ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าคุณจอมมารดาเอม ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด +แจ้งรอตรวจสอบด้วยบอต
Manop (คุย | ส่วนร่วม)
แจ้งต้องการหมวดหมู่ +เก็บกวาดด้วยสจห.
บรรทัด 1:
{{ต้องการหมวดหมู่}}
{{รอการตรวจสอบ}}
{{เก็บกวาดบุคคล}}
{{ชื่ออื่น|||เจ้าจอมมารดาเอม}}
'''เจ้าคุณจอมมารดาเอม''' เป็นพระชายาองค์แรกของ[[พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ตั้งแต่ครั้งดำรงพระยศที่เจ้าฟ้าจุฑามณี หรือที่บุคคลทั่วไปเรียกขานพระนามว่าเจ้าฟ้าน้อย ตามประวัติที่เล่าสืบกันมา ครั้งที่เจ้าฟ้าน้อยเสด็จทรงผนวชตามพระราชประเพณีและจำพรรษาอยู่วัดระฆัง ทรงโปรดที่จะพายเรือออกบิณฑบาตโดยเรือพระทีนั่งลำเล็ก เข้าคลองบางกอกน้อย ซึ่งมีบ้านขุนนางคหบดีท่านหนึ่งตั้งโต๊ะใส่บาตรพระอยู่หน้าท่าน้ำเป็นประจำ และปรากฏบุตรีของท่านเจ้าของบ้านเป็นผู้ลงมาตักบาตรเองเสมอๆ วันหนึ่งขณะที่นางกำลังตักข้าวใส่บาตรพระภิกษุหนุ่มรูปงาม ท่าทางมิใช่จะดูสามัญทั่วไป พระภิกษุองค์นั้นก็ปิดฝาบาตรงับมือนางโดยเจตนา จนนางตกใจปล่อยมือจับทัพพีจนตกน้ำ แล้วรีบวิ่งหนีขึ้นเรือนไป ส่วนพระภิกษุหนุ่มดูจะพึงใจมาก บ่ายวันนั้นได้มีขบวนเชิญเครื่องทำขวัญและทัพพีอันใหม่มายังบ้าน ท่าน[[พระยาศิริไอยศวรรค์]]เจ้าของบ้านเห็นวัสดุและลวดลายของทัพพีก็ทราบได้ทันทีว่าเจ้าของทัพพีเป็นใคร จึงเฝ้าถนอมรักษาบุตรีของตนไว้อย่างดีและมิให้ลงไปใส่บาตรพระอีก
บรรทัด 16:
บรรพบุรุษของท่านเจ้าคุณจอมมารดาเอมนั้น เล่ากันว่า เป็นนายสำเภาจีนเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา รุ่นลูกชื่อเจ้าสัวไซ ค้าข้าวระหว่างเมืองไทยกับเมืองจีน ตอนกรุงแตกขบวนเรือข้าว3ลำของเจ้าสัวทอดสมอรอดูสถานการณ์อยู่แถวชายแดนเขมร จังหวะเวลาเดียวกับที่สมเด็จพระเจ้าตากสินตีเมืองจันทบุรีได้ เจ้าสัวได้ข่าวและอาจจะเป็นเพราะเคยรู้จักเนื่องจากมีเชื้อสายจีนด้วยกัน จึงนำเรือเข้าเทียบท่าถวายข้าวทั้งสิ้นให้พระเจ้าตาก ซึ่งทรงใช้เป็นยุทธปัจจัยในการรวบรวมผู้คนขึ้นจนเป็นกองทัพ กอบกู้เอกราชของชาติไทยได้ในที่สุด เจ้าสัวไซมีความดีความชอบมาก จึงสามารถปักหลักค้าขายในกรุงธนบุรีและบางกอกและสืบต่อถึงบุตรหลานอย่างมั่นคง เจ้าสัวไซมีบุตรชื่อเจ้าสัวบุญมี เจ้าสัวบุญมีบุตรชื่อฟัก ซึ่งรับราชการได้รับพระราชทินนามว่าพระยาศิริไอยศวรรค์ บิดาท่านเจ้าคุณจอมมารดาเอม
 
ในรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามสกุลให้ นายพันโท หลวงบำราศอรินทรพ่าย (โชติ) ราชองครักษ์ประจำ บิดาคือพระยาวิสูตรโกษา (ทองอิน) ปู่คือ พระยาศิริไอสวรรย์ (ฟัก) ว่า ศิริวิสูตร์
 
ม.ล.ชัยนิมิตร นวรัตน เรียบเรียง