเส้นทางเสมือน (Virtual Path) สำหรับข้อมูลก่อนที่จะทำการส่ง สวิตซ์ที่อยู่ในเส้นทางเสมือนจะมีหน้าที่ส่งแพ็ตเก็ตต่อกันเป็นทอดๆ โดยใช้ข้อมูลในส่วนหัว
 
 
=== การเชื่อมต่อเสมือน ===
 
 
 
การเชื่อมเตื่อเสมือน(Virtual Connection)ที่สามารถสร้างในเครือข่าย ATM มี 2 ประเภท คือ
เส้น 24 ⟶ 23:
 
'''วงจรเสมือน(Virtual Circuit)''' คือ การเชื่อมต่อเสมือน (Logical Connection) ระหว่างสองสถานีใดๆ ในเครือข่ายสวิตซ์ สถานีจะสื่อสารกันโดยการส่งผ่านเซลลข้อมูล โดยผ่านวงจรเสมือนนี้ ส่วน'''เส้นทางเสมือน (Virtual Path)''' เป็นกลุ่มของวงจรเสมือน การจัดวงจรเสมือนให้เป็นกลุ่มนั้นจะมีผลดีต่อการจัดการวงจรเสมือนที่อาจมีหลายวงจรในเวลาเดียวกัน หรือจะเป็นการง่ายกว่าที่จัดการวงจรเสมือนเป็นกลุ่มแทนที่จะแยกกัน
 
[[ภาพ:atm_virtual_connection.jpg]]
 
ในแต่ละเซลล์ของATM จะมีข้อมูลเกี่ยวกับเส้นทางเสมือน หรือVPI(Virtual Path Information) และข้อมูลเกี่ยวกับวงจรเสมือน หรือVCI(Virtual Circuit Information) สวิตซ์จะใช้ข้อมูลนี้ในการส่งต่อเซลล์ไปยังอุปกรณ์ที่เหมาะสมต่อไป การที่สวิตซ์จะทำงานอย่างนี้ได้ในสวิตซ์จะต้องมีตารางการจัดเส้นทาง(Switch Table) ข้อมูลที่อยู่ในตารางจะเป็นการจับคู่กันระหว่าง VPI,VCI และอินเตอร์เฟสของสวิตซ์นั้นๆ
เส้น 33 ⟶ 30:
 
* การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด(Point-to-point Connection)
 
* การเชื่อมต่อแบบจุดเดียวไปหลายจุด(Point-to-Multipoint Connection)
 
เส้น 39 ⟶ 35:
 
== อุปกรณ์ในเครือข่ายATM ==
 
 
อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบเครือข่าย ATM นั้นมีเพียงสวิตซ์เท่านั้น ที่เรียกว่า ATM สวิตซ์นั่นเอง เครือข่าย ATM ใช้โทโปโลยีแบบ star โดยมี ATM สวิตซ์เป็นศูนย์กลาง สำหรับเครือข่ายATM เน็ตเวิร์คการ์ดจะเรียกว่า UNI(User-to-Network Interface) ส่วนอินเตอร์เฟสที่เชื่อมต่อระหว่างสวิตซ์จะเรียกว่า NNI(Network-to-Network Interface)
 
[[ภาพ:atmswitch.jpg]]
 
== สถาปัตยกรรมของเครือข่ายแบบ ATM ==
เส้น 50 ⟶ 43:
 
* '''Control Plane'''
 
* '''User Plane'''
 
* '''Management Plane'''
 
[[ภาพ:atmModel.gif]]
 
ATM นั้นจะทำงานในเลเยอร์ที่ 1 และ 2 ของ OSI MODEL ส่วนโพรโทคอลที่อยู่เหนือขึ้นไปจะเป็นโพรโทคอลมาตรฐานทั่ว ๆ ไป สำหรับโพรโทคอล ATM จะแบ่งเป็นเลเยอร์บน และเลเยอร์ล่าง ซึ่งเลเยอร์บนจะมีในส่วนของ User Plane และ Control Plane , User Plane จะรับผิดชอบในการให้บริการเกี่ยวกับการรับส่งข้อมูลระหว่างสถานีส่งและสถานีรับ ส่วน Control Plane จะรับผิดชอบเกี่ยวกับสัญญาณ (Signal)
เส้น 104 ⟶ 93:
 
ในแต่ละ ELAN จะต้องมีการบริการที่เรียกว่า LES(LAN Emulation Service) ซึ่งจะอยู่ในตัวสวิตซ์เองหรือไคลเอนท์ก็ได้ และต้องมีเซิร์ฟเวอร์ LECS(LAN Emulation Configuration Server) ที่ทำหน้าที่กำหนดค่าต่าง ๆ และเซิร์ฟเวอร์ที่ทำหน้าที่บรอดคาสต์และจัดการเกี่ยวกับไคลเอนท์ที่ไม่ทราบ หรือ BUS(Broadcast and Unknown Server) นอกจากนี้ยังมีการเชื่อมต่อเสมือนระหว่างสถานีส่งและสถานีรับซึ่งจะเรียกว่า "VCC (Virtual Channel Connection)
 
[[ภาพ:การเชื่อมต่อethernetและatm.jpg]]
 
จุดประสงค์ของการพัฒนาเครือข่าย ATM ในตอนแรกนั้นเพื่อให้เป็นทั้งเทคโนโลยี LAN และ WAN ที่สามารถถ่ายโอนข้อมูลด้วยแบนด์วิธสูง การเดินทางของข้อมูลผ่านเครือข่ายที่เร็ว (Low Latency) แต่การยอมรับในตลาดยังน้อยมากเมื่อเทียบกับเครือข่ายอีเธอร์เน็ต เหตุผลหนึ่งที่ผู้ใช้ไม่อยากเปลี่ยนมาใช้ ATM ก็เนื่องจากในช่วงนั้น ผู้ใช้ส่วนใหญ่มีเครือข่ายเก่าที่เป็นแบบอีเธอร์เน็ตอยู่แล้ว การที่จะเปลี่ยนเทคโนโลยีก็จะต้องมีค่าใช้จ่ายสูงพอสมควร ดังนั้นส่วนใหญ่จึงตัดสินใจใช้เทคโนโลยีที่ใช้อยู่แล้ว
 
 
[[หมวดหมู่:ระบบเครือข่าย]]