ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระมหา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
'''พระมหา''' เป็นคำ[[สมณศักดิ์]]ใช้นำหน้าชื่อ[[พระภิกษุ]]ที่[[สอบสนามหลวง|สอบไล่]]ได้ตั้งแต่[[เปรียญธรรม 3 ประโยค]] ขึ้นไป <ref>[http://rirs3.royin.go.th/riThdict/lookup.html พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน'']</ref> โดยคำ "มหา" มาจากศัพท์ใน[[ภาษาบาลี]] ''(มหนฺต ลดรูปเป็น มหา)'' ใช้นำหน้าพระเถระผู้มีร่างกายสูงใหญ่ในสมัย[[พุทธกาล]]เช่น [[พระมหากัสสปะเถระ]] [[พระมหาโมคคัลลานะ]] และใช้เรียกนำหน้ายกย่องพระเถระผู้เป็นที่น่าเคารพนับถือว่า [[พระมหาเถระ]] แปลว่า พระเถระผู้ใหญ่
 
ในปัจจุบันบางครั้งชาวบ้านใช้คำว่า "มหา" เรียก[[อุบาสก]]บางท่าน ที่มีศรัทธาใน[[พระพุทธศาสนา]]และมีความรู้เรื่อง[[พระพุทธศาสนา|พระศาสนา]]ดี หรือดำรงตนเป็น[[พุทธมามกะ]]ที่เคร่งครัด เพื่อเป็นการยกย่องและให้เกียรติ <ref>เทวประภาส มากคล้าย เปรียญ.. เอกสาร : ''เอกสารแนะนำวัดคุ้งตะเภา'' . [[อุตรดิตถ์]] : [[วัดคุ้งตะเภา]] , 2549๒๕๔๙.</ref>
 
[[พระมหากษัตริย์]][[ไทย]]แต่โบราณถวาย[[พัดยศ]]สมณศักดิ์สาย[[เปรียญ]][[ธรรม]] ('''พัดยศมหาเปรียญ''') แก่พระสงฆ์โดยยกย่องถวายคำว่า "มหา" เพื่อใช้นำหน้าพระภิกษุผู้สอบไล่ได้ [[ประโยคบาลี]] เพื่อเป็นการถวายกำลังใจแก่พระสงฆ์ผู้สนใจเล่าเรียนศึกษาและมีความรู้สอบไล่ได้สายเปรียญธรรมบาลีตั้งแต่ชั้น[[เปรียญธรรม 3 ประโยค|เปรียญตรี]]ขึ้นไป จนถึงปัจจุบันนี้<ref>[http://www.heritage.thaigov.net/religion/misc/study2.htm การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี สมัยปัจจุบัน จากหอมรดกไทย]</ref> (โดยในอดีต นั้นพระมหากษัตริย์เคยมีการถวายนิตยภัตรแก่พระสงฆ์และสามเณรที่เป็นมหาเปรียญทุกชั้น แต่ปัจจุบันคงมีการถวายนิตยภัตรรายเดือนเฉพาะผู้สอบได้ระดับ[[เปรียญธรรม ๙ ประโยค]] เท่านั้น)
 
ในปัจจุบัน '''พัดยศมหาเปรียญ''' นั้นจะแบ่งเป็นสีและระบุเลขลำดับชั้นเปรียญ ซึ่งเปรียบได้กับ[[ครุยวิทยฐานะ]]ของ[[บัณฑิต]]ผู้จบการศึกษาจาก[[มหาวิทยาลัย]] โดยพัดยศเปรียญมีฐานะเสมือนหนึ่ง[[เครื่องราชอิสริยาภรณ์]]ที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่ผู้ทำความชอบในราชการ<ref>วิเชียร อากาศฤกษ์,สุนทร สุภูตะโยธิน. ประวัติสมณศักดิ์และพัดยศ (๒๕๒๘). กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์ศรีอนันต์. หน้า ๑๘๑ - ๑๙๘ .</ref> พระสงฆ์สามเณรผู้ได้รับพระราชทานจะนำพัดยศมหาเปรียญออกใช้ประกอบสมณศักดิ์ได้แต่ในงานพระราชพิธีสำคัญเท่านั้น จะใช้ทั่วไปมิได้
 
ในอดีตก่อนมีการเลิก[[ทาส]] หากพระภิกษุหรือสามเณรรูปใดที่สอบไล่ได้เปรียญธรรม มีบิดามารดาเป็นทาสเขาอยู่ ก็จะได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระมหากษัตริย์ไถ่ให้พ้นตัวจากความเป็นทาสมีอิสรภาพแก่ตนในทันทีที่บุตรชายของตนได้เป็นพระมหาเปรียญหรือสามเณรเปรียญ
 
ปัจจุบันเรียกพระภิกษุที่สอบได้พระปริยัติธรรมตั้งแต่ เปรียญธรรม 3 ประโยคขึ้นไปว่า '''"พระมหาเปรียญ"'''
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
== ดูเพิ่ม ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/พระมหา"