ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พิชัยสงคราม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Brandy Frisky (คุย | ส่วนร่วม)
Xiengyod (คุย | ส่วนร่วม)
ปรับแก้ +เนื้อหา
บรรทัด 1:
'''ตำราพิชัยสงคราม''' เป็นคำที่ใช้เรียก[[หนังสือ]]หรือเอกสารที่มีการรวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับ[[กลยุทธ]] [[ยุทธศาสตร์]] [[ยุทธวิธี]]การรบต่างๆ อาทิ [[การรุก]] [[การตั้งรับ]] การแปรขบวนทัพ การใช้อุบายทำลายข้าศึก เป็นต้น หนังสือจำพวกนี้ในบางแห่งมักจะมีการใส่เนื้อหาที่เป็นความเชื่อทางด้าน[[โหราศาสตร์]]เข้ามาประกอบ เช่น การดูฤกษ์ยามในการเคลื่อนทัพ การทำพิธีข่มขวัญข้าศึกและบำรุงขวัญฝ่ายตน ฯลฯ รูปแบบเนื้อหานั้นอาจอยู่ในลักษณะของ[[ร้อยแก้ว]]หรือ[[ร้อยกรอง]]ก็ได้
 
ใน[[สารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน]]ได้ให้คำจำกัดความของตำราพิชัยสงครามไว้ว่า
 
:''"'''พิชัยสงคราม - ตำรา''' เป็นตำราว่าด้วยวิธีการเอาชนะข้าศึกในสงคราม ซึ่งนักปราชญ์ทางทหารสมัยโบราณ ได้แต่งขึ้นจากประสบการณ์ และจากการทดลอง เพื่อให้แม่ทัพนายกองใช้ศึกษา และเป็นคู่มือในการอำนวยการรบให้หน่วยทหารมีชัยชนะแก่ข้าศึก "''<ref>[http://www.tv5.co.th/service/mod/heritage/nation/dictionary/dict21.htm '''พิชัยสงคราม - ตำรา''' ใน สารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม 21 พายุ - ภักดี หน้า 13237] (เว็บไซต์หอมรดกไทย กระทรวงกลาโหม) </ref>
 
ใน[[ประเทศไทย]] ตำราพิชัยสงครามฉบับต่างๆ ที่มีการค้นพบมักเขียนเนื้อหาไว้ในรูปแบบ[[ร้อยกรอง]] เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการจดจำใจความสำคัญของแต่ละกลยุทธ เช่น กลศึกอย่างหนึ่งชื่อว่า กลพังภูผา ซึ่งมีหลักการสำคัญว่า ให้ล่อข้าศึกด้วยกำลังที่น้อยกว่าของฝ่ายเราเข้ามาในที่คับขันแล้วจึงโจมตีให้แตกพ่าย ได้บรรยายความด้วย[[ฉันทลักษณ์]]ประเภท[[ร่าย]]ไว้ดังนี้