ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จอห์น บราวน์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Binxie (คุย | ส่วนร่วม)
แปลเพิ่มเติมบทความ John Brown จาก วิกิภาษาอังกฤษ
Binxie (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 17:
นายบราวน์เริ่มเป็นที่รู้จักทั่วไปเมื่อเขานำกลุ่มอาสาสมัครกลุ่มเล็กจำนวนหนึ่งเข้ากระทำการสังหารหมู่ที่ บลีดดิ้ง มลรัฐแคนซัส เขาแตกต่างไปจากชาวเหนืออื่นๆ ซึ่งในขณะนั้นเพียงแค่ต่อต้าน กลุ่มนิยมการมีทาสอย่างสงบ นายบราวน์เรียกร้องให้ใช้ความรุนแรง เพื่อตอบโต้กลุ่มนิยมการมีทาสในทางใต้ของอเมริกา และเนื่องจากความไม่พอใจต่อแนวทางสันติของกลุ่มสนับสนุนการเลิกทาสในขณะนั้น มีคนได้ยินเขาประกาศว่า "คนพวกนี้ดีแต่พูด สิ่งที่เราต้องคือการกระทำจริงๆ - ทำจริงๆ!" <ref>Rhodes, James Ford (1892). History of the United States from the Compromise of 1850. Original from Harvard University: Harper & Brothers. pp. 385.</ref> และที่แคนซัสนี้เอง นายบราวน์และพวกได้ฆ่ากลุ่มชาวใต้ที่นิยมการมีทาส ที่เป็นที่รู้จักกันในชื่อ การสังหารหมู่พอตตาวาโทมี่ ในเดือน พฤษภาคม 2399 เพื่อตอบโต้การโจมตีโรงแรมและหนังสือพิมพ์ของพวกนิยมการมีทาสที่ เมือง ลอว์เรนซ์ ซึ่งเป็นเมืองศูนย์กลางอุดมการณ์เลิกทาสในขณะนั้น และต่อมาในปี 2402 นายบราวน์ได้นำพวกเข้าบุกคลังแสง ที่ฮาร์เปอร์ เฟอรรี่ มลรัฐ เวอร์จิเนีย ที่เป็นที่รู้จักกันในปัจจุบันว่าคือ เวสต์เวอร์จิเนีย (West Virginia)นั่นเอง ในการโจมตีครั้งนี้ เขาได้ยึดอาวุธของรัฐบาล คน 7 คนซึ่งรวมถึงคนดำที่เป็นไท 1 คนด้วย เสียชีวิต และมีผู้บาดเจ็บอย่างน้อย ๆ 10 คน
อย่างไรก็ตาม การบุกโจมตีครั้งนี้ประสบความล้มเหลว ภายในเวลา 36 ชั่วโมง คนของนายบราวน์ได้หลบหนี ถูกฆ่า หรือถูกจับโดยชาวไร่ท้องถิ่น ทหารอาสา และนาวิกโยธินสหรัฐ ภายใต้การนำของนาย โรเบิร์ต อี ลี สุดท้ายนายบราวน์โดนจับโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ ถูกนำไปขึ้นศาลในข้อหากบฏต่อรัฐเวอร์จิเนีย และได้รับโทษแขวนคอที่เมือง ชาร์ลสทาวน์ มลรัฐเวอร์จิเนีย ซึ่งเหตุการณ์นี้ถือเป็นตัวเร่งที่สำคัญที่ทำให้เกิดสงครามกลางเมืองใน 16 เดือนถัดมา
 
ช่วงเวลาที่นายบราวน์โดนแขวนคอสำหรับความพยายามก่อการกบฏเลิกทาสในปี 2402 โบสถ์ได้ตีระฆัง มีการยิงปืนใหญ่สดุดีเกียรติ และมีพิธีรำลึกถึงเขาทั่วเขตเหนือของประเทศ นักเขียนชื่อดัง เช่น อีเมอร์สัน และ ธอร์โรได้ร่วมกับชาวเหนือจำนวนมากในการสดุดีนายบราวน์ <ref>David Potter, The Impending Crisis, pages 378-379</ref>