ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภออินทร์บุรี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 28:
เมืองอินทร์บุรี (เขียนตามที่ปรากฏในหนังสือประวัติศาสตร์) เป็นเมืองชายแดนทางเหนือของ[[อาณาจักรอยุธยา]] (ตอนต้น) มีอาณาเขตติดต่อกับเมืองชัยนาทซึ่งเป็นหัวเมืองตอนใต้ของ[[อาณาจักรสุโขทัย]] เมืองอินทร์ตั้งขึ้นโดยกษัตริย์สมัยกรุงศรีอยุธยาเมื่อประมาณปี [[พ.ศ. 1912]] ตรงกับรัชสมัย[[สมเด็จพระราเมศวร]] พระโอรสของ[[สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1]] (อู่ทอง) เจ้าเมืองเลือกสรรจากเชื้อพระวงศ์
 
เมืองอินทร์บุรีเดิมตั้งอยู่บริเวณเหนือวัดปราสาท ต่อมาย้ายไปบริเวณเหนือวัดโบสถ์ เจ้าเมืองอินทร์คนสุดท้ายคือพระศักดิบุรินทร์ ในรัชสมัย[[สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ]] พระองค์ได้เคยเสด็จมาคล้องช้าง และคล้องช้างเผือกคู่บารมีได้ 1 เชือก "ที่บ้านน้ำทรง แขวงเมืองอินทร์บุรี ฯลฯ"<ref>กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ. '''ไทยรบพม่า.''' กรุงเทพฯ : แพร่พิทยา, 2514, หน้า 25.</ref>
 
นอกจากนี้เมืองอินทร์บุรียังเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตามที่ปรากฏ คือ "…[[พระเจ้าบุเรงนอง]]ยกทัพใหญ่มาล้อมกรุงศรีอยุธยา ฝ่ายไทยซึ่งมี[[สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ]]และ[[สมเด็จพระมหินทราธิราช|พระมหินทร์]]ได้เตรียมป้องกันพระนครอย่างเต็มที่ เมืองลพบุรีเป็นเมืองหนึ่งที่พระราชพงศาวดารกล่าวว่า ถูกเกณฑ์ให้ไปรักษาเมืองเช่นเดียวกับเมืองสุพรรณบุรี อินทร์บุรี เพชรบุรี ฯลฯ"<ref>('''ประวัติศาสตร์เมืองลพบุรี เอกสารประกอบการสัมมนา.''' กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์, 2524.</ref> และปรากฏในปี [[พ.ศ. 2307]] รัชสมัย[[สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์|พระเจ้าเอกทัศน์]] ทรงเตรียมแผนการต่อสู้กับพม่าโดย "ขั้นที่ 1 ให้เกณฑ์ทหารออกไปรักษาด่าน แบ่งกองทัพเรือออกเป็น 9 กอง กองละ 20 ลำ แต่ละกองมีทหารประจำการกองละ 1,400 คน พร้อมด้วยเครื่องศาสตราวุธ เรือรบมีปืนใหญ่ 1 กระบอก ปืนขนาดเล็ก 1 กระบอก แล้วแบ่งไปประจำที่ต่าง ๆ ดังนี้ ฯลฯ<br>
6.ให้หม่อมมหาดเล็กวังหน้า ไปตั้งรับพม่าทางแม่น้ำเมืองสิงห์บุรี<br>
7.ให้หม่อมเทไพ ไปตั้งรับพม่าทางเมืองอินทร์บุรี<br>
บรรทัด 36:
9.ให้ศรีภูเบศก์ ไปตั้งรับพม่าทางแม่น้ำเมืองพรหมบุรี..."<ref>ไพฑูรย์ มีกุศล. '''ประวัติศาสตร์ไทย''' ปรีดาการพิมพ์, 2521, หน้า 266.</ref>
 
จนกระทั่งปี [[พ.ศ. 2438]] รัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] (รัชกาลที่ 5) พระองค์ได้ทรงปฏิรูประบบริหารบริหารราชการแผ่นดิน โดยให้ยุบเมืองอินทร์บุรีและเมืองพรหมบุรีไปขึ้นตรงกับเมืองสิงห์บุรี เมืองอินทร์บุรีจึงกลายเป็นอำเภออินทร์บุรี เมืองพรหมบุรีเป็นอำเภอพรหมบุรี และเมืองสิงห์บุรีเป็นจังหวัดสิงห์บุรี
 
สำหรับที่ว่าการอำเภออินทร์บุรี ครั้งแรกตั้งอยู่ที่บริเวณวัดโพธิ์ลังการ์ ต่อมาย้ายเข้ามาตั้งอยู่บริเวณวัดปราสาท ตรงกับที่ตั้งเมืองอินทร์บุรีครั้งแรก อาจเป็นเพราะบริเวณที่ตั้งที่ว่าการอำเภอคับแคบไม่สะดวกในการขยายสำนักงานของส่วนราชการอื่น ทางราชการจึงย้ายที่ว่าการอำเภอมาทางทิศใต้ บริเวณบ้านบางท้องคุ้ง หมู่ที่ 3 ตำบลอินทร์บุรี คือที่ตั้งบริเวณปัจจุบันนี้ นายอำเภออินทร์บุรีคนแรก คือ หลวงอินทรวรนาถ