ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประตูพระบรมมหาราชวัง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
2T (คุย | ส่วนร่วม)
2T (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 7:
ประตูชั้นนอก อยู่ตามแนวกำแพงพระบรมมหาราชวัง มี ๑๒ ประตูใหญ่ ตั้งชื่อคล้องจองกัน คือ
 
* '''ประตูวิมานเทเวศร์''' <ref>ประตูวิมานเทเวศร์ {{coord|13.7519747522088|100.4906514902214}}</ref> เป็นประตูชั้นนอก[[พระบรมมหาราชวัง]]ด้านทิศเหนือ อยู่ระหว่างประตูสุนทรทิศาและประตูวิเศษไชยศรี ตรงข้ามกับมหาวิทยาลัยศิลปากร สร้างขึ้นในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] เป็นประตูสำคัญในรัชสมัยนั้น เพราะเป็นทางอัญเชิญพระราชสาสน์จากประเทศต่าง ๆ แห่เข้ามาทางประตูวิมานเทเวศร์ ผ่านหน้าศาลาลูกขุน เลี้ยวเข้าประตูพิมานไชยศรี (ประตูโค้ง กั้นระหว่างเขตพระราชฐานชั้นนอกและชั้นกลาง อยู่ระหว่างประตูวิเศษไชยศรีและพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท)ไปยัง[[พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย]] ถัดเข้ามาข้างในเป็น '''ประตูสุวรรณภิบาล'''
 
* '''ประตูวิเศษไชยศรี''' <ref>ประตูวิเศษไชยศรี {{coord|13.7520427522609|100.4915144911816}}</ref> เป็นประตูชั้นนอก[[พระบรมมหาราชวัง]]ด้านทิศเหนือ อยู่ระหว่างประตูวิมานเทเวศร์และป้อมขันธ์เขื่อนเพชร ตรงกับถนนหน้าพระธาตุ สร้างขึ้นในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] เป็นประตูสำคัญเพราะเป็นเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่[[พระมหามณเฑียร]] ปัจจุบันประตูวิเศษไชยศรีเป็นประตูทางเข้าออกพระบรมมหาราชวังที่สำคัญที่สุด ถัดเข้ามาด้านในเป็น '''ประตูพิมานไชยศรี''' และหากมองผ่านประตูนี้เข้าไป จะเห็นพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทในมุมที่สวยงามสง่า
 
* '''ประตูมณีนพรัตน์''' <ref>ประตูมณีนพรัตน์ {{coord|13.7520737522818|100.4929684925817}}</ref> เป็นประตูชั้นนอก[[พระบรมมหาราชวัง]]ด้านทิศเหนือ อยู่ระหว่างป้อมขันธ์เขื่อนเพชรและป้อมเผด็จดัสกร ตรงข้ามกับ[[ท้องสนามหลวง]] สร้างในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] เปิดใช้เมื่อมีการเชิญพระบรมศพออกมาตั้งที่พระเมรุมาศท้องสนามหลวง ใช้เป็นประตูฉนวนให้ฝ่ายในออกไปงานพระเมรุ และรื้อฉนวนออกเมื่อเสร็จงานพร้อมทั้งปิดประตูนี้ด้วย ประตูนี้จึงปิดตลอดเวลา (มีชื่อสามัญว่า ประตูฉนวนวัดพระแก้ว)
[[ภาพ:ประตูสวัสดิโสภา.png|thumb|right|250px|ประตูสวัสดิโสภา]]
* '''ประตูสวัสดิโสภา''' <ref>ประตูสวัสดิโสภา {{coord|13.7515787517138|100.493954934883}}</ref> อยู่ทางด้านทิศตะวันออก อยู่ระหว่างป้อมเผด็จดัสกรและป้อมสัญจรใจวิง ตรงข้ามกับ[[กระทรวงกลาโหม]] (มีชื่อสามัญว่า ประตูทอง เพราะเป็นทางผ่านสำหรับประชาชนที่จะไปปิดทองคำเปลวบูชาพระแก้วมรกต)
 
* '''ประตูเทวาพิทักษ์''' <ref>ประตูเทวาพิทักษ์ {{coord|13.7496197497025|100.4942074937887}}</ref> อยู่ทางด้านทิศตะวันออก ตรงกับถนนสราญรมย์ ถัดจากป้อมสิงขรขันฑ์ เหนือ[[พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท]] ติดกับป้อมขยันยิงยุทธ
 
* '''ประตูศักดิ์ไชยสิทธิ์''' <ref>ประตูศักดิ์ไชยสิทธิ์ {{coord|13.7487547490303|100.494186493896}}</ref> อยู่ทางด้านทิศตะวันออก ตรงข้ามกับวังสราญรมย์ ใต้พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท ติดกับป้อมฤทธิรุดโรมรัน ถัดเข้ามาเป็น '''ประตูราชสำราญ'''
 
* '''ประตูวิจิตรบรรจง''' <ref>ประตูวิจิตรบรรจง {{coord|13.7472957474775|100.4936284932684}}</ref> อยู่ทางด้านทิศใต้ อยู่ระหว่างป้อมมณีปราการและป้อมพิศาลสีมา บริเวณ[[พระตำหนักสวนกุหลาบ]] ตรงข้ามกับ[[วัดพระเชตุพนฯ]] (มีชื่อสามัญว่า ประตูฉนวนชั้นนอกออกไปวัดโพธิ์) ถัดเข้ามาด้านในเป็น '''ประตูพิศาลทักษิณ'''
 
* '''ประตูอนงคารักษ์''' <ref>ประตูอนงคารักษ์ {{coord|13.7471027470033|100.4926094916859}}</ref> อยู่ทางด้านทิศใต้ อยู่ระหว่างป้อมพิศาลสีมาและประตูพิทักษ์บวร ตรงข้ามกับวิหารพระพุทธไสยาสของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ (มีชื่อสามัญว่า ประตูผีชั้นนอก) ถัดเข้ามาด้านในเป็น '''ประตูกัลยาวดี''' (มีชื่อสามัญว่า ประตูผีชั้นใน)
 
* '''ประตูพิทักษ์บวร''' <ref>ประตูพิทักษ์บวร {{coord|13.7467587467845|100.4916114909992}}</ref> อยู่ทางด้านทิศใต้ อยู่ระหว่างประตูอนงคารักษ์และป้อมภูผาสุทัศน์ เป็นประตูด้านสกัดทางใต้ ตรงกับ[[ถนนมหาราช]] ข้างในตรงกับถนนสกัดกำแพง พระบรมมหาราชวัง (มีชื่อสามัญว่า ประตูแดงท้ายสนม เพราะทาสีแดง ตั้งอยู่ริมตลาดชื่อท้ายสนม)
 
* '''ประตูสุนทรทิศา''' <ref>ประตูสุนทรทิศา {{coord|13.7475197521984|100.4906084895562}}</ref> อยู่ทางด้านทิศเหนือ ระหว่างป้อมอินทรรังสรรและประตูวิมานเทเวศร์ ตรงข้ามกับมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นประตูด้านสกัดทางเหนือ
 
* '''ประตูเทวาภิรมย์''' <ref>ประตูเทวาภิรมย์ {{coord|13.7500627503173|100.4897494897118}}</ref> อยู่ทางด้านทิศตะวันตก ระหว่างป้อมมหาสัตตโลหะและป้อมทัศนนิกร ตรงข้ามกับ[[ท่าราชวรดิษ]] (มีชื่อสามัญว่า ประตูท่าขุนนางหน้าโรงทาน) ถัดเข้ามาด้านในเป็น '''ประตูศรีสุนทร'''
 
* '''ประตูอุดมสุดารักษ์''' <ref>ประตูอุดมสุดารักษ์ {{coord|13.7496567497129|100.4898244897815}}</ref> อยู่ทางด้านทิศตะวันตก เป็นประตูฉนวนออกทางตรงพระที่นั่งที่ท่าราชวรดิษ ขนาบด้วยป้อมโสฬสศิลาทางด้านใต้และป้อมมหาสัตตโลหะทางด้านเหนือ
 
และประตูเล็กคือ