ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้ายุติธรรมธร (หยุย ณ จำปาศักดิ์)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
'''[[เจ้ายุติธรรมธร]] (หยุย ณ จำปาศักดิ์)''' หรือ '''เจ้าราชดนัย (หยุย) ณ จำปาศักดิ์''' ([[พ.ศ. 2440]] - [[2 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2489]]) เจ้าผู้ครอง[[นครจำปาสัก]]องค์สุดท้าย และเป็นผู้ว่าราชการเมืองจำปาสักในสมัยที่[[ลาว]]ตกเป็นอาณานิคมของ[[ฝรั่งเศส]] ประสูติเมื่อ [[พ.ศ. 2417]]<ref name="ณ จำปาศักดิ์">[http://www.4dw.net/royalark/Laos/champasa.htm ผังการสืบเชื้อสายตระกูลราชสกุล ณ จำปาศักดิ์]</ref> ทรงเป็นพระโอรสองค์โตของ[[เจ้ายุติธรรมธร (คำสุก ณ จำปาศักดิ์)]] เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ลำดับที่ 11 ได้รับพระราชทานทานพระยศจาก[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ให้เป็นเจ้าราชดนัย ตำแหน่งผู้ช่วยราชการในเจ้านครจำปาศักดิ์เมื่อ [[พ.ศ. 2440]] <ref>[[เติม วิภาคย์พจนกิจ]]. '''ประวัติศาสตร์อีสาน.''' พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: [[มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์]], 2546. หน้า 79.</ref>
 
ต่อมาเมื่อเจ้ายุติธรรมธร (เจ้าคำสุก ณ จำปาศักดิ์) พิราลัยด้วยพระโรคชราในปี [[พ.ศ. 2444]] ทางราชการ[[สยาม]]ได้ให้เจ้าอุปราช (เจ้าคำพันธ์) เป็นผู้รักษาราชการเมืองจำปาศักดิ์ไปพลาง เนื่องจากยังไม่ทันได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์คนใหม่<ref>[[เติม วิภาคย์พจนกิจ]]. '''อ้างแล้ว.''' หน้า 82.</ref> ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2446]] ดินแดนของนครจำปาสักได้ตกอยู่ในความปกครองของ[[ฝรั่งเศส]]ตามสนธิสัญญาฉบับลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 122 ฝ่ายฝรั่งเศสจึงได้เกลี้ยกล่อมให้เจ้าราชดนัย (หยุย) เป็นผู้ครองเมืองจำปาสักสืบต่อจากเจ้าพ่อพระบิดา พระองค์จึงได้มีหนังสือลับไปทูลปรึกษา[[สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ]] (ขณะมีพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นฯ) เสนาบดี[[กระทรวงมหาดไทย]]ในเวลานั้น ซึ่งกรมพระยาดำรงฯ ได้ทรงตอบไปว่า ''"ให้รับตำแหน่งทำการให้ฝรั่งเศสเสีย มิฉะนั้นถ้าฝรั่งเศสเอาพวกอื่นมาตั้งวงศ์ตระกูลเจ้ายุติธรรมจะได้รับความเดือดร้อน"'' เจ้าราชดนัย (หยุย) จึงตกลงรับเป็นเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์นับแต่นั้น โดยฝ่ายฝรั่งเศสได้ตั้งให้เจ้าราชดนัย (หยุย) ขึ้นเป็นเจ้ายุติธรรมธร เช่นเดียวกับเจ้านครจำปาสักองค์ก่อนๆ<ref>[[เติม วิภาคย์พจนกิจ]]. '''อ้างแล้ว.''' หน้า 85-87.</ref> นับเป็น[[เจ้ายุติธรรมธร]]ลำดับที่ 3
 
ต่อมารัฐบาล[[อินโดจีนฝรั่งเศส]] ได้ยกเลิกฐานะความเป็นเจ้าครองนครลงเมื่อวันที่ [[22 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2447]]<ref name="ณ จำปาศักดิ์" /> เจ้ายุติธรรมธร (หยุย) จึงมีฐานะเป็นผู้ว่าราชการเมืองจำปาสักแทนจนถึง [[พ.ศ. 2484]] เมื่อ[[ประเทศไทย]]ได้ดินแดนนครจำปาสักกลับคืนมาอีกครั้ง และจัดตั้งขึ้นเป็น[[จังหวัดนครจัมปาศักดิ์]]แล้ว ทางราชการไทยก็ได้คงเกียรติยศของเจ้ายุติธรรมธร (หยุย) ในฐานะเจ้าผู้ครองนครจำปาสักไว้ตามเดิม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ให้เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดที่ตั้งขึ้นมาใหม่นั้นเอง พระองค์ได้อยู่ในตำแหน่งนี้จนถึงแก่พิราลัยในตำแหน่งเมื่อวันที่ [[2 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2489]] ก่อนหน้าที่ดินแดนจำปาสักจะกลับไปเป็นของฝรั่งเศสอีกครั้งไม่นานนัก<ref>[[เติม วิภาคย์พจนกิจ]]. '''อ้างแล้ว.''' หน้า 88.</ref>
 
เจ้ายุติธรรมธร (หยุย ณ จำปาศักดิ์) มีบุตรโอรสธิดาเกิดแต่ภรรยาชายา 5 คนองค์ ดังนี้ <ref>[[เติม วิภาคย์พจนกิจ]]. '''อ้างแล้ว.''' หน้า 83.</ref><ref name="ณ จำปาศักดิ์" />
 
# '''เจ้านางทองพูน''' ไม่มีบุตรโอรสธิดาด้วยกัน
# '''เจ้านางสุดสมร''' มีบุตรโอรสธิดา 3 คนองค์ คือ
## [[เสด็จเจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์]] (อดีต[[นายกรัฐมนตรีลาว]])
## เจ้าสมบูรณ์ ณ จำปาศักดิ์
## [[เจ้าบุญอ้อม ณ จำปาศักดิ์]] (อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการลาว ในรัฐบาล[[พระราชอาณาจักรลาว]])
# '''หม่อมนวล''' มีบุตรโอรสธิดา 6 คนองค์ คือ
## เจ้าบุญเอื้อ ณ จำปาศักดิ์
## เจ้านางเนย ณ จำปาศักดิ์
บรรทัด 20:
## เจ้านางบุญหลี ณ จำปาศักดิ์
## เจ้าสรรพสิทธิ ณ จำปาศักดิ์
# '''เจ้านางจันทร์''' มีบุตรโอรสธิดา 9 คนองค์ คือ
## เจ้านางบุญชู ณ จำปาศักดิ์
## เจ้านางสมบูรณ์ ณ จำปาศักดิ์
บรรทัด 30:
## เจ้านางบุญเหลือ ณ จำปาศักดิ์
## เจ้านางสุดาจันทร์ ณ จำปาศักดิ์
# '''หม่อมจูม''' มีบุตรโอรสธิดา 1 คนองค์ คือ เจ้าจิตประสงค์ ณ จำปาศักดิ์
 
==อ้างอิง==