ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเน่าเปื่อย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Saerin (คุย | ส่วนร่วม)
Saerin (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 6:
[[การสลายตัวของเซลล์เอง]] ({{lang-en|Autolysis}}) เป็นการเกิดจาก[[ปฏิกิริยาทางเคมี]]ที่มี[[น้ำย่อย]][[เซลล์]]ออกมาจากตัวเอง ทำให้เนื่อเยื่อเกิดการสลายตัว และเนื่องจากการสลายตัวของเซลล์เองเป็นปฏิกิริยาทางเคมี จึงขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและสภาพของสิ่งแวดล้อมประกอบด้วย ถ้าอุณหภูมิสูงจะเกิดปฏิกิริยาการเน่าสลายตัวอย่างรวดเร็วเช่น [[ศพ]]ในบริเวณ[[ทะเลทราย]] ความร้อนระอุของทรายจะเป็นตัวช่วยเร่งให้ศพเกิดการเน่าสลายตัวเร็วยิ่งขึ้น ในทางตรงกันข้ามถ้าอุณหภูมิต่ำจะเกิดปฏิกิริยาการเน่าสลายตัวอย่างช้าเช่น ศพในบริเวณ[[ขั้วโลกเหนือ]] ความเย็นของ[[หิมะ]] [[ธารน้ำแข็ง]]จะเป็นตัวช่วยรักษาสภาพของศพให้เกิดการเน่าสลายตัวอย่างช้า ๆ อวัยวะภายในร่างกายส่วนใดที่มีน้ำย่อยเซลล์จำนวนมาก อวัยวะในส่วนนั้นจะเกิดการเน่าสลายตัวอย่างรวดเร็ว เช่นเมื่อตาย ร่างกายจะเกิดการย่อยสลายที่บริเวณ[[ตับอ่อน]] ซึ่งจะเกิดการเน่าสลายตัวก่อน[[หัวใจ]]เป็นต้น
 
การเน่าสลายตัวในร่างกาย เกิดจาก[[แบคทีเรีย]]ทำปฏิกิริยาเคมีในเนื้อเยื่อของร่างกาย เนื่องจากแบคทีเรียส่วนใหญ่มีอยู่ในลำไส้ใหญ่อยู่แล้ว หลังตายแบคทีเรียเหล่านี้จะเริ่มพัฒนาการและเจริญเติบโตมากขึ้น รวมทั้งเริ่มปรากฏให้เห็นเป็นสิ่งแรกในร่างกายคือการเริ่มมี[[สีเขียว]]จาง ๆ ที่บรืเวณท้องน้อย เมื่อตายมาประมาณ 24 ชั่วโมง จะพบว่าบริเวณท้องน้อยด้านขวาจะเริ่มปรากฏสีเขียวมากกว่าด้านซ้าย เนื่องจากการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในบริเวณนั้นจะสร้างก๊าซซึ่งส่วนใหญ่เป็น[[ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์]] ซึ่งก๊าซนี้จะซึมซาบไปทุกส่วนของร่างกาย วิ่งไปตาม[[เส้นเลือด]]ทุกเส้นทำให้เส้นเลือดเกิดเป็นสีเขียวคล้ำ เป็นลวดลายมองดูคล้ายกับลายของหินอ่อน ปรากฏบนบริเวณผิวหนังทั่วร่างกายเรียกว่า Marbling<ref name="การเน่าสลายตัวของร่างกาย">การเน่าสลายตัวของร่างกาย, นิติเวชศาสตร์ สำหรับพนักงานสอบสวน, พลตำรวจตรี เลี้ยง หุยประเสริฐ พบ., อว. (นิติเวชศาสตร์) ผู้บังคับการ สถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ, 2549, หน้า 31</ref>
 
== การเน่า ==