ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บ้านลอมกลาง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 22:
'''บ้านลอมกลาง''' หรือในอดีตมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า '''บ้านน้ำบั่วป่ากล้วย''' ซึ่งตั้งชื่อขึ้นตามสภาพของภูมิศาสตร์คือเป็นที่ราบลุ่มลำน้ำบั่ว ซึ่งกำเนิดมาจากยอดดอยภูคาประกอบกับในพื้นที่ราบลุ่มดังกล่าวเต็มไปด้วยต้นกล้วยน้ำว้าเป็นจำนวนมาก ก่อตั้งหมู่บ้านนั้นเกิดเริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ 2345 ในครั้งนั้นเกิดวิกฤติ ยุคเก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมือง หลังจากสงครามใน[[สิบสองปันนา]]สงบลง
 
เจ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่าน ได้โปรดให้ลูกหลานของพญา[[เชียงลาบ]] จำนวน 5 ครอบครัว ได้ตั้งบ้านเรือน บริเวณฝั่งทิศเหนือของลุ่มลำน้ำบั่วโดยทางการให้จัดการปกครองหมู่บ้านให้ขึ้นกับบ้าน[[เชียงยืน]]ชึ่งเป็นชาว[[ไทยเขิน]]โดยมี'''พ่อแสนปัญญา'''ชาวไทเขินเป็นผู้ปกครองชุมชน แต่ในทางกลับกันการศึกษาและประเพณีวิถีปฏิบัติด้านพุทธศาสนานั้นชาวไทลื้อเมืองเชียงลาบศาสนกิจ นั้นไม่ได้เข้าร่วมกับชาวไทเขิน ต้องเดินทางข้ามลำบ้านน้ำบั่วไปป่ากล้วยได้ปฏิบัติร่วมงานบุญและกิจกรรมทางศานากับชาวไทลื้อบ้าน[[ทุ่งฆ้อง]] กลุ่มของเจ้าคำแสน เจ้าเมืองเล็น ซึ่งมีวัดตั้งวัดอยู่บริเวณลุ่มน้ำย่าง ฝั่งขวาที่เป็นเนินสูงนั้น มีพระธาตุจอมพริกตั้งอยู่ และมีต้นพริกสูงใหญ่ อายุหลายร้อยปี ปลูกทิ้งไว้ด้านข้างกับพระธาตุจอมพริก (ปัจจุบันต้นพริกโบราณยังคงมีอยู่) ซึ่งในครั้งนั้นพระธาตุจอมพริกยังเป็นป่าที่รกร้าง มีแต่พระธาตุเท่านั้น มีเพียงแต่วัดทุ่งฆ้องที่เป็นศูนย์กลางพุทธศานาของชุมชน
 
ครั้นตั้งหมู่บ้านนั้น ชาวไทลื้อเมืองเชียงลาบล้วนแต่เป็นลูกหลานพญาเชียงลาบจึงได้อัญเชิญผีบรรพบุรุษ และผีเจ้าเมืองเชียงลาบ และผีนักรบต่าง ๆ ของเมือง[[เชียงลาบ]] ให้มาสถิตย์อยู่ที่ศาลประจำหมู่บ้านบริเวณฝั่งด้านตะวันออกเฉียงใต้ ของหมู่บ้านติดฝั่งลำน้ำบั่ว และมีพิธีบวงสรวงทุกเดือนสี่ และเดือนแปด ตามปฏิทินไทลื้อ '''พิธีนี้และในหมู่บ้านยังคงมีจนถึงการทำพิธีทรงผีเจ้าหลวงเชียงลาบ ปัจจุบัน'''พิธีกรรมบางส่วนได้สูญหายไปแล้ว
 
ลักษณะของชุมชนบ้านน้ำบั่วป่ากล้วย ซึ่งตั้งบ้านเรือนริมสองฝั่งน้ำบั่ว ปัจจุบันคือบริเวณ สะพานน้ำบั่วทางไปบ้านนานิคม ทิศเหนือมีจำนวน 11 หลังคาเรือนติด ๆ กัน และทิศใต้ของน้ำบั่วมี 4-5 หลังคาเรือน รอบ ๆ หมู่บ้านมีแต่ป่า เต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่ และ ด้านทิศตะวันออกของหมู่บ้าน ระหว่างบ้านน้ำบั่วป่ากล้วย กับบ้านเชียงยืน มีป่ากระท้อน และป่าขนุนเป็นจำนวนมาก อีกทั้งมีซากวัดร้าง สองถึงสามวัด ติด ๆ กัน บริเวณวัดร้างมีเครื่องเคลือบลายคราม และเครื่องปั้นดินเผาเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันยังมีให้เห็นอยู่เป็นจำนวนมาก บริเวณสวนมะขามของพ่อหนานสมบุรณ์ คำแสน
 
ชุมชนบ้านน้ำบั่วป่ากล้วยในสมัยนั้นยังเป็นชุมชนแบบหมู่บ้านป่า สังคมแบบเครือญาติ โดยการปกครองแบบพี่น้องกันเอง พึ่งพาตนเองเป็นหลัก นาน ๆ ถึงจะมีการติดต่อกับทางการสักที โดยผ่านหมู่บ้านเชียงยืน อีกทั้งในหมู่บ้านนั้นเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ทางการจึงมิได้แต่งตั้งใครในหมู่บ้านเป็นหัวหน้าในการปกครอง จนถึงสมัยของพ่อหนานประสงค์ สุยะตา จึงได้แต่งตั้งนายหนานเลิศ สุภาแก้ว เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านเชียงยืน ทำหน้าที่ปกครองหมู่บ้านน้ำบั่วป่ากล้วย
 
ราวปี พ.ศ.2500 นายสมบูรณ์ คำแสน ได้ไปเลี้ยงวัว บริเวณนาฮั้ง หัวบ้านสบบั่ว ได้เห็นรถของทางการได้ตัดถนนผ่าน จึงได้ไปสอบถาม และได้รับคำตอบว่า ทางการกำลังจะนำความเจริญมาสู่ที่นี่ จึงเกิดความคิดที่จะย้ายบ้านมาอยู่ที่นี่ และได้ตัดสินใจซื้อที่นาบริเวณนาลอมกลาง ซึ่งเป็นนาฮั้ง ทำนาไม่ได้ผลจากเจ้าของที่เดิมในราคา 50 บาท แล้วจึงย้ายบ้านจากบ้านน้ำบั่วป่ากล้วย ไปปลูกบ้านใหม่ในบริเวณดังกล่าวเพื่อปลูกผักปลูกไม้ไว้กิน
 
ปี พ.ศ. 2503 นายรัตน์ เขยตุ้ย ได้ย้ายบ้านจากบ้านน้ำบั่วป่ากล้วยตามมาอยู่ที่นาลอมกลางกับ หลังจากนั้นก็มี นายศรีนวล ขันทะตันตามมา หลังจากนั้นไม่นานพ่อหลวงน้อยคำ ไชยปรุง ได้ซื้อที่ดินบริเวณนาลอมกลาง ได้เป็นจำนวนมากจึงได้ ย้ายบ้านจากบ้านน้ำบั่วป่ากล้วยมาตั้งที่นาลอมกลางในตอนสาย พร้อมกับบอกชาวบ้านทั้งหมู่บ้านน้ำบั่วป่ากล้วยย้ายหมู่บ้านทุกหลังคาเรือน มาตั้งบ้านเรือนที่นาลอมกลางโดยจะจัดสรรที่ดินให้ชาวบ้านทุกหลังคาอยู่
 
==รายนามลำดับผู้ปกครองชุมชน==