ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ระบบดาวฤกษ์"

 
=== ลักษณะทางพลศาสตร์ ===
ในทางทฤษฎีแล้ว การสร้างแบบจำลองของระบบดาวหลายดวงทำได้ยากกว่าการสร้างแบบจำลองของดาวคู่มาก เนื่องจากมีปัจจัยด้าน[[พลศาสตร์]]มาเกี่ยวข้อง ปัญหาของวัตถุจำนวน n อาจทำให้เกิด[[ทฤษฎีความอลวน|ลักษณะอันยุ่งเหยิง]]ขึ้นได้ คุณสมบัติหลายประการในกลุ่มดาวขนาดเล็กๆ มีแนวโน้มจะไม่คงที่ ดาวดวงหนึ่งอาจเคลื่อนเข้าใกล้ดาวอีกดวงหนึ่งมากเกินไป และเร่งเร้าให้เกิดการเคลื่อนที่ที่ทำให้ดาวนั้นหลุดออกไปจากระบบได้<ref>Multiple Stellar Systems: Types and Stability, Peter J. T. Leonard, in ''Encyclopedia of Astronomy and Astrophysics'', P. Murdin, ed., online edition at the [http://eaa.iop.org/ Institute of Physics], orig. ed. published by Nature Publishing Group, 2001.</ref> ความไม่แน่นอนเช่นนี้อาจหลีกเลี่ยงได้หากระบบนั้นเป็นระบบอย่างที่ เดวิด อีวาน<ref>[http://adsabs.harvard.edu/abs/1968QJRAS...9..388E Stars of Higher Multiplicity], David S. Evans, ''Quarterly Journal of the Royal Astronomical Society'' '''9''' (1968), 388&ndash;400.</ref> เรียกว่า ''hierarchical'' ในระบบแบบนี้ดาวฤกษ์สมาชิกจะแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม แต่ละกลุ่มมีวงโคจรใหญ่รอบจุด[[ศูนย์กลางมวล]]ของระบบ ขณะที่สมาชิกในแต่ละกลุ่มย่อยก็มีลักษณะแบบ hierarchical คือสามารถแบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้อีกสองกลุ่มที่มีลักษณะเป็น hierarchical แบบนี้ไปเรื่อยๆ ในกรณีนี้ การเคลื่อนที่ของดาวฤกษ์จะค่อนข้างคงที่ใกล้เคียงกับ[[กฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์|วงโคจรของเคปเลอร์]]โดยโคจรไปรอบศูนย์กลางมวลของระบบนั้น<ref>[http://www.ctio.noao.edu/~atokovin/papers/dynamics.pdf Dynamics of multiple stars: observations], A. Tokovinin, in "Massive Stars in Interacting Binaries", August 16&ndash;20, 2004, Quebec (ASP Conf. Ser., in print).</ref> แต่จะไม่เหมือนกับลักษณะทางพลศาสตร์ของดาวฤกษ์ที่มีจำนวนมากๆ ใน[[กระจุกดาว]]หรือใน[[ดาราจักร]]
 
 
=== การสังเกตการณ์ ===
19,496

การแก้ไข