ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
KungDekZa (คุย | ส่วนร่วม)
แก้กล่อง
KungDekZa (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มข้อมูลและเปลี่ยนรูปแบบ
บรรทัด 1:
{{เรซูเม}}
{{กล่องข้อมูล นักการเมือง
| name = นายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช
เส้น 25 ⟶ 24:
}}
 
'''นายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช''' (เกิด [[5 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2497]]) อดีต[[รองนายกรัฐมนตรี]] อดีต[[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน]] และอดีต[[เลขาธิการนายกรัฐมนตรี]] ใน[[รัฐบาล]]ของ [[ทักษิณ ชินวัตร|พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร]]
 
== ประวัติ ==
นายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช หรือที่รู้จักกันในชื่อเล่นว่า "'''หมอมิ้ง'''" เกิดเมื่อวันที่ [[5 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2497]] ในสมัยเป็นนักเรียน นายแพทย์พรหมินทร์ได้เข้าร่วม[[กลุ่มยุวชนสยาม]] เคยทำงานในตำแหน่งประธาน[[นักเรียน]][[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]] เมื่อจบชั้น ม.ศ. 5 สอบได้เป็นอันดับที่ 6 ของ[[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]] และเป็นอันดับที่ 30 ของประเทศ
 
ในปี [[พ.ศ. 2515]] ขณะที่กำลังศึกษาอยู่ที่[[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]] นายแพทย์พรหมินทร์ได้รับเลือกให้เป็นประธาน[[นักเรียน]]<ref>[http://www.osknetwork.com/modules.php?name=News&file=print&sid=440 OSKNetwork ย้อนรอยอดีตสู่ปัจจุบัน: ลูกสวนฯผลิตผลของยุคทองฝีมือครูสวนฯ]</ref>
 
หลัง[[เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516]] เขาสอบได้คณะ[[วิทยาศาสตร์]] [[มหาวิทยาลัยมหิดล]] ต่อมาได้รับเลือกให้เป็นประธาน[[นักศึกษา]] คณะ[[วิทยาศาสตร์]] [[ชีวภาพ]]ปี 2 เมื่อปี 2518 ได้รับความไว้วางใจให้เป็นเลขาธิการ[[พรรคแนวร่วมมหิดล]] (ก่อตั้งเมื่อปี 2517 โดยมีประธานพรรคคนแรกคือ [[เหวง โตจิราการ|นายแพทย์เหวง โตจิราการ]]) ในช่วงที่นายแพทย์พรหมินทร์ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคนั้น เป็นช่วงที่[[พรรคแนวร่วมมหิดล]] มีการขยายตัวสูงสูด นอกจากนี้เขายังดำรงตำแหน่งเลขาธิการ[[แกนม่วง-เหลือง]] อีกด้วย
 
ในสมัยนั้นนายแพทย์พรหมินทร์เคยเล่าผ่าน[[หนังสือ]] "ปูมประวัติศาสตร์มหิดลฯ" ว่าได้นำเอาสรรนิพนธ์ของ[[เหมา เจ๋อ ตุง]] ว่าด้วยเรื่องการสร้างพรรคมาศึกษาและปรับใช้กับการสร้าง[[พรรคแนวร่วมมหิดล]]
 
ในช่วงหลัง[[เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519]] นายแพทย์พรหมินทร์ได้เข้าร่วมกับ[[พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย]] โดยใช้ชื่อจัดตั้งว่า '''สหายจรัส'''
 
ภายหลังจบการศึกษาและทำงาน[[ราชการ]] ต่อมาพรรคพวกเครือข่าย[[คนเดือนตุลา]]ที่ไปช่วยงาน [[ทักษิณ ชินวัตร|พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร]] แนะนำให้ดึงตัวนายแพทย์พรหมินทร์เข้ามาช่วยงานด้าน[[กลยุทธ์]] และได้เข้าร่วมทำงานกับ[[กลุ่มบริษัทชินวัตร]] จนตำแหน่งสุดท้ายคือซีอีโอ ของ[[บริษัทชินแซทเทิลไลท์ คอมมิวนิเคชั่นส์]]
 
นายแพทย์พรหมินทร์และ[[บริษัทแมทช์บอกซ์]]อยู่เบื้องหลัง[[แคมเปญ]]การรณรงค์ทาง[[การเมือง]]ให้กับ [[ทักษิณ ชินวัตร|พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร]] ที่เป็นภาพ[[โปสเตอร์]] พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ยืนชี้นิ้วมองไกลไปข้างหน้าพร้อมกับคำขวัญ "พลิกเมืองไทยให้แข่งกับโลก" ที่ได้รับว่าพึงพอใจจากคนชั้นกลางเป็นจำนวนมาก
 
ผู้บริหารแมทช์บอกซ์ เป็นกลุ่มเพื่อนของ[[ธงชัย วินิจจะกูล|นายธงชัย วินิจจะกูล]] ประธาน[[ศูนย์นักเรียนแห่งประเทศไทย]] ที่ใกล้ชิดกับนายแพทย์พรหมินทร์และมีความผูกพันทางอุดมการณ์มาอย่างยาวนาน<ref>'''คนตุลาตายแล้ว''' , สำนักพิมพ์สาริกา, แคน สาริกา</ref>
 
ชีวิตส่วนตัว สมรสกับ แพทย์หญิงมัธยา เลิศสุริย์เดช มีบุตร 2 คน คือ นายมติ เลิศสุริย์เดช และ น.ส.มาพร เลิศสุริย์เดช
 
ปัจจุบันนายแพทย์พรหมินทร์อยู่ระหว่างการถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี เนื่องจาก[[ศาลรัฐธรรมนูญ]]มีมติให้ยุบ[[พรรคไทยรักไทย]]เมื่อวันที่ [[30 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2550]]
 
== ประวัติการศึกษา ==
เส้น 63 ⟶ 81:
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
* [http://www.eppo.go.th/admin/index_prommin.html| ประวัติ นายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช]
 
{{สืบตำแหน่งพิเศษเริ่ม}}