ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บ้านลอมกลาง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 20:
[[ภาพ:ผีเฮือน.jpg|thumb|left|หอผีบรรพบุรุษชาวเมืองเชียงลาบ บ้านลอมกลาง ตำบลยม [[อำเภอท่าวังผา]] [[จังหวัดน่าน]]]]
 
'''บ้านลอมกลาง''' หรือในอดีตมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า '''บ้านน้ำบั่วป่ากล้วย''' ซึ่งตั้งชื่อขึ้นตามสภาพของภูมิศาสตร์คือเป็นที่ราบลุ่มลำน้ำบั่ว ซึ่งกำเนิดมาจากยอดดอยภูคาประกอบกับในพื้นที่ราบลุ่มดังกล่าวเต็มไปด้วยต้นกล้วยน้ำว้าเป็นจำนวนมาก ก่อตั้งหมู่บ้านนั้นเกิดเริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ 2345 ในครั้งนั้นเกิดวิกฤติ ยุคเก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมือง หลังจากสงครามใน[[สิบสองปันนา]]สงบลง
 
ปี พ.ศ. 2101 เชียงใหม่ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า ส่วนหัวเมืองสิบสองปันนาตอนล่างนั้นพม่าสั่งให้เจ้าเมืองเชียงแขงรวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ ซึ่งอยู่แถบชายแดนจีนทางสิบสองปันนาเข้าพม่า ได้แก่เมืองยอง เชียงลาบ บ้านยู้ เมืองหลวงตลอดจนถึงเมืองอูในลาวตอนบนให้ขึ้นไปกับเมืองเชียงแสน ในขณะที่ตำนานเมืองยอง ได้กล่าวถึงสมัยพระยาสุทโธธัมมราช กษัตริย์พม่าลำดับที่ 5 แห่งราชวงศ์ตองอูได้มอบหมายให้พระยาแสนสุรินทร์ทาพรหมราชเจ้าเมืองยองดูแลหัวเมืองต่างๆรวม 12 หัวเมืองได้แก่ เมืองยู้ เมืองหลวย เชียงแข เมืองวะ เมืองกาย เมืองเลน เมืองติน เมืองสาด เมืองพระยาก เมืองปะแลว เชียงลาบและเชียงทอง เมืองยองในสมันนี้จึงอยู่ศูนย์กลางในฐานะอำนาจย่อยของพม่าทางตะวันออก
เจ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่าน ได้โปรดให้ลูกหลานของพญา[[เชียงลาบ]] จำนวน 5 ครอบครัว ได้ตั้งบ้านเรือน บริเวณฝั่งทิศเหนือของลุ่มลำน้ำบั่วโดยทางการให้จัดการปกครองหมู่บ้านให้ขึ้นกับบ้าน[[เชียงยืน]]ชึ่งเป็นชาว[[ไทยเขิน]]โดยมี'''พ่อแสนปัญญา'''ชาวไทเขินเป็นผู้ปกครองชุมชน แต่ในด้านศาสนกิจ นั้นชาวบ้านน้ำบั่วป่ากล้วยได้ปฏิบัติร่วมกับบ้านทุ่งฆ้อง ซึ่งมีวัดตั้งวัดอยู่บริเวณลุ่มน้ำย่าง ฝั่งขวาที่เป็นเนินสูงนั้น มีพระธาตุจอมพริกตั้งอยู่ และมีต้นพริกสูงใหญ่ อายุหลายร้อยปี ปลูกทิ้งไว้ด้านข้างกับพระธาตุจอมพริก
 
ปี พ.ศ. 2347 กองทัพหลวงจากกรุงเทพ ฯ พร้อมด้วยกองทัพจากเชียงใหม่ นครลำปาง น่าน และเวียงจันทน์ ได้ยกไปตีเชียงแสน ตั้งล้อมอยู่สองเดือนจึงยึดเชียงแสนไว้ได้ เจ้ากาวิละสั่งให้รื้อกำแพงเมือง และทำลายเมืองไม่ให้ใช้เป็นที่มั่นของข้าศึกได้อีกต่อไป แล้วอพยพครอบครัวชาวเชียงแสนลงมาประมาณ ๒๐,๐๐๐ คน แบ่งออกเป็นห้าส่วน ส่งลงไปกรุงเทพ ฯ ส่วนหนึ่งซึ่งต่อมาได้ไปตั้งถิ่นฐานที่อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ที่เหลือส่งไปอยู่ที่เวียงจันทน์ น่าน เชียงใหม่ และนครลำปาง
 
ความดีความชอบในครั้งนี้ เจ้ากาวิละได้รับสถาปนาเป็น พระเจ้าเชียงใหม่ มีฐานะเป็นเจ้าประเทศราช หลังจากตีเมืองเชียงแสนได้แล้ว กองทัพของล้านนาไทย ประกอบด้วย เชียงใหม่ นครลำปาง แพร่ เมืองเถิน น่าน รวมทัพกองทัพจากล้านช้างได้แก่ หลวงพระบาง และเวียงจันทน์ได้ร่วมกันยกไปตีเมืองยอง เมืองลื้อ เมืองเขิน เมืองเชียงตุง เมืองเชียงรุ้ง เมืองเชียงแขง ตลอดจนบรรดาหัวเมืองต่าง ๆ แถบไทยใหญ่ ลื้อ เขิน เข้ามาเป็นข้าขอบขัณสีมาของกรุงรัตนโกสินทร์ ทำให้ราชอาณาจักรไทยแผ่ออกไปอย่างกว้างขวางใหญ่ไพศาล ยิ่งกว่าครั้งใด ๆ นับแต่นั้นมา หัวเมืองล้านนาไทยทั้งปวงก็ปลอดภัยจากการรุกรานของพม่า
 
นับแต่เมืองเชียงลาบ ไปสุดเมืองเชียงแขง เมืองล้า เมืองพง เมืองมาง เมืองภูคา เมืองเทิง เมืองเลน ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของเมืองน่าน ในฐานนะหัวเมืองขึ้น หลังจากเมืองน่านได้ปกครองหัวเมืองลื้อต่าง ๆ ดังจารึกบทหนึ่งกล่าวไว้ว่า
 
“...เจ้าผู้ครองนครเมืองน่านจัดการเขตแดน ทำสงครามยุทธนาการมีชัยจับตัวเจ้าเมืองเชียงแขง ณ ที่บ้านยู้ เมืองหลวย ได้กวาดคนครอบครัวลงมาไว้ยังนคร-เมืองน่าน...และยังได้กวาดครอบครัวในหัวเมืองขึ้นเมืองเชียงแขงที่ใกล้เคียง คือ เมืองแฮะ เมืองหลวย เมืองวะ เมืองขัน เมืองเชียงขาง เมืองสิง เมืองนัง เมืองกาง เมืองลอง เมือง-ลาบ มาไว้ที่เมืองน่านด้วย...”
 
 
ก่อตั้งหมู่บ้านนั้นเกิดเริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ 2345 ในครั้งนั้นเกิดวิกฤติ ยุคเก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมือง หลังจากสงครามใน[[สิบสองปันนา]]สงบลง เจ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่าน ได้โปรดให้ลูกหลานของพญา[[เชียงลาบ]] จำนวน 5 ครอบครัว ได้ตั้งบ้านเรือน บริเวณฝั่งทิศเหนือของลุ่มลำน้ำบั่วโดยทางการให้จัดการปกครองหมู่บ้านให้ขึ้นกับบ้าน[[เชียงยืน]]ชึ่งเป็นชาว[[ไทยเขิน]]โดยมี'''พ่อแสนปัญญา'''ชาวไทเขินเป็นผู้ปกครองชุมชน แต่ในด้านศาสนกิจ นั้นชาวบ้านน้ำบั่วป่ากล้วยได้ปฏิบัติร่วมกับบ้านทุ่งฆ้อง ซึ่งมีวัดตั้งวัดอยู่บริเวณลุ่มน้ำย่าง ฝั่งขวาที่เป็นเนินสูงนั้น มีพระธาตุจอมพริกตั้งอยู่ และมีต้นพริกสูงใหญ่ อายุหลายร้อยปี ปลูกทิ้งไว้ด้านข้างกับพระธาตุจอมพริก
 
ครั้นตั้งหมู่บ้านนั้น ชาวไทลื้อเมืองเชียงลาบล้วนแต่เป็นลูกหลานพญาเชียงลาบจึงได้อัญเชิญผีบรรพบุรุษ และผีเจ้าเมืองเชียงลาบ และผีนักรบต่าง ๆ ของเมือง[[เชียงลาบ]] ให้มาสถิตย์อยู่ที่ศาลประจำหมู่บ้านบริเวณฝั่งด้านตะวันออกเฉียงใต้ ของหมู่บ้านติดฝั่งลำน้ำบั่ว และมีพิธีบวงสรวงทุกเดือนสี่ เดือนแปด ตามปฏิทินไทลื้อ และในหมู่บ้านยังมีการทำพิธีทรงผีเจ้าหลวงเชียงลาบ ปัจจุบันพิธีกรรมบางส่วนได้สูญหายไปแล้ว