ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยูคาลิปตัส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Utsa~thwiki (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Manop (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ Utsa (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย VolkovBot
บรรทัด 106:
 
ข้อกล่าวอ้างว่าไม้ยูคาลิปตัสเปรียบเสมือนต้นไม้สูบระบายน้ำ ที่ทำให้หนอง บึง และแผ่นดินแห้งแล้งนั้น มีหลักฐานทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนว่าระดับน้ำที่ลดลงเท่ากับการปลูกพืชอื่น และ ดีกว่าในที่โล่ง
 
=== โครงการ “ปลูกไม้ยูคาลิปตัสบนคันนา”===
 
ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดห้องเรียนภาคสนามเรียนรู้การปลูกไม้ยูคาลิปตัสบนคันนาและในไร่มันสำปะหลัง ภายใต้โครงการ “การวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อแก้ปัญหาความยากจนในชนบทโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ที่ดินด้วยการปลูกไม้โตเร็ว” ในท้องที่อำเภอสนามชัยเขต และอำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีอุตสาหกรรมการใช้ไม้ยูคาลิปตัสมาก โดยใช้แม่ไม้จำนวน 4 พันธุ์ ใน 2 ท้องที่ (Site) เขตอำเภอพนมสารคาม และอำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา คือ สายพันธุ์ K51, K59, K7 และ K58 ได้ทำการทดลองปลูกไม้ยูคาลิปตัสบนคันนาปรับแต่ง เป็นลักษณะของการปลูกพืชควบในระบบวนเกษตร เกษตรกรสามารถปลูกยูคาบนคันนาได้โดยปลูกเป็นแถวเดี่ยว ๆ ให้มีระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 2 – 3 เมตร เพื่อเปิดช่องว่างให้นาข้าวในนาได้รับแสงสว่างอย่างเต็มที่และเพียงพอ การปลูกลักษณะนี้แทบไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเตรียมพื้นที่ปลูกและการดูแลรักษา เพราะชาวนาต้องยกตกแต่งคันนาและบำรุงรักษาต้นข้าวอยู่แล้ว หากคัดเลือกสายพันธุ์ให้เหมาะสมตามคำแนะนำของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็จะตัดไม้นำไปใช้ประโยชน์ได้ไม่น้อยกว่า 3 ตัน ต่อไร่ เมื่ออายุ 5 ปี นอกจากนี้ยังได้ทดลองปลูกไม้ยูคาลิปตัสควบมันสำปะหลัง, ปลูกไม้ยูคาลิปตัสบนคันนาที่มีระยะห่างต่าง ๆ กัน และปลูกไม้ยูคาลิปตัสในบริเวณบ้านเรือนที่อยู่อาศัย และตลอดระยะเวลาดำเนินโครงการไม่พบความเสียหายในเรื่องของการแย่งปุ๋ยพืชอาหารหรือการทำให้ดินเสื่อมสภาพ สามารถจะปลูกพืชสวนครัวหรือพืชชนิดอื่น ๆ ได้ เป็นการใช้พื้นที่เกษตรให้เกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากจะเพิ่มวัตถุดิบให้แก่อุตสาหกรรมไม้ภายในประเทศ ยังเป็นการเพิ่มรายได้ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้แก่เกษตรกรในชนบท สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีโดยรวมให้แก่ชุมชนและประเทศอีกด้วย
 
“โครงการปลูกไม้ยูคาลิปตัสบนคันนา" สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรเพิ่มขึ้นจากการปลูกข้าวเชิงเดี่ยวประมาณ 2 – 3 เท่า ขณะที่การปลูกไม้ยูคาลิปตัสเป็นขอบเขตไร่มันสำปะหลัง ก็จะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 1 – 2 เท่า ซึ่งขึ้นอยู่กับรายได้สุทธิของพืชทั้งสองชนิด ดังนั้นการปลูกไม้ยูคาลิปตัสในระบบวนเกษตร จึงนับว่าเป็นกลยุทธ์สำคัญของการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ที่ดิน ที่จะช่วยยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
 
== อ้างอิง ==
<references />
 
[http://www.youtube.com/watch?v=qnVhM982pe0 Wonderful world1] <br />
[http://www.youtube.com/watch?v=pWyctWRoMGM Wonderful world2]
[[หมวดหมู่:พืช]]
{{โครงพืช}}