ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พิชัยสงคราม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xiengyod (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Xiengyod (คุย | ส่วนร่วม)
ปรับแก้ +เนื้อหา
บรรทัด 4:
ใน[[สารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน]]ได้ให้คำจำกัดความของตำราพิชัยสงครามไว้ว่า
 
:''"'''พิชัยสงคราม - ตำรา''' เป็นตำราว่าด้วยวิธีการเอาชนะข้าศึกในสงคราม ซึ่งนักปราชญ์ทางทหารสมัยโบราณ ได้แต่งขึ้นจากประสบการณ์ และจากการทดลอง เพื่อให้แม่ทัพนายกองใช้ศึกษา และเป็นคู่มือในการอำนวยการรบให้หน่วยทหารมีชัยชนะแก่ข้าศึก "''<ref name="ตำราพิชัยสงคราม ราชบัณฑิตยสถาน">[http://www.tv5.co.th/service/mod/heritage/nation/dictionary/dict21.htm '''พิชัยสงคราม - ตำรา''' ใน สารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม 21 พายุ - ภักดี หน้า 13237] (เว็บไซต์หอมรดกไทย กระทรวงกลาโหม) </ref>
 
ใน[[ประเทศไทย]] ตำราพิชัยสงครามฉบับต่างๆ ที่มีการค้นพบมักเขียนเนื้อหาไว้ในรูปแบบ[[ร้อยกรอง]] เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการจดจำใจความสำคัญของแต่ละกลยุทธ เช่น กลศึกอย่างหนึ่งชื่อว่า กลพังภูผา ซึ่งมีหลักการสำคัญว่า ให้ล่อข้าศึกด้วยกำลังที่น้อยกว่าของฝ่ายเราเข้ามาในที่คับขันแล้วจึงโจมตีให้แตกพ่าย ได้บรรยายความด้วย[[ฉันทลักษณ์]]ประเภท[[ร่าย]]ไว้ดังนี้
 
:''"กลนี้ชื่อพังภูผา แม้ศึกมาปะทะ อย่าเพ่อระเริงแรง สำแดงดุจเหนน้อย ชักคล้อยแฝงป่าเข้า ศึกเหนเราดูถูก ผูกช้างม้าออกไล่ ยอพลใหญ่กระทบ ผิรบเข้าบอไหว ให้ช้างม้าโรมรุม กลุ้มกันหักอย่าคลา อย่าช้าเร่งรุมตี ศึกแล่นหนีตามต่อย ให้ยับย่อยพรายพรัด ตัดเอาหัวโห่เล่น เต้นเริงรำสำแดงหาร ให้ศึกคร้านคร้ามกลัว ระรั้วระเสิดสัง กลศึกอันนี้ ชื่อว่าพังภูผาฯ"''<ref>[http://www.taharn.net/toom/49i05.html ตำราพิชัยสงคราม ๒๑ กลยุทธ์ไทย] (http://www.taharn.net) </ref>
 
ตำราพิชัยสงครามที่นับว่ามีชื่อเสียงมาในระดับโลก คือ [[ตำราพิชัยสงครามของซุนวู]] ซึ่งแต่งขึ้นเมื่อประมาณ 600 ปีก่อนคริสตกาล อันอยู่ในช่วง[[ยุครณรัฐ]]ของ[[จีน]] ทั้งนี้ หนังสือพงศาวดารจีนบางเรื่องที่มีการกล่าวถึงการรบและการใช้อุบาย เช่น [[สามก๊ก]] [[ไซ่ฮั่น]] ก็อาจนับว่าเป็นตำราพิชัยสงครามได้เช่นกัน
 
เนื้อหาและหลักในตำราพิชัยสงครามต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากตำราพิชัยสงครามของ[[ซุนวู]] ปัจจุบันได้มีการนำมาประยุกต์ใช้ในด้าน[[การบริหาร]]และด้าน[[เศรษฐกิจ]]ขององค์กรต่างๆ เป็นจำนวนมาก
 
== ตำราพิชัยสงครามของไทย ==
 
หลักฐานเกี่ยวกับตำราพิชัยสงครามใน[[ประเทศไทย]] ปรากฏบันทึกในพระราชพงศาวดารครั้งแรกเมื่อปี [[พ.ศ. 2041]] ในปีนั้น[[สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2]] แห่ง[[กรุงศรีอยุธยา]] ได้โปรดเกล้าฯ ให้มีการชำระและรวบรวมตำราพิชัยสงครามต่างๆ ขึ้นเป็นฉบับหลวงครั้งแรก และได้มีการปรับปรุงตำราในสมัย[[สมเด็จพระนเรศวรมหาราช]]เพื่อใช้ในสงครามยุคนั้น<ref>[http://www.tv5.co.th/service/mod/heritage/nation/military/military1/index03.htm การทหารของไทยสมัยอยุธยา รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ. 2133-2147)] - หอมรดกไทย กระทรวงกลาโหม</ref> เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกในปี [[พ.ศ. 2310]] ปรากฏว่าตำราพิชัยสงครามได้กระจัดกระจายสูญหายจำนวนมาก คงเหลืออยู่แต่ฉบับที่มีผู้คัดลอกไว้บ้างเพียงบางตอนไม่ครบชุด บางส่วนก็ได้มีการแต่งขึ้นใหม่ ในช่วงต้น[[กรุงรัตนโกสินทร์]]จึงได้มีการคัดลอกตำราพิชัยสงครามฉบับปลีกที่ยังเหลืออยู่ไว้จำนวนหลายสิบเล่มสมุดไทยเพื่อรักษาฉบับไว้ไม่ให้สาบสูญ<ref name="ตำราพิชัยสงคราม ราชบัณฑิตยสถาน" />
 
ถึงปี [[พ.ศ. 2368]] [[สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพย์]] กรมพระราชวังสถานมงคล จึงโปรดให้มีการชำระตำราพิชัยสงครามให้สมบูรณ์ โดยเชิญพระตำรับพิชัยสงครามฉบับข้างที่ (ฉบับหลวง) มาสอบสวนชำระ 14 เล่มสมุดไทย เมื่อชำระเสร็จแล้วได้คัดลงสมุดไทยจำนวน 2 ชุด รวม 10 เล่มสมุดไทย นับเป็นตำราพิชัยสงครามฉบับสุดท้ายที่ชำระอย่างสมบูรณ์ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์<ref name="ตำราพิชัยสงคราม ราชบัณฑิตยสถาน" />
 
ในสมัยต่อมากองทัพไทยได้ปรับรูปแบบกองทัพตามอย่างชาติตะวันตก ตำราพิชัยสงครามแบบโบราณจึงลดความสำคัญลงเพราะในสมัย[[รัชกาลที่ 5]] กองทัพไทยได้เปลี่ยนไปใช้ตำรายุทธศาสตร์แบบตะวันตกซึ่งทันสมัยกว่าแทน ผู้เป็นเจ้าของตำราพิชัยสงครามจึงนำตำราเหล่านี้มามอบให้หรือขายให้[[หอสมุดแห่งชาติ]]เป็นจำนวนมาก ตามบัญชีมีอยู่ 219 เล่ม ส่วนมากเป็นคำ[[ร้อยกรอง]]แบบ[[ฉันท์]] [[โคลง]] [[กลอน]] และ[[ร่าย]]บ้าง แต่งเป็นคำร้อยแก้วบ้าง<ref name="ตำราพิชัยสงคราม ราชบัณฑิตยสถาน" /> ล่าสุดได้มีการค้นพบตำราพิชัยสงครามสมัยกรุงธนบุรีในสภาพที่สมบูรณ์มากที่[[จังหวัดเพชรบูรณ์]]เมื่อเดือน[[ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2551]]<ref>[http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1229260862&grpid=10&catid=04 '''ตะลึง! พบ"ตำราพิชัยสงคราม" อายุ200 ปี คาดเคยใช้ในศึกรบจริงมาแล้ว "ภาพ-ตัวอักษร" คมชัดสมบูรณ์แบบ'''] มติชนออนไลน์ วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2551</ref>
 
เนื้อหาในตำราพิชัยสงครามของไทยโบราณแบ่งออกเป็นสามแผนก ได้แก่ 1) เหตุแห่งสงคราม 2) อุบายสงคราม 3) ยุทธศาสตร์และยุทธวิธี นอกจากนี้ยังมีเนื้อหาเกี่ยวกับความเชื่อทางด้าน[[โหราศาสตร์]]และ[[ไสยศาสตร์]] ซึ่งปรากฏมาตั้งแต่สมัยโบราณมาแล้ว โดยเฉพาะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายจะปรากฏความเชื่อในเรื่องดังกล่าวอย่างมาก<ref name="ตำราพิชัยสงคราม ราชบัณฑิตยสถาน" />
 
นอกจากนี้ในปี [[พ.ศ. 2341]] สมัย[[รัชกาลที่ 1]] แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ยังได้มีการแปลตำราพิชัยสงครามของพม่าเป็นภาษาไทยด้วย<ref name="ตำราพิชัยสงคราม ราชบัณฑิตยสถาน" />
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://www.taharn.net/toom/49i05.html ตำราพิชัยสงคราม ๒๑ กลยุทธ์ไทย] (http://www.taharn.net)
* [http://www.tv5.co.th/service/mod/heritage/nation/military/military1/index02.htm การทหารของไทยสมัยอยุธยา] (หอมรดกไทย กระทรวงกลาโหม)
 
[[หมวดหมู่:การบริหาร]]
[[หมวดหมู่:ตำราพิชัยสงคราม]]
 
{{โครงความรู้}}
{{โครงทหาร}}