ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทำเนียบท่าช้าง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''วังถนนพระอาทิตย์''' ตั้งอยู่บน[[ถนนพระอาทิตย์]] เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เดิมเป็นบ้านของ[[เจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรีย)]] ต้นสกุลคชเสนี เชื้อสาย[[มอญ]] และเป็นปู่ของ[[เจ้าจอมมารดากลิ่น คชเสนี|เจ้าจอมมารดากลิ่น]]ใน[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] และเป็น[[มรดก]]ตกทอดมาถึง [[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์]] (พระองค์เจ้ากฤดาภินิหาร) ต่อมาในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างตำหนัก 2 ชั้น เป็นที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทิธิ์และเจ้าจอมมารดา ต่อมาเรียกอาคารหลักนี้ว่า ตำหนักเดิม
 
[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างตำหนักใหม่ ในปี [[พ.ศ. 2460]] สร้างเป็นอาคารทรง[[ยุโรป]]ก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น เรียกว่า [[วังมะลิวัลย์]] จากนั้น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์ทรงย้ายไปประทับอยู่ ณ วังมะลิวัลย์จนสิ้นพระชนม์ในปี [[พ.ศ. 2468]] ส่วนตำหนักเดิมนั้น สันนิษฐานว่าเป็นที่พำนักของเจ้าจอมมารดากลิ่น หลังจากที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์สิ้นพระชนม์ พระโอรสองค์ใหญ่ซึ่งทรงเป็นผู้จัดการมรดก ได้ทูลเกล้าฯ ถวายขายตำหนักและที่ดินแก่พระคลังข้างที่ใน [[พ.ศ. 2468]] หรือ [[สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์]] ในปัจจุบัน
 
ในรัชสมัยรัชกาลที่ 7 พระองค์ทรงพระราชทานตำหนักเดิม วังถนนพระอาทิตย์ ให้เป็นที่ประทับของ[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์]] ต้น[[ราชสกุล]]สวัสดิวัฒน์ เมื่อพักได้ระยะหนึ่งจนตำหนักใหม่สูง 3 ชั้นสร้างเสร็จ ตำหนักเดิมจึงถูกไม่มีใครอาศัย จนประมาณปี พ.ศ. 2479-2481 [[คุณหญิงลิ้นจี่ สุริยานุวัตร]] เข้ามาพำนักที่ตำหนักเดิม ต่อมา[[รัฐบาล]]ได้จัดให้วังถนนพระอาทิตย์ เป็นที่พักของนาย[[ปรีดี พนมยงค์]] ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในระหว่างปี พ.ศ. 2485-2490 ซึ่งใช้เป็นที่ทำการการผู้สำเร็จราชการ จนเป็นที่รู้จักในชื่อ ทำเนียบท่าช้าง
บรรทัด 10:
 
== สถาปัตยกรรม ==
ตำหนักเดิม เป็นอาคาร 2 ชั้น ก่ออิฐถือปูน [[หลังคา]][[ปั้นหยา]]มุงกระเบื้องว่าว มีจั่วเปิดคู่ด้าน[[แม่น้ำเจ้าพระยา]] และจั่วเปิดหนึ่งจั่วด้านถนนพระอาทิตย์ หน้าจั่วประดับปูนปั้นลายพรรณพฤกษา เชิงชายประดับไม้ฉลุ แต่เดิมหน้าอาคารจะอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ระเบียงมีระเบียงทั้งชั้นบนและชั้นล่าง ตามลักษณะ[[สถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียล]] ราวระเบียงชั้นล่างเป็นลูกกรงปูนปั้น ส่วน

ลูกกรงชั้นบนเป็นลูกกรงเหล็กหล่อทำให้ดูโปร่งเบา หน้าจั่วด้านถนนพระอาทิตย์มีเสาสูงรับหนาจั่ว กลางมีลักษณะได้รับอาคารอิทธิพล[[คลาสิครีไววัล]] ด้านทิศเหนือมีมุขครึ่งแปดเหลี่ยม ผนังอาคารตกแต่งด้วยลวดบัวปูนปั้น และเซาะร่องตามแนวนอน หน้าต่างโค้ง ช่วงบนเป็นช่องระบายอากาศมีการใช้ไม้ฉลุลายโปร่งแบบเรือน[[ขนมปังขิง]] ซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ 5 บริเวณช่องระบายอากาศ
 
== อ้างอิง ==