ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จักรพรรดิฮั่นหลิง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 27:
'''สมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเลนเต้''' ({{lang-en|Emperor Ling of Han}}; {{Zh-all|t=漢靈帝|s=汉灵帝|p=hàn líng dì}}) ดำรงตำแหน่งเป็น[[ฮ่องเต้|จักรพรรดิ]]ใน[[ราชวงศ์ฮั่น]] รัชกาลที่ 24 เสด็จพระราชสมภพเมื่อ [[พ.ศ. 699]] เป็นพระโอรสของเล่าจั้ง เชื้อพระวงศ์ชั้นสูงแห่งราชวงศ์ฮั่น เชื้อสายราชนิกูลเล่า เจ้าเมืองตูตัง เมื่อสิ้นบุญ [[พระเจ้าฮวนเต้]] (漢桓帝) ได้ขอพระองค์นั้นไปชุบเลี้ยงในพระบรมมหาราชวัง ทรงเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นฮวนเต้มาก จึงทรงแต่งตั้งเป็นพระรัชทายาท เนื่องจากพระองค์ไม่มีพระราชโอรส
 
เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นฮวนเต้เสด็จสวรรคตใน [[พ.ศ. 711]] พระองค์จึงได้เสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเจ้าฮวนเต้ในปีเดียวกัน ขณะทรงมีพระชนม์มายุ 12 พรรษา และได้แต่งตั้งพระราชมารดาของพระองค์ขึ้นเป็นพระพันปีหลวงตังไทเฮา เพราะฉะนั้นเองพระมารดาของพระเจ้าเลนเต้จึงเป็นไทเฮาเพียงพระองค์เดียวในประวัติศาสตร์จีนที่ไม่ได้เป็นพระมเหสีของฮ่องเต้พระองค์ใด และรัชสมัยของพระองค์นั่นก็เป็นอีกชนวนหนึ่งที่ก่อให้เกิดยุคสามก๊ก เนื่องจากหลังจากทรงครองราชสมบัติไป 10 กว่าปี ก็เริ่มตีตัวออกห่างจากราชการบ้านเมือง หลงมัวเมาในสุรานารี และคำป้อยอของขันที ขันทีก็ได้ใจรีดนาทาเร้นราษฎร ดังนั้นใน [[พ.ศ. 726]] จึงมีกลุ่มชาวนาต่างจังหวัดตั้งกลุ่ม[[กบฏโพกผ้าเหลือง]] (黃巾之亂) เริ่มยึดครองขยายอำนาจแผ่ไปแว่นแคว้นต่าง ๆ
 
ราชธานีได้ส่งสาส์นไปยังหัวเมืองน้อยใหญ่ให้ช่วยยกทัพมาปราบกบฏโพกผ้าเหลือง และปิดประกาศขอรับสมัครชายผู้ต้องการปกป้องชาติ ซึ่งทำให้ [[เล่าปี่]] (劉備) , [[กวนอู]] (關羽) , [[เตียวหุย]] (張飛) ได้มาพบกัน และร่วมมือกัน และเป็นโอกาสให้[[ตั๋งโต๊ะ]] (董卓) ได้ขึ้นมาเรืองอำนาจกดขี่ชาวบ้าน ทางวังหลวงก็มีความแตกแยก เพราะทรงมีพระราชโอรส 2 พระองค์ คือ หองจูเปียน พระราชโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเลนเต้กับสมเด็จพระจักรพรรดินีโฮเฮา กับหองจูเหียบ พระราชโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเลนเต้กับพระสนมอองบีหยิน แต่ก็ไม่ได้รับความสนพระทัยจากพระเจ้าเลนเต้มากนัก จนในที่สุด ก็เสด็จสวรรคตใน [[พ.ศ. 732]]